svasdssvasds

เครื่องบิน NASA ร่วมศึกษาคุณภาพอากาศในไทย ประเมินการปล่อยแก๊สแหล่งต่างๆ

เครื่องบิน NASA ร่วมศึกษาคุณภาพอากาศในไทย ประเมินการปล่อยแก๊สแหล่งต่างๆ

NASA จับมือ อว. โดย GISTDA ศึกษาคุณภาพอากาศในไทยร่วมกัน “ศุภมาส” ชี้เป็นการนำเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาประเทศ โดยเฉพาะการจัดการและลดมลพิษทางอากาศ

SHORT CUT

  • NASA ร่วมมือกับ GISTDA ส่งเครื่องบิน บินศึกษาคุณภาพอากาศในไทย ติดตามสถานการณ์การปล่อยแก๊สจากแหล่งต่างๆของไทย
  • NASA ยังอบรมเชิงปฏิบัติด้านอวกาศและดาวเทียมให้กับนิสิตนักศึกษา พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานจากนักบินและนักวิทยาศาสตร์

NASA จับมือ อว. โดย GISTDA ศึกษาคุณภาพอากาศในไทยร่วมกัน “ศุภมาส” ชี้เป็นการนำเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาประเทศ โดยเฉพาะการจัดการและลดมลพิษทางอากาศ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมลงนามความร่วมมือกับ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ NASA ภายใต้โครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality (ASIA-AQ) เพื่อร่วมกันศึกษาคุณภาพอากาศในประเทศไทย โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ ณ โรงแรมเรเนซองส์ พัทยา รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดชลบุรี

เครื่องบิน NASA ร่วมศึกษาคุณภาพอากาศในไทย ประเมินการปล่อยแก๊สแหล่งต่างๆ

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง NASA และ GISTDA เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทางของกระทรวง อว.ที่ต้องการผลักดันนโยบายให้สามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างแท้จริง นับเป็นความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศที่สะท้อนถึงความสำเร็จ จากความทุ่มเทที่ต้องการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาตร์ในการแก้ไขปัญหาในระดับประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งทุกวันนี้มลพิษทางอากาศนับว่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ภายใต้ความร่วมมือนี้จะมีการใช้ประโยชน์ที่ได้จากการสำรวจทางอากาศ การสำรวจด้วยดาวเทียม รวมถึงภาคพื้นดินเพื่อนำมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหา การจัดการและลดมลพิษทางอากาศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยต่อไปตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวง อว.ที่ได้วางไว้

เครื่องบิน NASA ร่วมศึกษาคุณภาพอากาศในไทย ประเมินการปล่อยแก๊สแหล่งต่างๆ

 

ด้าน ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า โครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย NASA เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศในเอเซีย โดย NASA จะทำงานร่วมกับหน่วยงานในภูมิภาคเพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการศึกษาด้านอากาศโดยใช้เครื่องบิน สถานีภาคพื้นดิน และดาวเทียมสำรวจ ซึ่งโครงการนี้ NASA มีความร่วมมือกับ พันธมิตรในเอเชีย 5 ราย ได้แก่

  • สาธารณรัฐ
  • เกาหลี
  • ไต้หวัน
  • ฟิลิปปินส์
  • มาเลเซีย
  • ประเทศไทย

โดยมี GISTDA ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งทีมร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ไทยเพื่อทำงานร่วมกับ NASA โดยทีมวิชาการประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และในการบินเพื่อเก็บข้อมูลอากาศในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินการจากกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานทางทหารที่เกี่ยวข้อง (กองทัพอากาศ กองทัพเรือ กรมแผนที่ทหาร), บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัดและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)

เครื่องบิน NASA ร่วมศึกษาคุณภาพอากาศในไทย ประเมินการปล่อยแก๊สแหล่งต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ NASA ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ GISTDA จัดขึ้นภายใต้โครงการนี้ เช่น

  • การอบรมเชิงปฏิบัติด้านอวกาศและดาวเทียมให้กับนิสิตนักศึกษาภายใต้โครงการ GLOBE ณ Space Inspirium อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  • กิจกรรมการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานจากนักบินและนักวิทยาศาสตร์ NASA กับนักวิทยาศาสตร์ไทย

รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีอวกาศในการศึกษาและสำรวจมลพิษทางอากาศ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจคุณภาพอากาศในประเทศไทย ช่วยให้เข้าใจและเข้าถึงปัจจัยที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพอากาศในพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการติดตามสถานการณ์การประเมินการปล่อยแก๊สจากแหล่งต่างๆ ปรากฏการณ์ทางเคมี รวมถึงผลกระทบจากด้านการขนส่งประเภทต่างๆ โดยผ่านการสร้างแบบจำลองที่หลากหลายเพื่อใช้สำหรับการออกแบบนโยบาย ในการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียต่อไป ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าว 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related