ธนาคารโลกวิเคราะห์ความเป็นไปได้การขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวในไทย พร้อมเผยว่า ไทยจะสามารถยั่งยืนได้ ต้องเริ่มที่ตนเอง เปลี่ยนโครงสร้างการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หากถามว่าประเทศเราจะเดินหน้าสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร ก็ต้องตอบว่าเงินคือส่วนสำคัญที่ทำให้ทุกคนสามารก้าวข้ามผ่านได้และต้องกล้าตัดสินใจได้
วันนี้ 30 มีนาคม 2566 กรุงเทพธุรกิจ ได้เปิดเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era ณ ห้องรอยัลมณียา บอลรูม ชั้น M โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์
ในช่วงของการพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นในหัวข้อ Go Green : Global Overview, Go Green : นโยบายรัฐ, Carbon Market : New Economy และ Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว โดยวิทยากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายระดับโลก
สำหรับคุณรัชฎา อนันตวราศิลป์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาวุโสภาคสถาบันการเงิน ธนาคารโลก ได้วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ว่า ภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย เห็นได้จากวิกฤตฝุ่น PM2.5 วิกฤตน้ำท่วมทำให้เศรษฐกิจเสียหาย 1.44 ล้านล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่องมาตรการต่างประเทศ สู้วิกฤตฝุ่น PM2.5 อย่างไรกันบ้างถ้าเทียบกับไทย
ร้อนนี้พะเยาเจอทั้งไฟป่าและแล้งเร็ว ระดับน้ำแห้งขอดจนน่าตกใจ
The Mall ชวนผู้บริโภครักษ์โลก ด้วยการเลือกซื้อสินค้าที่มีฉลากคาร์บอน
ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ได้เข้าร่วม ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นหนึ่งใน 197 ประเทศ ในการควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงมากกว่า 1.2 องศาเซลเซียส ดังนั้น เรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราทุกคนได้รับผลกระทบกันหมด ซึ่งไทยเราเองมีการวางแผนและแนวทางไว้แล้ว เช่น BCG (Bio-Circular-Green Economic Model)
และมี SDG ที่ตอนนี้เราสามารถบรรลุได้หัวข้อเดียวคือ No Poverty ซึ่งยังมีอีกหลายหัวข้อที่เรายังทำไม่สำเร็จและมันค้องสำเร็จให้ได้ รัฐบาลแลธนาคารก็กำลังให้ความสำคัญกับ ESG ซึ่งมันกำลังเป็นเทรนด์โลกและเป็นเทรนด์ที่ภาคการเงินควรให้การสนับสนุนมากที่สุด
รวมไปถึงการส่งสินค้าทางการเกษตรและอาหารไปยังต่างประเทศเดี๋ยวนี้ เราก็ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเสมอ ซึ่งตอนนี้มันกลายเป็นเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของเศรษฐกิจและการส่งออกระหว่างประเทศกันไปเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เราต้องมีคือ ความรู้ด้านเทคนิค โครงสร้างการผลิตของเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน
เยอรมนีลงนามข้อตกลง ปี 2035 จะต้องไม่มีรถยนต์ใช้น้ำมันวิ่งบนท้องถนน
อังกฤษเสนอ วีซ่าสำหรับผู้ลี้ภัยหนีภัยธรรมชาติ เป็นแรงงานชั่วคราวในอังกฤษ
เราต้องมีจุดเชื่อม จุดเชื่อมคือส่วนสำคัญ เพราะมันคือเกรฑ์มาตรฐาน ระหว่างวิทยาศาสตร์กับการเงินต้องเห็นตรงกัน ธนาคารต้องคำนึงการให้สินเชื่อภาคธุรกิจไปดำเนินธุรกิจต่อ ซึ่งก็คือ หากภาคธุรกิจไหนมีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพียงพอตามเกณฑืมาตรฐาน ธนาคารก็สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้ เป็นการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่ธุรกิจนั้น ๆ
และอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เรื่องของภาษี ต่างประเทศเขาก็มีภาษีในอุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น EU Taxonomy ที่ครอลคลุมอุตสาหกรรมการผลิตทุกภาคส่วนว่าจะต้องจ่ายหากคุณสร้างมลพิษให้แก่โลก และที่สำคัญประเทศไทยเราก็มีแล้ว Thailand Taxonomy แต่จะยังเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนเยอะที่สุด คือ ภาคการขนส่งและภาคพลังงาน
ช่วงสุดท้าย หากถามว่า เทคโนโลยีที่นำพาไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับประเทศไทยจะเป็นไปได้ไหม ก็ต้องบอกว่า เทคโนโลยีและดิจิทัล เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จะเข้ามาหาเราแน่ ๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากวิเคราะห์ตามเศรษฐศาสตร์ ยิ่งคนใช้มากขึ้น ราคาจะยิ่งลดลง ต้นทุนก็จะลดลงใช่ไหม แต่ปัจจุบันมันไม่เป็นแบบนั้น ยิ่งเทคโนโลยีถูกพัฒนามากขึ้น แม้ต้นทุนและราคาจะถูกลง แต่ก็จะเกิดการผลิตใหม่อยู่ดี เราต้องแก้ที่ตรงนี้ก่อน ให้การผลิตและการพัฒนามันมีน้ำหันกเท่ากัน ความยั่งยืน จะต้องเกิดจากการร่วมมือกัน ถึงจะเป็นไปได้