svasdssvasds

สำรวจนโยบายพลังงาน ของรัฐบาลหน้าในการเลือกตั้ง 2566 แก้ปัญหาค่าไฟแพงยังไง

สำรวจนโยบายพลังงาน ของรัฐบาลหน้าในการเลือกตั้ง 2566 แก้ปัญหาค่าไฟแพงยังไง

เลือกตั้ง 2566 ที่จะมาถึงนี้ ประชาชนถามหาวิธีการแก้ปัญหาค่าไฟแพง ดังนั้น แต่ละพรรคการเมืองและในฐานะรัฐบาลหน้าจะมีแนวทางหรือนโยบายพลังงานด้านไหนที่ตอบโจทย์ประชาชนบ้าง

ปัญหาค่าไฟแพง ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ประชาชนต้องแบกรับ แม้ว่าเราจะมีการเปลี่ยนแปลงหันไปใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนกันมากขึ้นเพื่อลดภาระค่าไฟ แต่ราคาของค่าไฟยังคงพุ่งสูง และผู้เข้าถึงได้ง่ายกว่าคือเอกชน แล้วประชาชนล่ะ มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงได้อย่างง่ายบ้างหรือไม่?  เรื่องนี้นักวิชาการแนะมีแนวทางแก้ไขปัญหาอยู่ หากรู้ว่าต้นตอของปัญหามาจากไหน และรัฐต้องจัดการให้เด็ดขาด

การเลือกตั้งที่จะมาถึง จึงเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลสมัยหน้าจะได้รู้ปัญหาด้านพลังงานว่าควรแก้ไขอย่างไร งานเสวนา หัวข้อ “พรรคการเมืองตอบประชาชน อนาคตพลังงานไทย” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) จึงได้เปิดโอกาสให้ประชาชนและนักวิชาการกับพรรคการเมืองประจันหน้าถามตอบถึงทางออกของปัญหาค่าไฟแพง

ในบทความนี้จะเป็นการเสนอนโยบายของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับเชิญมา ว่าปัญหาด้านพลังงานของไทย ในฐานะรัฐบาลหน้าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาค่าไฟแพงและรับมือกับวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานอย่างไรบ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พรรคประชาธิปัตย์  (ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์) พรรคประชาธิปัตย์

(ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์)

ไฟฟ้า

  • สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
  • ส่งเสริมโครงข่ายพัลงงานไฟฟ้าอัจฉริยะ

ก๊าซธรรมชาติ

  • ส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำมัน

  • ส่งเสริมการขนส่ง จากน้ำมันเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า

พลังงานทดแทน

  • สนับสนุนพลังงานทดแทน ขนส่งมวลชนสาธารณะ คนใช้รถ EV+ เพิ่มสถานีชาร์จ
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในโรงงานอุตสาหกรรม
  • หนุนการศึกษาวิจัยพลังงานทดแทน
  • ส่งเสริมชุมชนผลิต+ให้บริการด้วยทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น

อนุรักษ์พลังงาน

  • ส่งเสริมเทคโนโลยี เช่น แอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมเครื่องปรับอากาศผ่านมือถือ
  • หนุนนวัตกรรมการออกแบบอาคารให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ขนส่งมวลชนมากขึ้น

 

พรรคชาติพัฒนากล้า  (อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี) พรรคชาติพัฒนากล้า

(อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี)

  • ต้องทำให้เกิดการแข่งขันเสรี
  • ออกพ.ร.ก.เรื่องการเก็บภาษี ไม่ใช่กองทุนน้ำมันจ่าย
  • น้ำมันมีการตั้งค่าสมมุติค่าการกลั่น ทำให้ไม่มีการแข่งขัน
  • ราคาน้ำมันต้องทุบที่ค่าการกลั่นเท่านั้น
  • ทำให้ค่าไฟถูกต้องประเมินค่า ft ทุก 2 เดือน
  • ต้องทำโซลาร์รูฟท็อปให้ประชาชนเข้าถึงได้

พรรคภูมิใจไทย  (ภาดาท์ วรกานนท์) พรรคภูมิใจไทย

(ภาดาท์ วรกานนท์)

  • หลังคาทุกบ้านจะต้องมีโซลาร์รูฟท็อป+แถมรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
  • หลายพรรคที่บริหารกระทรวงพลังงานมีกลุ่มนายทุนหนุนหลัง แต่พรรคภูมิใจไทยไม่มี หากได้เป็นจะปฏิรูปพลังงาน
  • รถเมลล์ไฟฟ้าทั่วถึง

พรรคพลังประชารัฐ  (สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) พรรคพลังประชารัฐ

(สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์)

  • สั่งทำ Net Metering
  • พลังงานของประชาชนเพื่อประชาชน
  • ปฏิรูปโครงสร้างน้ำมัน
  • ยกเลิกราคาสมมุติ บริหารภาษีกองทุนน้ำมัน
  • หาสมดุลของภาษี
  • ลดการนำเข้าน้ำมันเปลี่ยนผ่านสู่ EV
  • บริหารพืชพลังงาน เช่น แปรรูปปาล์มน้ำมันให้กลายเป็น Biojet (น้ำมันเครื่องบิน)
  • ระงับการเซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าใหม่ ลดไฟฟ้าส่วนเกิน
  • ราคาก๊าซหุงต้มเหลือถังละ 350 บาท/ถัง
  • ก่อตั้งองค์การจัดการทรัพยากรพลังงานของชาติ

พรรคไทยสร้างไทย  (ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส) พรรคไทยสร้างไทย

(ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส)

  • งดการใช้ไฟฟ้าจากโรงงานฟอสซิล
  • สนับสนุนให้ภาคครัวเรือน ติดโซลาร์ที่ผลิตไฟใช้เองได้
  • ลดการอนุญาตโรงงานไฟฟ้าใหม่
  • ใบอนุญาตตั้งแต่ปี 2537 จำพวกแก๊ซจะไม่ออกใบอนุญาตแล้ว
  • ลดขั้นตอน,อุปสรรคการขอติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำให้เข้าถึงง่ายขึ้น
  • สนับสนุน Net Metering
  • ลดค่าไฟ 3.50 บาท ด้วยการลดการผลิต ซื้อไฟจากสปป.ลาว หรือซื้อจาก SPP,IPP

พรรคก้าวไกล  (ดร.เดชรัต สุขกำเนิด) พรรคก้าวไกล

(ดร.เดชรัต สุขกำเนิด)

  • โซลาร์เซลล์ สามารถทำ Net Metering ได้ สำคัญต่อการซื้อขายไฟฟ้าได้เสรี มีสินเชื่อสำหรับคนที่ต้องการติดตั้ง ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องกู้ แต่แบ่งรายได้กับรัฐ
  • โรงเรียน โรงพยาบาล องค์กรส่วนท้องถิ่น เกษตรกร ให้ลงกองทุนอนุรักษ์พลังงานเพื่อลงทุน ลดภาระให้รัฐ เอางบของรัฐไปปรับปรุงบริการ
  • ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ 5,000 MW จะมีใช้สำหรับ 1,000,000 ครัวเรือน
  • ขนส่งสารธารณะจะครอบคลุมทุกจังหวัดในงบ 10,000,000 ล้านบาท
  • ปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน กองทุนน้ำมัน ภาษีสรรพสามิต แก้ปัญหาเงินไปไม่ถึงมือเกาตรกรน้ำมันปาล์ม
  • รัฐผลักภาระประชาชน เปลี่ยนแก๊สธรรมชาติราคาแพง ให้ถูกลง
  • ลดค่าความพร้อมจ่าย สามารถเป็นไปได้เพราะมีโรงไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิกำลังหมดอายุ ไม่ผูกกับโรงไฟฟ้าใหม่
  • ปรับการพยากรณ์ไฟฟ้าใหม่ เพราะเกินจริงตลอด เป็นการผลักภาระประชาชน รัฐต้องรับผิดชอบกำลังการผลิตส่วนเกิน ประชาชนต้องวางแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าบ้าง เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นการรับรองกำไรนายทุน
related