แม้ว่าก่อนหน้านี้ จะมีการพูดถึงว่าการทำธุรกิจต้อง “Sustainability” แต่...จากนี้ไปจะไม่ใช่เทรนด์อีกต่อไป เพราะมันคือก้าวใหม่ที่ธุรกิจไม่อาจมองข้าม โดยเฉพาะแบรนด์ขนาดใหญ่ที่ดึงสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่นสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้เข้าชุมชน
กระแสทำธุรกิจแบบ “Sustainability” ยังร้อนแรงต่อเนื่อง เพราะหลายแบรนด์มองว่า Sustainability” จะไม่ใช่เทรนด์อีกต่อไป แต่..ก้าวใหม่ที่ธุรกิจไม่อาจมองข้าม อย่างเช่น “อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์”ชูคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นนำเสน่ห์งานคราฟท์ “ผ้ามัดย้อม” ธรรมชาติ จากชุมชนบ้านคีรีวง จ.นครศรีฯ ร่วมดีไซน์เฟอร์นิเจอร์เชื่อมโยงอัตลักษณ์วิถีชุมชน
เชื่อหรือไม่ว่า? ต่อจากนี้ “Sustainability” จะไม่ใช่แค่เทรนด์อีกต่อไป แต่เป็นก้าวใหม่ครั้งสำคัญที่ทุกคนไม่อาจมองข้าม โดยมีพันธกิจเดียวกันคือ การสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ธุรกิจต้องนำแนวคิดความยั่งยืนมาพัฒนาให้แบรนด์นั้นเติบโตอย่างยั่งยืนหรือก็คือการไปสู่ Sustainable Brand โดย Sustainable Brand จะเป็นเรื่องของการลดปริมาณคาร์บอน (Zero Carbon) ในกระบวนการผลิต ลดการใช้กระดาษในองค์กร สร้างอาคารหรือออฟฟิศที่ประหยัดพลังงาน พร้อมนำเอาของเสียจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ หรือแม้กระทั่งการนำเอาขยะมาผ่านกระบวนการผลิตเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกการผลิตสินค้าที่ย่อยสลายได้เร็ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้การทำ CSR เพื่อชุมชนเป็นอีกหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม และเกิดการสร้างงานให้ชุมชนจำนวนมาก หนึ่งในแบรนด์ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ"Index Living Mall" ผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ และของตกแต่งบ้าน ที่ยังแน่วแน่ในการพัฒนาธุรกิจสู่เป้าหมายการใช้ชีวิตแห่งอนาคตที่ยั่งยืน” ( Sustainable Living for Future Lifestyle) พร้อมส่งต่อผลิตภัณฑ์&บริการที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน (ESG : Environment, Social, Governance)
โดยในปี 2023 “อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์” สานพันธกิจสู่มิติทางสังคม (Social) โดยสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่การสร้างคุณค่าและรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น โดยต่อยอดองค์ความรู้งานคราฟท์ผ้ามัดย้อมออร์แกนิกจาก “กลุ่มใบไม้” ชุมชนบ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เฟอร์นิเจอร์ New คอลเล็คชั่น ‘HAPPY VACATION’
ทั้งนี้พามาฟังการสานพันธกิจสู่มิติทางสังคม (Social) จากปากของคุณกฤษชนก ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ (ILM) เผยว่า บริษัทฯ มีเจตนารมย์ในการมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าด้วยสินค้าและบริการ ควบคู่กับการส่งต่อความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมรอบข้างตลอดมา ซึ่งปีนี้เราได้เริ่มโปรเจกต์การเข้าไปพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อสานนโยบายด้าน ESG ในมิติทางสังคม โดยเริ่มต้นที่ “กลุ่มใบไม้” ชุมชนบ้านคีรีวง ผู้สร้างงานศิลป์ผ้ามัดย้อมออร์แกนิก จ.นครศรีธรรมราช ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้เดิมของชาวบ้านมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์เสน่ห์ดีไซน์ผ้ามัดย้อมทำมือออร์แกนิก บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มชุมชนสู่ชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์เพื่อเชื่อมโยงการใช้ชีวิตสู่วิถี “Urban Life”
สำหรับการดีไซน์โครงสร้างจากแนวคิดใช้ดีเทลของบ้านไม้ระแนงให้ดูโปร่งโล่ง การใช้เทคนิคทำสีไม้แบบไวท์วอชเพื่อให้ชิ้นงานยังคงสวยงามด้วยลายไม้จริง เมื่อเพิ่มดีไซน์จากผ้ามัดย้อมสีฟ้าครามไล่เฉดในส่วนต่าง ๆ ของเฟอร์ฯ ทั้งหัวเตียงนอน, ผนังตู้เสื้อผ้า และโต๊ะเครื่องแป้ง ทำให้เกิดเป็นสไตล์แบบสากลอย่างลงตัว ขับเน้นงานคราฟท์ท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นแฮนด์เมดแตกต่างกันไปในแต่ละชิ้นงาน “HAPPY VACATION” ชุดนี้จึงดูมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ที่ให้ความคุ้มค่าด้วยคุณภาพและราคาจับต้องได้ อีกทั้งยังสามารถจัดเซ็ตเข้ากับบ้านได้หลากสไตล์อย่างลงตัว โดยเจาะลูกค้ากลุ่ม Gen X และ Gen Y ที่รักอิสระ เลือกแต่งบ้านในแบบที่เป็นตัวเอง รักในงานคราฟท์และศิลปะ
ด้านคุณอุไร ด้วงเงิน ประธานกลุ่มใบไม้ เปิดเผยว่า อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ได้ให้โอกาสพวกเราชุมชนบ้านคีรีวง มาร่วมพัฒนาสินค้า ผ้ามัดย้อมจากชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งงานนี้เราต้องการงานมัดย้อมให้ออกมาในโทนสีฟ้า-คราม จึงเลือกใช้ใบครามแทนเปลือกผลไม้-ใบไม้ชนิดอื่น ด้วยเทคนิคย้อมแบบไล่เฉดสีจากอ่อนไปเข้ม ซึ่งมีดีเทลค่อนข้างละเอียดทุกขั้นตอนทั้งการต้มใบคราม ระยะเวลาในการจุ่มผ้าลงสีที่ต้องแม่นยำ เพื่อคงสภาพสีที่ติดบนผ้า และทำให้ผ้าที่ย้อมแต่ละผืนออกมาในเฉดสีที่เหมือนๆกัน
ทั้งหมดคือประตูในการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นของไทยได้มีกำลังใจมองเห็นคุณค่าและอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตัวเอง ซึ่ง อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ยังตั้งใจที่จะพัฒนาธุรกิจให้เติบโตควบคู่การสนับสนุนศักยภาพทุกๆ ภาคส่วนของสังคม และมอบสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน ในอนาคตเราได้วางแผนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มชุมชนท้องถิ่น 1 ปี 1 ภาค อยากให้คนไทยร่วมภาคภูมิใจและสนับสนุนฝีมือคนไทย