ทำความรู้จัก ข้าวรักษ์โลก คืออะไร ? หรือนี่จะเป็นการทำนารูปแบบใหม่ วิถีนาใหม่ ลดน้ำ ลดต้นทุน ลดปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลก ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เข้าเทรนด์รักษ์โลก Keep The World ?
ข้าวรักษ์โลก คืออะไร ?
ข้าวรักษ์โลก คือ วิถีนาใหม่... ซึ่งหากเดินตามแนวทางนี้ จะส่งผลให้ ชาวนาน ปลูกในแบบรักษาความสะอาดต่อโลก แม้เรื่องนี้จะยังไม่ได้กว้างขวางแบบป๊อปปูลาร์เป็นที่นิยมไปทั่วประเทศ แต่ในปัจจุบัน เรื่องการปลูกข้าวแบบรักษ์โลก มันกำลังแพร่ขยายไปในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ
คำถามคือ นารักษ์โลก การปลูกข้าวรักษ์โลก ต่างจากวิถีการทำนาแบบเดิมๆ อย่างไร ? , หากจะอธิบายแบบเห็นภาพมากที่สุด คือ การปลูกข้าวแบบเดิมๆ จะมีน้ำขังอยู่ในพื้นที่นาตลอดเวลา และนั่นทำให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก๊าซมีเทน ก็เป็นก๊าซเรือกระจกที่รุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 28 เท่า และประมาณการว่า นา 1 ไร่อาจก่อให้เกิดก๊าซมีเทนได้หลักสิบ ถึงหลักพันกิโลคาร์บอน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ ไทม์ฟอร์เชนจ์ (Time For Change.com) ประเมินว่า การใช้น้ำมันรถยนต์ 1 ลิตร จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 10 กิโลคาร์บอน นั่นหมายความว่า การปลูกข้าว 1 ไร่ อาจก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าการใช้น้ำมัน 1 ถึง 100 ลิตร
นอกจากนี้ การปลูกข้าวรักษ์โลก จะต่างจากวิถีทำนาแบบเดิมๆ อีก อาทิ การใช้เครื่องสูบน้ำเข้านา มันจะต้องใช้ น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งมันก็มีเอฟเฟกต์ในการก่อก๊าซเรือนกระจก ขณะที่ ตอซัง และ ฟางข้าว หากเป็นวิถีการทำนาแบบเดิมๆ ก็จะมีการเผา จนส่งผลให้ควันพิษเต็มอากาศไปหมด ซึ่ง หากปลูกข้าวรักษ์โลก ทำนารักษ์โลก มันจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หรืออย่างน้อยๆก็บรรเทาเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมให้เบาบางลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข้าวรักษ์โลก ทำนารักษ์โลก ต้องทำอย่างไร ?
ขั้นตอนของการทำนา เพื่อ Keep The World ปลูกข้าวรักษ์โลกนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าจะลงมือทำ ขอเพียงต้องมีการผสมผสานเทคโนโลยี และความรู้เข้าไปด้วย และมันจะทำให้ การปลูกข้าว ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
โดยมี 4 กิจกรรมหลักด้วยกัน ที่สามารถเข้ากับคอนเซปต์ ข้าวรักษ์โลก
1.การปรับหน้าดินด้วยแสงเลเซอร์ : ใช้เครื่องเลเซอร์วัดระดับและควบคุมกระบะเกลี่ยดิน จนกระทั่งหน้าดินแปลงนาราบเรียบเสมอกัน ประสิทธิภาพของการลดก๊าซเรือนกระจกของขั้นตอนการทำนาก็จะง่ายขึ้น
โดย การปรับหน้าดินด้วยแสงเลเซอร์ ที่เป็นกระบวนการที่มีค่าใช้จ่ายราว 2,200 บาทต่อไร่ เหมือนจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ราคาสูง แต่ แต่ในส่วนที่ลดก็คือ ประหยัดปุ๋ย ประหยัดสารเคมี ประหยัดน้ำ ลดค่าสูบน้ำ ซึ่งที่จริงแล้ว มันจะทำให้ ต้นทุนลดลงมหาศาล
2.การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง : ใช้ท่อ PVC ขนาด 4 นิ้วมีรูเจาะรอบตัว ช่วยให้เกษตรกรให้น้ำกับข้าวในระยะที่ข้าวต้องการเท่านั้น และหยุดให้น้ำในระยะที่ไม่จำเป็น วิธีแบบนี้จะทำให้เช็กปริมาณน้ำในนาได้ง่ายขึ้น ไม่สิ้นเปลืองน้ำเกินความจำเป็น และนั่นหมายความว่า เครื่องสูบน้ำก็ใช้พลังงานน้อยลง
3.การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน : เก็บตัวอย่างดินในแปลงนา ส่งวิเคราะห์หาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อประเมินปริมาณปุ๋ยเท่าที่จำเป็น เมื่อทำวิธีนี้ ก๊าซไนตรัสออกไซด์จากดิน ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
4.การจัดการฟางและตอซัง : ใช้น้ำหมักย่อยสลายฟางและตอซัง แทนที่การเผา
หากเกษตรกร หรือชาวนาที่ปลูกข้าว เปลี่ยน mindset มันก็จะส่งผลให้เป็นเรื่องดี ต่อสิ่งแวดล้อม แถมลดต้นทุนในการปลูกข้าวในระยะยาวด้วย
• ข้าวรักษ์โลก : BCG โมเดลเทรนด์กระแสแห่งอนาคต
ในช่วงปลายปีที่แล้ว 2022 มีการเปิดตัว “ข้าวรักษ์โลก”สู่ผลิตภัณฑ์พรีเมียร์ เพื่อเป็นผลลัพธ์เชิงประจักษ์สู่สากลในเวที่ APEC 2022 ด้วย ซึ่ง โครงการ ข้าวรักษ์โลก BCG Model เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ชาวนาทำนาอย่างประณีต โดยใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเท่านั้น เลิกใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า วิธีการ ให้ไถ่กลบต่อซังข้าวแล้วฉีดด้วยจุลินทรีย์ เพื่อทำการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติเพิ่มธาตุสารอาหาร N P K กลับลงไปในดิน
ส่งเสริมโดรนเพื่อการเกษตรในการฉีดพ่นจุลินทรีย์ประหยัดแรงงานประหยัดเวลาลดค่าใช้จ่าย และส่งเสริมระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานทางเลือกแบบหมุนเวียน เพื่อประหยัดด้านต้นทุนพลังลง ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดการลดต้นทุนในการเพาะปลูกลงมากถึง 2,000 บาท / ไร่ และเมื่อผลผลิตออกมามีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ แล้วจึงทำให้ภาคีโรงสีมารับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาด จึงเป็นการส่งเสริมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตามนโยบาย BCG Model ของทางรัฐบาลคือ
B = Biotechnology คือส่งเสริมระบบชีวมวลชีวภาพ โดยให้ใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร SG1 ที่ดีมีมาตรฐาน ISO, Bio Safety Level 1 and LD50
C = Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน โครงการส่งเสริมให้ไถกลบตอซังข้าวแล้วฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ SG1 เพื่อย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติกลับสู่ลงดินเป็นการเติมธาตุสารอาหาร N P K ธาตุรองธาตุเสริมกลับลงไปในดิน
Green = เศรษฐกิจสีเขียว เมื่อส่งเสริมไถ่กลบตอซังข้าวไม่มีการเผาฟางก็ไม่เกิดก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ เมื่อฉีดพ่นจุลินทรีย์ SG1 ลงไปกระบวนการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์จะไม่ปล่อยก๊าซมีเทน เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีเครดิตคาร์บอน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม