Great Barrier Reef แนวปะการังมรดกโลกของออสเตรเลียที่คาดว่าจะถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย ตอนนี้ยูเนสโกยังไม่พิจารณาการขึ้นทะเบียนเป็น World Heritage in Danger ขณะที่เอลนีโญกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า อาจทำให้แนวปะการังเสี่ยงในการฟอกขาวครั้งใหญ่
เร็วๆ นี้เวนิส (Venice) กำลังจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย ถูกคุกคามจาก Climate Change แต่ “เกรตแบร์ริเออร์รีฟ” Great Barrier Reef มรดกโลกของออสเตรเลีย ยังไม่ถูกพิจารณาจากยูเนสโกให้อยู่ในลิสต์ World Heritage in Danger หรือมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตรายจากภาวะโลกร้อน
ในการประชุมที่กรุงปารีสเมื่อที่ผ่านมาคณะกรรมการกล่าวว่ารัฐบาลออสเตรเลียรายงานความคืบหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับแนวปะการังซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลก เป็นหนึ่งในสถานที่ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมากที่สุดของออสเตรเลีย แต่ยังคงอยู่ภายใต้ “ภัยคุกคามร้ายแรง” จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลพิษ
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
IUCN เผยสภาวะโลกรวนอาจทำป่ามรดกโลกเสื่อมลง ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ อยู่ในลิสต์
"ยุคที่โลกเดือด" คลื่นความร้อนปกคลุมระอุทั่วโลก อุณหภูมิสูงทำผลกระทบหนัก
เปิดข้อดีของ “พลังงานความร้อนใต้พิภพ” ปล่อยมลพิษต่ำ มีความเสถียรมาก
เทอร์รี่ ฮิวจ์ส ผู้อำนวยการ ARC Center of Excellence for Coral Reef Studies กล่าวว่า แนวปะการัง Great Barrier Reef ยุติลง และการประเมินครั้งต่อไปเกี่ยวกับการระบุว่าแนวปะการังตกอยู่ในภาวะอันตราย ล่าช้าออกไปอีกปีหนึ่ง อย่างไรก็ตามคณะกรรมการมรดกโลกเคยหยิบยกความเป็นไปได้ของการจัดอันดับ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) อยู่ในภาวะอันตรายครั้งแรกในปี 2564 รัฐบาลออสเตรเลียชุดต่อๆ มาก็ทำงานอย่างหนักเพื่อให้คณะกรรมการเชื่อว่ารัฐบาลดูแลอย่างดี
สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียกล่าวว่า เอลนีโญน่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เมื่อสภาวะเอลนีโญรุนแรงขึ้น เป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์การฟอกขาวครั้งใหญ่อีกครั้งในฤดูร้อนหน้า
ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว เป็นปรากฏการณ์ที่เนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดจางลงจากการสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) เกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป มีน้ำจืดไหลลงมาทำให้ความเค็มลดลง ตะกอนที่ถูกน้ำจืดไหลพัดพามาจากชายฝั่ง หรือแม้แต่มลพิษที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทางทะเลของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยน้ำเสีย การใช้ครีมกันแดด การทิ้งขยะตามแนวชายหาดก็ล้วนมีผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลีออกมาจากเนื้อเยื่อของปะการังเพื่อความอยู่รอด
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ