โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม COP27 ระบุว่า สหรัฐฯ กำลังดำเนินการเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และเรียกร้องให้ทุกประเทศเพิ่มความพยายามของตนเองในการหลีกเลี่ยงสภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น
ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม COP27 หรือการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ อียิปต์ ระบุว่า สหรัฐฯ กำลังดำเนินการเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และเรียกร้องให้ทุกประเทศเพิ่มความพยายามของตนเองในการหลีกเลี่ยงสภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีการอนุมัติงบประมาณกว่า 369,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 13 ล้านล้านบาท) เพื่อดำเนินโครงการเศรษฐกิจสีเขียวที่จะเป็นตัวอย่างแก่ทุกประเทศทั่วโลก ทั้งยังผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียนจนได้รับการยกย่องจากนักเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อม เขากล่าวว่า วิกฤตสภาพภูมิอากาศมีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของมนุษย์, เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม, ความมั่นคงของชาติ และทุกชีวิตบนโลกใบนี้ สหรัฐฯ กำลังเดินอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซให้ได้ร้อยละ 50-52 ภายในปี 2030
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตรียมความพร้อมเพื่อโลก COP27 คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ หารือเรื่องอะไรบ้าง?
ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนใน COP 27 : สาระสำคัญมีอะไร มีข้อเรียกร้องอะไรบ้าง ?
โจ ไบเดน ประธานาธิบดีผู้นำสหรัฐ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม COP 27 หรือการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ อียิปต์ มีเนื้อหาในตอนหนึ่ง ประกาศมาตรการสนับสนุนวงเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5,400 ล้านบาท )เพื่อสนับสนุนความพยายามของแอฟริกา ในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ด้วย
นอกจากนี้ โจ ไบเดน “ขออภัยต่อประชาคมโลก” จากการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐคนก่อนหน้านี้ ได้นำรัฐบาลสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากความตกลงปารีส และยืนยันว่า รัฐบาลวอชิงตันชุดปัจจุบันจะเร่งดำเนินการกลับเข้าเป็นภาคีความตกลงปารีส พร้อมทั้งการสามารถบรรลุเป้าหมาย ลดการใช้ก๊าซคาร์บอนให้ได้ครึ่งหนึ่ง จากปริมาณของปี 2005 ภายในปี 2530
ในช่วงหนึ่งที่โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐกำลังกล่าวถ้อยแถลง ใน COP 27 มีผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นยืนแล้วชูผืนผ้าเขียนข้อความประท้วง แต่ไม่มีได้มีความรุนแรงบานปลายใดๆ โดย ผู้ประท้วงชูป้ายที่มีเนื้อหาประท้วงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสหรัฐฯถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาให้สามารถแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ และการรับมือกับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น
CLIP: Protesters during President Biden's #COP27 speech. pic.twitter.com/pk6YAudSo5
— CSPAN (@cspan) November 11, 2022
ส่วนประเด็นที่ประเทศไทยจะไปพูดในเวที COP 27 นั้น “วราวุธ ศิลปอาชา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เปิดเผยในช่วงก่อนเดินทางไปประชุม COP 27 ว่า ประเทศไทยของเรา ถึงแม้จะไม่ใช่ประเทศไทยที่ใหญ่มาก และไม่ได้เป็นประเทศมหาอำนาจ เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงแค่ 0.8% เป็นอันดับที่ 22 ของโลก แต่ไทยจะพยายามเป็นผู้นำของโลกที่เดินหน้าแก้ไขปัญหา Climate Change อย่างเป็นรูปธรรม
“ขณะนี้ได้มีการจัดทำร่างร่างยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand’s Long-Term Low Greenhous Gas Emission development Strategy) รวมถึง NDC (Nationally Determined Contribution)ฉบับปรับปรุง เพื่อจัดส่งให้กับ UNFCCC (UNFCCC) ภายในปลายปีนี้ โดยร่างดังกล่าวเป็นการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน”