เสวนา "พรรคการเมืองตอบคำถามประชาชน อนาคตพลังงานไทย" ชวนนักวิชาการตั้งโจทย์ให้พรรคการเมือง แก้ไขปัญหาพลังงานของไทยให้ยั่งยืนได้อย่างไร
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ชวนฟังเสวนา หัวข้อ “พรรคการเมืองตอบประชาชน อนาคตพลังงานไทย” ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โดยมีการเสนอประเด็นพลังงานจากนักวิชาการ อาทิ ประเด็น “พลังงงานโลกกับการบริหารจัดการ” “ถึงเวลาก้าวข้ามพลังงานฟอสซิล” “โครงสร้างราคาแก๊สและน้ำมัน” และ “ไฟฟ้าถูกทำได้อย่างไร” เป็นต้น
แนวโน้มพลังงานของโลก เริ่มหันไปหาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดมากขึ้น รวมถึงไทยเองก็เริ่มปรับตัวบ้างแล้ว ข้อคัดแย้งหลักของโลกคือความพยายามในการลดอุณหภูมิโลกให้ได้ โดยจะต้องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง อันเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกคน
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กรรมการเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ได้กล่าวถึงความสำคัญการเคลื่อนไหวของประชาชนต่อการดำเนินงานด้านพลังงานของรัฐว่า ปีนี้ เข้าปีที่ 8 แล้วที่ภาคประชาชนหลากหลายกลุ่มพยายามเนินหน้าให้รัฐปรับปรุงปัญหาพลังงาน ซึ่งหลายครั้งถูกดำเนินคดีโดนกลุ่มทุนพลังงาน การเลือกตั้งครั้งนี้จึงอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่เป็นไปได้ให้เกิดความเท่าเทียม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บ้านเบอร์ 5' บ้านประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่าย แถมเป็นมิตรกับโลก
‘แสงแดด’ ขุมทรัพย์ในการผลิตไฟฟ้าใช้เองของวัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบล
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า พลังงานโลกกับการบริหารจัดการกำลังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่า นโยบายของรัฐบาล ได้สะสมปัญหาด้านพลังงานมาอย่างยาวนาน ดังนั้นจึงขอตั้งโจทย์กับว่าที่รัฐบาลสมัยหน้า ว่า 3 ปัจจัยหลักใดที่จะสามารถเร่งแก้ปัญหาพลังงานเร่งด่วนได้
นายธีระชัย แนะ 3 ปัจจัยหลักคือ
1.สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กำลังจะส่งผลกระทบ ทั้งในเรื่องการส่งออกน้ำดิบของประเทศรัสเซีย ประเทศที่ส่งออกน้ำมันดิบเป็นอันดับ2 ของโลก ซึ่งตอนนี้รัสเซียถูกประเทศฝั่งตะวันตกกำหนดเพดานราคาน้ำมันดิบ โดยในเดือนมีนาคมนี้ รัสเซียปรับลดการผลิตน้ำมันดิบ ทำให้มองว่าในอนาคตแนวโน้มราคาน้ำมันจะสูงขึ้นอย่างแน่นอน รัฐบาลสมัยหน้าจะมีการแก้ปัญหาอย่างไร
2.ชาติตะวันตก หันมาลงทุนน้ำมันเป็นจำนวนน้อย พอออกมาตรการ Sanction น้ำมันดิบ แล้วยัง Sanction น้ำมันสำเร็จรูปอีก โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ทำให้อัตราค่าการกลั่นของโลกสูง และปัจจุบันราคาน้ำมันของไทยอ้างอิงตลาดสิงค์โปร์ หากเป็นเช่นนี้รัฐบาลสมัยหน้าจะมีการวางนโยบายอย่างไร
3. เรื่องของก๊าซ เมื่อท่อส่งก๊าซที่รัสเซียส่งท่อไปยังฝั่งยุโรป แต่ตอนนี้ได้ถูกระเบิดไปแล้ว จากสสงครามที่เกิดขึ้น ซึ่งในอนาคตจะทำให้ราคาก๊าซหวือหวามาก และอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในอนาคต
Muttersholtz หมู่บ้านเล็ก ๆ ในฝรั่งเศสที่มีความสุขเพราะค่าไฟถูก
ทำไมไทยค่าไฟแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ก.พลังงานแจงเพราะไฟฟ้าไทยมีคุณภาพ
จาก 3 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอแนะว่าประเทศไทย ต้องเปิดแนวคิดจากรายจ่ายเป็นรายได้ เพราะแทนที่รัฐบาลจะควักกระเป๋าให้เงินสนับสนุนต่างๆ นานา แต่ควรเปลี่ยนเป็นการสร้างรายได้ เช่น การพัฒนาพลังงานทางเลือก หรือ การสนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังย้ำว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจพลังงาน ไม่ควรมีการผูกขาดที่เอื้อต่อเอกชน เพราะไม่เกิดประโยชน์อันใดให้กับประชาชนคนไทย
ด้านนางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงประเด็น “ถึงเวลาก้าวข้ามพลังงานฟอสซิล” ว่า ยุคหินผ่านไป ไม่ใช่เพราะหินหมด แต่เป็นเพราะเราค้นะบเทคโนโลยีใหม่ ทำไมเราต้องก้าวข้ามฟอสซิล เพราะยุคสมัยฟอสซิลถูกใช้งานมา 150 ปีที่ผ่านมา แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาล ทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่อยู่มา 2,000 ปี ดังนั้น เราไม่ได้ต้องการพลังงานเพิ่ม แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
พลังงานฟอสซิลส่งผลให้เกิดปัญหา 3 ปัจจัยหลัก คือ โลกร้อน การสะสมทุนผูกขาดทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และสุขภาพของประชาชน เช่น PM2.5 ดังนั้น พลังงานจึงมักเป็นเจตจำนงทางการเมือง ไม่ใช่มาจากความต้องการของประชาชน โลกเปราะบางเหมือนมนุษย์เรา โลกคือต้นทุนไม่ใช่กำไร แสงอาทิตย์ควรเป็นประชาธิปไตยทางพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ใช่ของนายทุนที่ขึงแดดไว้ใช้เอง
รัฐควรสนับสนุนให้ประชาชน ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ สามารถผิลตไฟเองได้ ทั้งใช้เอง เอาไว้ขาย และลดภาระค่าใช้จ่ายได้ พรรคการเมืองควรมีนโยบายที่ขจัดอุปสรรคที่ทำไม่ได้เพราะแบบนั้นแบบนี้ที่อ้างว่าทำไม่ได้ เพราะมีผลประโยชน์พลังงานฟอสซิลรองรับอยู่ และอยากให้ส่งเสริมให้เปลี่ยนรถยนต์และจักรยานยนต์ในไทยไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ลด PM2.5 ได้