ผู้อำนวยการ GCNT จาก UN เผย ไทยจะสร้างความยั่งยืนได้ ต้องเริ่มที่ความเข้าใจที่แท้จริง เช่น การรีไซเคิลไม่ใช่แนวทางของความยั่งยืน เพราะจะทำให้เกิดการผลิตเพิ่มมากขึ้น
มีไม่กี่คนเท่านั้นที่จะเข้าใจว่า การรักษ์โลกที่แท้จริง ไม่ใช่การที่เราขับรถยนต์ไฟฟ้า หรือการมีกระบวนการรีไซเคิล การทำให้ประเทศหรือโลกเรายั่งยืนได้อย่างแท้จริงคือ การที่เราจะต้องลดการใช้งาน ใช้ซ้ำและไม่ใช้เลยต่างหากคือความยั่งยืนที่แท้จริง
วันนี้ 30 มีนาคม 2566 กรุงเทพธุรกิจ ได้เปิดเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era ณ ห้องรอยัลมณียา บอลรูม ชั้น M โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์
ในช่วงของการพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นในหัวข้อ Go Green : Global Overview, Go Green : นโยบายรัฐ, Carbon Market : New Economy และ Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว โดยวิทยากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายระดับโลก
สำหรับช่วงของคุณธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ UN Global Compact Network Thailand ผู้มองเห็นและอยู่กับภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คุณธัยพรได้กล่าวว่า ความยั่งยืนที่เราเป็นอย่างตอนนี้ที่มันยังไม่สามารถประสบความสำเร็จหรือเป็นไปได้ยาก มันเป็นเพราะเราขาดความเห็นชอบหรือความเห็นร่วม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ร้อนนี้พะเยาเจอทั้งไฟป่าและแล้งเร็ว ระดับน้ำแห้งขอดจนน่าตกใจ
4 แนวทางลดคาร์บอนธุรกิจสายการบิน เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
วิกฤตหอยแมลงภู่! วิจัยพบ หอยแมลงภู่เริ่มมีขนาดเล็กลง เพราะมลพิษในท้องทะเล
เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนที่วางเอาไว้ของเราจะเป็นไปไม่ได้หากขาดความเข้าใจที่แท้จริง เช่น พนักงานไม่เชื่อไม่เข้าใจว่าทำไมบริษัทจะต้องเปลี่ยนนู่นนี่ให้มันมีต้นทุนเพิ่ม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ความจริงใจจึงเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น เราต้องเร่งแก้ไขด้านการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่ทำ Recycle แต่ต้องเริ่มจาก Reduce หรือการลด
ผู้บริโภคและผู้ผลิตต้องเข้าใจและตัดสินใจไปในทิศทางเดียวกัน สื่อเองก็จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นและชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น Zero Waste Mindset คือสิ่งสำคัญ การรีไซเคิลไม่ใช่แนวทางของความยั่งยืน เพราะมันจะก่อให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะเราคิดว่าเรากำจัดมันได้
ซีอีโอในฐานะผู้นำ จะต้องนำพาธุรกิจของท่านไปสู่ความยั่งยืน 93% ของซีอีโอทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายระดับโลก รู้หรือไม่ว่าทะเลทั่วโลกกำลังเป็นกรดมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการคาดการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม เรารู้แค่ว่าหายนะกำลังจะเกิดแต่จะพลิกแพลงยังไงเราไม่รู้ สิ่งสำคัญของเรื่องนี้ คือ การปรับตัว Adaptation เช่น พันธุ์ของพืชผักผลไม้จะอยู่รอดได้อย่างไรหากวิกฤตเหล่านี้มันเกิดขึ้น เราจะปรับเปลี่ยนพันธุ์ของมันหรือไม่ นี่คือสิ่งที่เราควรคิด
โลกจะเผชิญคลื่นความร้อนและภัยแล้ง จากผลพวงเอลนีโญ ที่รุนแรง-ยาวนานขึ้น
ระเบิดเวลา UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนเดินหน้าสู่หายนะสภาพอากาศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) เป็นสิ่งที่ประเทศไทยของเราได้เปรียบ ต่างประเทศเดินทางมาไทยเพราะมีความหลากหลาย ทั้งธรรมชาติที่สวยงามสมบูรณ์ เรามีอาหารที่อร่อยและหลากหลาย นี่คือสิ่งที่ประเทศของเขาไม่มีและเขาอยากเข้ามาลอง เราก็ควรสร้างความยั่งยืนในด้านนี้ด้วย
ขยะที่เอามาเผาเป็นพลังงาน ไม่ใช่แนวทางที่เขียวจริง ธนาคารก็ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ก่อนจะอนุมัติด้วย ไทยเราเคยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากไต้หวัน แต่ปัจจุบัน บริษัทใหญ่หลายแห่งเริ่มมองหาฐานการผลิตใหม่ ๆ ที่มีต้นทางของวัตถุดิบการผลิตรวมถึงการขนส่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด ดังนั้น Supply Chain เราจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่งั้นไม่สามารถแข่งขันได้
Green Job ก็กำลังมาแต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเราขาดนักวิเคราะห์ในสายอาชีพนี้ เช่น การทำความเข้าใจจริง ๆ ว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เราจะไม่สามารถเป็น Carbon Neutrality ได้เลย ถ้าทุกวันนี้เรายังเสียบปลั๊กจากเต้าเสียบของการไฟฟ้า เรามี Loss และ Cost ที่สูงมาก
สิ่งที่นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการสามารถทำได้เลยตอนนี้ง่าย ๆ คือ การขายที่ไม่เน้นปริมาณ แต่เน้นที่การเพิ่มมูลค่าของสินค้า ด้วยการสร้างเรื่องราว และต้องทำการตลาดในเรื่องของ Carbon Footprint
ท้ายที่สุดนี้ อุปสรรคสำคัญคือความเข้าใจอย่างแท้จริง ไฟฟ้าที่เราใช้ไม่ได้เป็น Carbon Neutral ไทยได้เปรียบเรื่องพลังงานธรรมชาติ เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เราต้องคอยเช็กต้นทางด้วยว่าต้นทางของพลังงานหรือของที่เราซื้อลดคาร์บอนได้จริง ๆ ไหม การใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็ไม่ได้ทำให้เราดูเท่ ดูเป็นคนรักษ์โลก หากเรายังกลับไปบ้านและเสียบไฟฟ้าที่มาจากพลังงานถ่านหินอยู่