ในการประชุม COP 27 ไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกอาเซียน ได้มี แถลงการณ์อาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย โดย ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนใน COP27 สาระสำคัญคือการดำเนินงานด้านพลังงานทดแทน รวมถึงเปลี่ยนผ่านด้านการเกษตรสู่ระบบอาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ
COP27 หรือ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 คือ เวทีการประชุมภาคีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นการประชุมที่จะมาหารือเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนที่ใหญ่ที่สุดของโลก กำลังจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-18 พฤศจิกายน 2022 ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ โดยในการประชุมครั้งนี้ ยังเป็นอีกหนึ่งเวทีที่ประเทศจากอาเซียน ซึ่งรวมถึงไทยด้วนนั้น จะได้แถลงการณ์ร่วมกัน รวมถึงว่า จะได้บอกข้อกังวล และ ข้อเรียกร้องต่างๆ ในประเด็นสิ่งแวดล้อมต่อนานาประเทศด้วย
ในปีที่แล้ว ปี 2021 ไทยและทั่วโลกได้แสดงความตระหนักปัญหาโลกร้อน ด้วยการประกาศเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นขั้นบันไดโดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ หรือ Net Zero เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วม ซึ่งไทยในฐานะภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
COP27 ใกล้เริ่ม greenpeace ขยับ ร่วมรณรงค์ ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ
ส่องรายชื่อ 7 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emission
สำหรับในปีนี้ 2022 นอกจาก ไทยจะให้ความสำคัญกับ COP 27 แล้ว ในหลากหลายประเด็นแล้ว ไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกภูมิภาคอาเซียนจะยังไป นำเสนอในที่ประชุมผ่าน ร่างแถลงการณ์อาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (ASEAN joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP27) ด้วย
โดย สาระสำคัญ ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนใน COP27 มีดังนี้
1. การแสดงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนตามกรอบCOP และ ความตกลงปารีส ภายใต้หลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างและคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ผ่านการจัดส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการคณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
- การดำเนินงานด้านพลังงานทดแทน รวมถึง การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ
- การเงินที่ยั่งยืน
- การจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change
- การเปลี่ยนผ่านด้านการเกษตรสู่ระบบอาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศ
2. ประเด็นที่อาเซียนให้ความสำคัญและห่วงกังวล
- การเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก
- ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
- การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม และ เร่งทำตามเป้าหมาย COP26 ให้ได้
3. ประเด็นอาเซียนที่ต้องการเรียกร้อง ใน COP27
- การยกระดับการดำเนินงานทั้งด้านการลดก๊าซเรือนกระจก
- ปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การสนับสนุนด้านการเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
- การเสริมศักยภาพให้กับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการเร่งรัดกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงการสนับสนุนของกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/60588
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1035713