นักวิทยาศาสตร์ พบว่า แก่นโลกชั้นในหยุดหมุน และเปลี่ยนทิศทางในการหมุน ยังไม่ทราบผลกระทบ คาดว่าเป็นวัฏจักรปกติของการหมุนของแกนโลก และยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนแบบฟันธงว่า มีผลกระทบต่อโลกอย่างไรบ้าง ?
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานระบุว่า วารสารด้านวิทยาศาสตร์ Nature Geoscience ตีพิมพ์ผลวิจัยซึ่งเสนอแนวคิดว่า บริเวณที่เป็นใจกลางข้างในลึกสุดของโลกมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางการหมุนเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงกินเวลาหลายสิบปี
อย่างที่ทราบกันดีว่า โครงสร้างของโลกเรานั้นมีหลายชั้น ไล่เรียงตั้งแต่ ชั้นเปลือกโลก (Crust) ถัดมาเป็นเนื้อโลก (Mantle) และไส้ในเป็นแก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) และแก่นโลกชั้นใน (Inner Core) ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกกว่า 5,000 กิโลเมตร
โดยสิ่งที่ปรากฏอยู่ในข่าวนั้น เกิดขึ้นในชั้น แก่นโลกชั้นในหรือ (Inner Core) ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกกว่า 5,000 กิโลเมตร โดยนักวิทยาศาสตร์ได้พบ คลื่นไหวสะเทือนเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ส่วนประกอบของใจกลางของโลกส่วนใหญ่เป็นธาตุเหล็กและนิกเกิลบริสุทธิ์ ซึ่งอาจจะหมุนเร็วกว่าโลกส่วนที่เหลืออยู่เล็กน้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดย ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา คลื่นไหวสะเทือนในแก่นโลกชั้นใน เริ่มเกิดความเปลี่ยนแปลง โดยแก่นโลกชั้นใน “หยุดหมุน” ในปีนั้น และ “เริ่มหมุนกลับมาในอีกทิศทางหนึ่ง”
นอกจากนี้ ก่อนหน้าปี 2009 แก่นโลกชั้นใน เปลี่ยนทิศการหมุนในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ส่วนการเปลี่ยนทิศทางการหมุนครั้งต่อไปคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 2040
ทั้งนี้ จากการคำนวณ นักวิทยาศาสตร์ คิดว่าวัฎจักรนี้ใช้เวลาราว 70 ปี โดยสมมติเพื่อให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าหมุนไปด้านซ้าย 35 ปี และหมุนกลับไปด้านขวา 35 ปี โดยที่นักวิทยาศาสตร์ ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริง แต่รายงานเสนอว่าผลกระทบนั้นค่อนข้างสังเกตได้อย่างชัดเจนสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและระดับน้ำทะเล รวมไปถึงความยาวของกลางวันกลางคืนบนโลก
ผลวิจัยใหม่นี้ อาจจะมีช่วยให้ เข้าใจธรรมชาติของแกนกลางโลกได้มากขึ้น รวมถึงผลกระทบของมันที่มีต่อเปลือกและชั้นอื่นของโลก เข้าใจการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เข้าใจเรื่อง Climate Change ที่กำลังเป็นปัญหารุนแรงมากขึ้น เพราะเรามีข้อมูลประกอบมากขึ้น แต่ยังคงต้องใช้เวลาอันยาวนานมากกว่าจะไปถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์ได้
ที่มา cnn.