บริษัทอิตาลี ผุดไอเดีย คิด โซลาร์เซลล์ล่องหน จุดประสงค์ก็เพื่อประยุกต์ ให้เข้ากับทัศนียภาพ และกลมกลืนไปกับความเป็นอยู่เดิมๆ ไม่เป็นทัศนอุจาดขัดสายตา นอกจากนี้ ยังกลมกลืน ไปกับ อาคารโบราณ-แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และ "เนียน" ไปกับสภาพแวดล้อมเดิมๆ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน Dyaqua บริษัทในประเทศอิตาลี ได้คิดไอเดีย ที่จะหาแหล่งพลังงานจากแสงอาทิตย์มาดัดแปลงเป็นพลังงานในรูปแบบโซลาร์เซลล์ ด้วยการพัฒนาวิธีผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ให้มีลักษณะคล้ายกระเบื้องดินเผาแบบทั่วไป ที่พบบนหลังคาอาคารในอิตาลี
โดย เทคโนโลยี โซลาร์เซลล์ล่องหน นี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ทางประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ โซลาร์เซลล์ล่องหน หรือ Invisible Solar จะเป็นนวัตกรรมแผงโซลาร์ที่มองไม่เห็น โดย โซลาร์เซลล์ล่องหน มันจะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเดิม โดยเฉาะพื้นที่อาคารโบราณ หรือพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม แต่จุดหมายปลายทางก็ยังสามารถ นำพลังงานแสงอาทิตย์ มาทำเป็น พลังงานได้ประมาณ 25% ซึ่งแม้ว่าว่าไม่ได้เยอะมากมายอะไร แต่อย่างน้อยๆ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางของเทรนด์ Keep The World เทรนด์รักษ์โลก ได้แปลงพลังงานสะอาดมาใช้งาน และก็น่าจะพอช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงาน แลกกับความสวยงามขอโบราณสถานดั่งเดิมได้
โดย เมื่อปี 2019 ที่อิตาลี ได้มีการนำร่องติดตั้ง โซลาร์เซลล์ล่องหน นี้ที่ เมือง ปอมเปอี ผ่านโครงการ Smart Archaeological Park ไปแล้วด้วย
ณ ปัจจุบัน บริษัท Dyaqua กำลังทดลองระบบที่คล้ายกันโดยใช้วัสดุต่างๆ ที่มีลักษณะคล้าย ไม้ หิน หรือคอนกรีต เพื่อที่จะนำวัสดุเหล่านี้ไปใช้กับโบราณสถานอื่น ๆ ทั่วโลกต่อไป และยังถือเป็น Eco-friendly กับสิ่งแวดล้อมด้วย
สำหรับ ประเทศอิตาลี ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศในยุโรปที่มาความสนใจ เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะก่อนหน้านี้ กรุงโรม เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอิตาลี ได้เสนอแผนการสร้างฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงเมืองครั้งสำคัญเพื่อเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์ เอกซ์โป (World Expo) งานมหกรรมแสดงผลงานนิทรรศการนวัตกรรมระดับโลกในปี 2030
ที่มา dezeen