svasdssvasds

เช็กรัฐบาลประยุทธ์ แก้เรื่องสิ่งแวดล้อม สางปัญหาก๊าซเรือนกระจก ถึงไหน ?

เช็กรัฐบาลประยุทธ์  แก้เรื่องสิ่งแวดล้อม สางปัญหาก๊าซเรือนกระจก ถึงไหน ?

เปิดผลงานรัฐบาลประยุทธ์ 4 ปี ก่อนเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะมาถึง รัฐบาลชุดนี้ ได้แก้เดินเกม แก้ปัญหา "ก๊าซเรือนกระจก" ไปถึงไหนแล้ว โดยในช่วงที่ผ่านมา เริ่ม เน้นประเด็น และให้ความสำคัญ เรื่อง ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์

ในประเด็นสิ่งแวดล้อม และ Keep the World ซึ่งเป็นเทรนด์ที่โลกให้ความสนใจแล้วนั้น มีคำถามสำคัญคือในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา และกำลังจะหมดวาระในเวลาอันใกล้นี้ ได้ให้ความสำคัญไปมาก-น้อยแค่ไหน โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น   การดำเนินนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ได้กำหนดนโยบายหลักไว้ 12 ด้าน 

หนึ่งในนั้นคือด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เข้าประเด็น keep the World และสิ่งแวดล้อม  โดยภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมนี้นั้น รัฐบาล ในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวเรือใหญ่ ยังได้กำหนดการแก้ไขปัญหา "ก๊าซเรือนกระจก" และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเอาไว้ด้วย

โดย ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล 4 ปี พร้อมทั้งรายงานผลงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกเอาไว้ โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ 

4 ปี รัฐบาลประยุทธ์  แก้ปัญหา สิ่งแวดล้อม  ก๊าซเรือนกระจก-Climate Change ถึงไหนแล้ว ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• การแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจก

รัฐบาล ในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย เพื่อเป้าหมายต่าง ๆ ดังนี้

ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG Emissions) ในปี  2065
ส่งเสริมโครงการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) 
สรุปผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2022-2023  มีโครงการที่ได้การรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) จำนวน 67 โครงการ รวมปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ทั้งสิ้น จำนวน 5.134 ล้านตัน

4 ปี รัฐบาลประยุทธ์  แก้ปัญหา สิ่งแวดล้อม  ก๊าซเรือนกระจก-Climate Change ถึงไหนแล้ว ?

• แนวทางรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change 

การดำเนินกิจกรรม และโครงการที่สนับสนุนด้านการปรับตัวเพื่อลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยธรรมชาติและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change  อันเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

รวมทั้งดำเนินการจัดทำข้อมูล และแผนที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยครอบคลุมด้านดินถล่ม แผ่นดินไหว และหลุมยุบ เพื่อประเมินสถานภาพ กำหนดขอบเขต พื้นที่เสี่ยงภัย และจัดทำแผน มาตรการ และแนวทางในการเตรียมความพร้อมป้องกันบรรเทาผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยต่าง ๆ 

ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงภัยให้แก่ประชาชน ภาคีเครือข่ายเฝ้าระวัง ในพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัย ในปีงบประมาณ 2565 จำนวน78,869 ครัวเรือน

4 ปี รัฐบาลประยุทธ์  แก้ปัญหา สิ่งแวดล้อม  ก๊าซเรือนกระจก-Climate Change ถึงไหนแล้ว ?

• ขับเคลื่อน BCG Economy Model 

รัฐบาลได้พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยขับเคลื่อน BCG Economy Model โดย BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน 

โดย รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีเป้าหมายยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ปี 2564 - 2570 ซึ่งมีการเปิดตัวเครื่องหมายและระบบการรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Carbon Footprint of Circular Economy Product: CE-CFP) โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองเครื่องหมาย รับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวน 47 ผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้ ในการประชุุม COP26  ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ที่เดินทางไปร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เมื่อ 1 พ.ย. 2021 และยังให้คำมั่นต่อนานาประชาคมโลกว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่อง Climate Change 

 

"ผมมาร่วมประชุมวันนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่าประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ และทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการแก้ปัญหาครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของโลก เพราะภารกิจนี้คือความเป็นความตายของโลกและอนาคตของลูกหลานของพวกเราทุกคน"

related