เดอะมอลล์ กรุ๊ป เดินหน้าเป็นรีเทลแห่งแรกในไทยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง วัดปริมาณคาร์บอน และจัดจำหน่ายสินค้าที่มีฉลากคาร์บอน เป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคอยากมีส่วนในการรักษ์โลก
ในวันที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับภัยพิบัติธรรมชาติรุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน จึงทำให้หลายฝ่ายมองหาความรับผิดชอบ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ว่าทำอย่างไรเราถึงจะสามารถช่วยกันลดความรุนแรงของหายนะสภาพภูมิอากาศเหล่านี้ลงได้
นี่จึงเป็นเหตุผลที่เดอะมอลล์ กรุ๊ป หนึ่งในภาคเอกชนและเจ้าของห้างสรรพสินค้ารีเทลชั้นนำของไทยที่ครองใจคนไทยมานานหลายปี จึงอยากมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและโลก และไม่เพียงแค่ห้างเท่านั้นที่จะรับผิดชอบ เดอะมอลล์ ยังอยากชวนผู้บริโภคหรือลูกค้าทุกท่านมามีส่วนรับผิดชอบไปด้วยกันได้อย่างง่าย ๆ ไม่อึดอัดใจ เพียงแค่ช็อปปิง
วันที่ 27 มีนาคม 2566 - กรุงเทพฯ The Mall เดินหน้าประกาศเป็นรีเทลแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้ Deep Technology หรือเทคโนโลยีขั้นสูง วัดผลปริมาณการลดคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ภายใต้การจัดจำหน่าย ผ่านโครงการรณรงค์ฉลากคาร์บอน โดยได้ร่วมมือกับหลายองค์กร อาทิ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO), บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของ PLATFORM CERO CARBON WALLET APPLICATION, บริษัท คลาวด์เซค เอเซีย จำกัด ตลอดจนซัพพลายเออร์ และเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN)
หากอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ห้างเดอะมอลล์ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกขายสินค้าที่มีฉลากคาร์บอน เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภคที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลก ซึ่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนได้นั้น จะเป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบและคำนวนปริมาณการปล่อยคาร์บอนมาแล้วจากองค์กรผู้ตรวจสอบ ว่ากระบวนการผลิตของสินค้านี้ปล่อยคาร์บอนออกมาเท่าไหร่และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมาตรฐานหรือไม่ และมีส่วนทำโลกร้อนหรือเปล่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สตาร์ทอัปสุดเจ๋ง! "เปลี่ยนถุงขยะพลาสติก เป็นอิฐ" แถมแข็งกว่าซีเมนต์ 2 เท่า
นักวิทย์คิดค้น "แบตเตอรี่ธรรมชาติ" เปลี่ยนอากาศให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
โรงเบียร์ยุโรป ผลิตเบียร์ผงที่แรกของโลก ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
ลูกค้าได้อะไรนอกจากสินค้าที่มีฉลากรักษ์โลก?
นอกจากลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลกแล้ว ในทุก ๆ ใบเสร็จที่มีสินค้าฉลากคาร์บอน ลูกค้าสามารถดาวโหลดแอปพลิเคชัน CERO CARBON WALLET เพื่อแสกนออกมาว่าการช็อปปิงของเราในครั้งนี้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไปได้เท่าไหร่ และสามารถสะสมแต้ม CERO POINT ลุ้นรับของรางวัลมากมายเลย
วิธีการนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตรายอื่น ๆ ให้ความสนใจในการร่วมมือกันเป็นเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือการซื้อสินค้าของประชาชนจะเป็นส่วนหนึ่งในการกดดันให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาให้ความสนใจและใส่ใจต่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่อยู่ภายในแอปพลิเคชันจะได้รับการปกป้องข้อมูลไว้อย่างดีด้วยบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ
การแสดงความคิดเห็นขององค์กรภาครัฐและเอกชนต่อโครงการ
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินหน้าขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาก๊าซเรือนกระจก
เพื่อบรรลุสู่เป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน (CARBON NEUTRALITY) ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ.2593) และเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NET-ZERO GHG EMISSION) ในปี ค.ศ.2065 (พ.ศ.2608) โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงปัญหาก๊าซคาร์บอนมาโดยตลอด พร้อมรณรงค์ให้ทุกภาคส่วน
ระเบิดเวลา UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนเดินหน้าสู่หายนะสภาพอากาศ
TGO เผยสถานการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิต โครงการพัฒนาพลังงานทดแทนมาแรง
ทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ ควบคู่กับการพัฒนากลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตในประเทศให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ สำหรับโครงการรณรงค์ฉลากคาร์บอน ถือเป็นการแสดงเจตจำนงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการเลือกซื้อสินค้าฉลากคาร์บอน
ซึ่งถือเป็นการผลักดันการบริโภคสินค้าและใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดก๊าซคาร์บอน รวมไปถึงผลักดันภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้ความสนใจในทุกการกระบวนการการผลิต ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกใช้วัสดุตลอดจนถึงการกำจัด
มุ่งเน้นกับการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เตรียมพร้อมไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ นำมาซึ่งการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน
วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด
กล่าวว่า “เดอะมอลล์ กรุ๊ป ในฐานะองค์กรแห่งความยั่งยืน ภายใต้แนวทาง ESG และเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ที่มีเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจภาคอุตสาหกรรม เดินหน้าประกาศเจตนารมณ์
ในการสนับสนุนแนวยุทธศาสตร์ระยะยาวของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการยกระดับการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CARBON NEUTRALITY) ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ.2593) และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO GHG EMISSIONS) ภายในปี ค.ศ.2065 (พ.ศ.2608) โดย เดอะมอลล์ กรุ๊ป ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการลดการเกิดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
สินค้าของเครือใดบ้างมีฉลากคาร์บอน
สำหรับกิจกรรมโครงการรณรงค์ ฉลากคาร์บอน ในครั้งนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้รวบรวมสินค้าฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งสิ้นกว่า 20 แบรนด์ ได้แก่ CP, S&P, CPF, ไลปอน เอฟ, M Wrap, Comfort, Chang, โออิชิ, คริสตัล, Est, จับใจ, หยก, โอลีน, มาม่า, ไวไว, เกสร, เด็กสมบูรณ์, องุ่น, ตราฉัตรไลท์, ชาวเกาะ, กู๊ดไรฟ์, วี-ฟิท, คิงไอแลนด์, TCB, มิตรผล และGOOD EATS
เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทเดียวกัน และถือเป็นครั้งแรกของการเปิดตัว CERO APPLICATION แอพพลิเคชันที่สามารถชี้วัดปริมาณการลดคาร์บอนจากการซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอนได้อย่างเป็นรูปธรรม เพียงสแกนบาร์โค้ดท้ายใบเสร็จผ่าน CERO APPLICATION หรือ M CARD APPLICATION ระบบสามารถแสดงผลปริมาณการลดคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งคำนวณค่า CERO เพื่อสะสม CERO POINT แลกรับรางวัลมากมาย
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่