COP 27 มี กว่า 150 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนระดับโลก ซึ่งหากเทียบกับปีก่อนหน้าใน COP 26 ที่ข้อตกลงเพิ่งเกิดขึ้น จำนวนประเทศที่เข้าร่วมมีเพิ่มขึ้นถึง 50 ประเทศ แต่ทว่าท่าทีของจีน และ รัสเซีย ยังนิ่งเฉยต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมเรื่องนี้
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือ COP 27 มี กว่า 150 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนระดับโลก ซึ่งหากเทียบกับปีก่อนหน้าใน COP 26 ที่ข้อตกลงเพิ่งเกิดขึ้น จำนวนประเทศที่เข้าร่วมมีเพิ่มขึ้นถึง 50 ประเทศ แต่ทว่าท่าทีของจีน และ รัสเซีย ยังนิ่งเฉยต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมเรื่องนี้
ย้อนเวลากลับไปปี 2021 Global Methane Pledge หรือ ข้อปฏิญญาว่าด้วยการลดปล่อยก๊าซมีเทนระดับโลก ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกจากการประชุม COP 26 ที่กลาสโกว์ โดยสหรัฐฯและสหภาพยุโรปเป็นหัวหอกสำคัญในการผลักดันข้อตกลงนี้ โดย 50 ประเทศที่เพิ่งลงนามในปฏิญญานี้ ต่างเสนอยุทธศาสตร์เพื่อลดการปล่อยก๊าซมลพิษ ในขณะที่ทางด้านจีน อินเดีย และรัสเซีย ประเทศที่ปล่อยก๊าซมีเทนเป็นเบอร์ต้นของโลก ยังไม่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลง แต่อย่างใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำหรับ ใครที่สงสัยว่า ก๊าซมีเทน มีผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรนั้น ต้องอธิบายว่า ก๊าซมีเทน เกิดจาก ขยะอาหาร (Food Waste) ที่ไม่สามารถแยกออกจากขยะประเภทอื่น หรือไม่มีกระบวนการในการจัดการต่อได้นอกจากปล่อยให้ย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเศษอาหาร เป็นตัวการหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก หรือภาวะโลกร้อน จากการย่อยสลายของอินทรีย์ที่ปล่อยก๊าซมีเทน หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกออกมานั่นเอง
นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่าสหรัฐฯและ สหภาพยุโรป EU จะเริ่มดำเนินการจัดการในส่วนของน้ำมัน ก๊าซ ภาคการเกษตร และ การจัดการของเสีย ภายใต้ข้อปฏิญญา Global Methane Pledge ซึ่งรวมถึงความพยายามจับมือกับ กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมของสหประชาชาติ (U.N.’s International Fund for Agricultural Development) เพื่อช่วยเกษตรกรลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากการปศุสัตว์ ทั้งในประเทศโคลอมเบีย คอสตาริกา เคนยา ปากีสถาน รวันดา แทนซาเนีย ยูกันดา อุรุกวัย และเวียดนาม
อีกโครงการหนึ่งคือการมอบทุน 70 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้สำหรับการวิจัยกระบวนการหมักในระบบย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยว (enteric fermentation) ที่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนจากการเรอ มีศักยภาพทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกได้มากว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สหรัฐฯและสหภาพยุโรปยังมีการติดตามการปล่อยก๊าซมีเทนด้วยดาวเทียมผ่าน Carbon Mapper ที่จะประเมินการปล่อยก๊าซมีเทนบริเวณหลุมฝังกลบขยะ ซึ่งปริมาณการปล่อยมีเทนในส่วนนี้มีสัดส่วนราว 20% ของการปล่อยมีเทนทั่วทั้งโลก
การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30% ในทศวรรษนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของความพยายามในการควบคุมอุณหภูมิโลกร้อนไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะมันคือเทรนด์ keep the World ทั้งนักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่าเราต้องควบคุมอุณหภูมิไว้ในระดับดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤต Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเลวร้ายถึงขีดสุด
ที่มา reuters