svasdssvasds

ขยับรับภัยโลกร้อน MRC ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูมิอากาศลุ่มน้ำโขง

ขยับรับภัยโลกร้อน MRC ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูมิอากาศลุ่มน้ำโขง

เมื่อภัยโลกร้อนกำลังคุกคามชีวิตผู้คน ธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มแม่น้ำโขง คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เตรียมจัดตั้ง กองทุนแม่น้ำโขง ภายใน 2 ปีข้างหน้า เพื่อให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนชุมชนต่อสู้กับภัยโลกร้อน

ประเทศในแถบลุ่มน้ำโขงได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และจีน ถือเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่เสี่ยงต่อภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหนักที่สุดของโลก ดังนั้นเพื่อเตรียมการรับมือผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่จะยิ่งรุนแรงขึ้นในภูมิภาค MRC จึงได้เตรียมการจัดตั้ง กองทุนแม่น้ำโขง หรือ Mekong Fund ที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ผลกระทบของภัยแล้งและน้ำท่วมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำในแถบลุ่มแม่น้ำโขง

ในการประชุมครั้งที่ 56 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน คณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (JC) ได้อนุมัติในหลักการเกี่ยวกับรูปแบบการระดมทุนและดำเนินการทดลองสำหรับกองทุนแม่น้ำโขง ซึ่งจะเปิดตัวในปี พ.ศ. 2568 โดยให้ความเห็นชอบการออกแบบหลักกลไกการระดมทุน โครงสร้างการกำกับดูแลและผู้ได้รับประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น

ขยับรับภัยโลกร้อน MRC ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูมิอากาศลุ่มน้ำโขง

โดยกองทุนนี้จะมุ่งเน้นให้ทุนสนับสนุนไปที่สิ่งที่เรียกว่าหน้าต่างระบบนิเวศของกองทุนแม่โขง ซึ่งสร้างโอกาสในการให้เงินทุนสนับสนุนสำหรับโครงการที่มุ่งช่วยเหลือและเสริมสร้างความเป็นอยู่และปกป้องสิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น

“เราไม่เพียงต้องบรรเทาผลกระทบของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังต้องสนับสนุนชุมชนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงระบบการไหลของแม่น้ำทั่วลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง” นางเหงียน ถิ ทู ประธานคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กล่าว

ขยับรับภัยโลกร้อน MRC ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูมิอากาศลุ่มน้ำโขง

นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 56 ยังมีการรับฟังรายงานความคืบหน้าในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ กระบวนการปรึกษาหารือเกี่ยวกับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนสานะคาม และ เขื่อนภูงอย ซึ่งจะสร้างบนแม่น้ำโขงสายประธานบริเวณพรมแดนประเทศไทยและลาว รวมถึงมีการสรุปกลไกความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลการดำเนินงานของเขื่อนที่มีอยู่ กลไกการสื่อสารสำหรับเหตุฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และการสรุปโปรโตคอลการตรวจสอบพลาสติกในแม่น้ำ (RPM)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related