การประชุม COP 27 คืออะไร ? สำคัญอย่างไร และต้องติดตามประเด็นใดบ้าง ? มีเป้าหมายสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องใดบ้าง ? โดยหลักๆแล้ว จะมีการ หารือกัน เรื่อง อุณหภูมิประชาคมโลกของโลก ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 - 2 องศาเซลเซียส ปี 2100
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือ COP27 คือ เวทีการประชุมภาคีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นการประชุมที่จะมาหารือเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนที่ใหญ่ที่สุดของโลก กำลังจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-18 พฤศจิกายน 2022 ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์
โดยเวทีการประชุม COP เป็นการประชุมภาคี (Conference of Parties) ด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ปี 1992 ที่รัฐภาคีเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกจะส่งผู้แทนมาเข้าร่วมประชุมหารือกันเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มต้นจัดกันครั้งแรก COP1 ในปี 1995 ที่เบอร์ลิน เยอรมนี จากนั้นจัดเรื่อยมาทุกปี จนกระทั่งถึงครั้งนี้ ครั้งที่ 27 หรือ COP27
ที่ผ่านมา เคยมีการประชุมและได้ข้อตกลงครั้งสำคัญ อาทิ รัฐภาคี 194 ประเทศลงนามในความตกลงปารีส (Paris Agreement) ปี 2015 มีร่วมมือกันจำกัดไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับช่วงยุคก่อนอุตสาหกรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ช่วยลดโลกร้อนทันไหม
อียิปต์พร้อมจัดการประชุม COP27 แล้ว ร่วมลงมือแก้ปัญหาสภาพอากาศโลก
• วาระสำคัญของการประชุม COP27
วาระสำคัญของการประชุม COP27 ในปีนี้เป็นการติดตามความคืบหน้าการวางแผนดำเนินการ ตามคำมั่นสัญญาในประชุม COP26 เมื่อปีที่แล้ว ที่ตกลงและให้คำมั่นสัญญากันว่า ภายในสิ้นปี 2022 โดย ประเทศต่างๆ จะต้องตีพิมพ์แผนการดำเนินการที่ทะเยอทะยานขึ้นเพื่อจะบรรลุเป้าหมายตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) และความตกลงปารีส (Paris Agreement – ความตกลงที่เกิดในการประชุม COP21 เมื่อปี 2015) ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้ประชาคมโลกต้องร่วมกันจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ให้ได้ภายใน ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643)
.
โดย ในการประชุมปีนี้ ในการประชุม COP27 จะมีการทบทวนวิธีการใช้ Paris Rulebook หรือคู่มือการดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินการตามความตกลงปารีส และการประชุมยังจะมีการเจรจาเกี่ยวกับบางประเด็นที่ยังไม่สามารถสรุปได้ในการประชุม COP26 ที่สกอตแลนด์ เมื่อปีที่แล้ว
การเจรจา COP27 จะรวมถึงการอภิปรายทางเทคนิค อย่างเช่น การระบุวิธีที่ประเทศต่างๆ ควรใช้วัดการปล่อยมลพิษในทางปฏิบัติ เพื่อให้มีความเท่าเทียมกันสำหรับทุกประเทศ โดย การอภิปรายทั้งหมดจะเป็นการปูทางไปสู่การทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) ในการประชุม COP28 ในปี 2023 ที่จะประเมินความคืบหน้าโดยรวมทั่วโลกเกี่ยวกับผลลัพธ์ความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย การปรับตัว และวิธีการดำเนินการตามข้อตกลงปารีส
ทั้งนี้ ไทย ประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) และความตกลงปารีส ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้ประชาคมโลกจะต้องร่วมกันจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียสในปี ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643) ได้จัดทำและปรับปรุงเอกสารยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (Long Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy, LT-LEDS) และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (National Determined Contribution ,NDC) เพื่อยกระดับเป้าหมายของไทย ดังนี้
ยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ฉบับปรับปรุง ซึ่งยังมีสาระสำคัญคงเดิม แต่แก้ไขในประเด็นที่สำคัญ เช่น
- เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด เดิม ปี 2030 (พ.ศ. 2573) เป็น ปี 2025 (พ.ศ. 2568) (เร็วขึ้น 5 ปี)
- เป็นกลางทางคาร์บอน เดิม ปี 2065 (พ.ศ. 2608) เป็น ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) (เร็วขึ้น 15 ปี)
- ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เดิม ปี 2100 (พ.ศ. 2643) เป็น ภายในปี 2065 (พ.ศ. 2608) (เร็วขึ้น 35 ปี)
ที่มา https://www.bbc.com/news/science-environment-63386814
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59363