svasdssvasds

อังกฤษเสนอ วีซ่าสำหรับผู้ลี้ภัยหนีภัยธรรมชาติ เป็นแรงงานชั่วคราวในอังกฤษ

อังกฤษเสนอ วีซ่าสำหรับผู้ลี้ภัยหนีภัยธรรมชาติ เป็นแรงงานชั่วคราวในอังกฤษ

วีซ่าสำหรับผู้ลี้ภัยหนีภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นไอเดียของประเทศอังกฤษ ในภารกิจให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศยากจนที่ไปสัญญาไว้บนเวทีโลก

จากข้อตกลงและข้อเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศยากจนหรือประเทศเปราะบาง อังกฤษจึงได้เสนอไอเดียใหม่ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศยากจน โดยอังกฤษเสนอว่าจะจัดทำวีซ่าสภาพภูมิอากาศแบบใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากภัยพิบัติทางธรรมชาติสามารถลี้ภัยมายังสหราชอาณาจักรได้ชั่วคราว ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย

โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่ก่อนหน้านี้อังกฤษก็ได้ยอมรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนและชาวฮ่องกงผ่านวีซ่าที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เฉกเช่นเดียวกับวีซ่าสภาพอากาศนี้ ที่จะถูกเพิ่มขึ้นมาเป็นหนึ่งในนั้นด้วย Will Tanner รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของ Rishi Sunak ก็ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเตรียมพร้อมสำหรับการอพยพย้ายถิ่นทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลมาจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ผู้คนในประเทศยากจนและเปราะบางสามารถย้ายไปอังกฤษได้อย่างถูกกฎหมาย Cr. Pixarbay การอพยพย้ายถิ่นครั้งใหญ่ของมนุษย์เริ่มต้นขึ้นแล้ว สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) รายงานว่า ในแต่ละปีมีผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นเฉลี่ย 21.5 ล้านคน จากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันระหว่างปี 2551-2559 การอพยพมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกปีไม่มีทีท่าลดน้อยลง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำถามคือ สหราชอาณาจักรมีพื้นที่เพียงพอที่จะรับผู้อพยพเหล่านี้ใช่ไหม และหากรับเข้ามาเป้าหมายของการบรรลุการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของอังกฤษจะยังดำเนินไปได้หรือเปล่า?

ทางการบอกว่าการรับผู้ลี้ภัยเข้าประเทศในแต่ละครั้งจะยังมีจำนวนจำกัดและต้องดูขีดความสามารถของประเทศด้วย ไม่ใช่รับมาสุ่มสี่สุ่มห้า แต่ต้องสอดคล้องกับแนวทางของรับบาลว่ารับไหวหรือไม่ และผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาจได้รับอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักรชั่วคราวเพื่อหารายได้เพื่อสร้างชีวิตใหม่ หรืออาจอยู่อย่างถาวรก็ได้ เพราะรายงานยังไม่ได้กำหนดอายุของวีซ่า

 

 

และเพื่อให้สหราชอาณาจักรยังสามารถดำเนินโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมต่อไปได้ แม้จะมีประชากรเพิ่มขึ้น ผู้ลี้ภัยจะต้องเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ โดยสหราชอาณาจักรจะช่วยสนับสนุนในการฝึกอบรมทักษะต่าง ๆ รวมถึง พลังงานสะอาด การก่อสร้าง และการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติให้แก่ผู้ลี้ภัยได้รับรู้ และสามารถกลับไปพัฒนาหรือต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ บ้านเกิดของตนเองได้

ต้องช่วยกัน Cr. Pixarbay แต่อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ยังมีผู้คนไม่เห็นด้วย จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชน พบว่า ประชาชน 29% เห็นว่าสหราชอาณาจักรมีพันธะที่ศีลธรรมในการให้ที่พักพิงแก่ผู้คนที่ต้องพลัดถิ่นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เทียบกับ 41% ที่ไม่เห็นด้วย และในความเป็นจริงมีผู้สนับสนุนเพียง 21% และมีผู้คัดค้าน 55%

อเล็กซ์ แชปแมน นักวิจัยอาวุโสของ New Economics Foundation (Nef) เห็นพ้องกันว่าสหราชอาณาจักรมี “ความรับผิดชอบทางศีลธรรมอย่างลึกซึ้ง” ในการสนับสนุนผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ แต่เขากล่าวว่าการนำแรงงานจากประเทศกำลังพัฒนาเข้ามาไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องในการอุดช่องว่างทักษะสีเขียว

การนำเข้าประชากรผู้ลี้ภัยอาจจะเป็นเรื่องดีในการเกื้อกูนซึ่งกันและกันของมนุษย์ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เราไม่อาจรู้ได้ว่าการให้อิสระแก่ผู้คนต่างถิ่นจะสามารถจัดการให้ไม่เกิดอันตรายต่อประชากรเดิมได้หรือไม่ หรือมีการเบียดเบียนทรัพยากรเกิดขึ้นหรือเปล่า คุณล่ะคิดเห็นอย่างไร?

ที่มาข้อมูล

The Gaurdian

related