Flipflopi แนวคิดนี้เกิดขึ้นกับ Ben Morison ผู้ก่อตั้งโครงการในปี 2015 หลังจากที่เขาต้องเจอกับขยะพลาสติกในทะเลจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรองเท้าแตะ ที่ทิ้งเกลื่อนชายหาดอันสวยงามที่เขารัก จนเกิดเป็นไอเดียนี้ขึ้น
เบ็นตัดสินใจค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้พลาสติกทดแทนทางเลือก และตระหนักได้อย่างรวดเร็วว่าการสร้างเรือจากขยะพลาสติกนี้จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมงานฝีมือแบบดั้งเดิมที่มีอายุหลายศตวรรษของคนในระแวกนี้ ซึ่งการสร้างโดว์ (Dhow) หรือเรือ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของวัฒนธรรมสวาฮิลีในภูมิภาคชายฝั่ง
Ben Morison ได้เข้าร่วมกองกำลังกับอาลี สคานดา ผู้สร้างเรือใบที่มีชื่อเสียงจากลามูในเคนยา และพวกเขาร่วมกันสร้างเรือใบแบบดั้งเดิมจากขยะพลาสติกทั้งหมด โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างตัวอย่างที่ดีว่าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
การผสมผสานการต่อเรือแบบดั้งเดิมในขณะเดียวกันก็เป็นผู้บุกเบิกเทคนิคใหม่ๆ อาลีและทีมงานของเขาสามารถประดิษฐ์ส่วนประกอบต่างๆ ของโดว์ได้
ขยะพลาสติก 10 ตัน ที่เก็บมาจากชายฝั่งเคนยา ถูกหลอม ขึ้นรูป และแกะสลักโดยทีมงาน เช่นเดียวกับที่ทำกับไม้ รองเท้าแตะ 30,000 ข้าง และสิ่งของที่พบได้บ่อยที่สุดระหว่างการทำความสะอาดชายหาด
โดว์หรือเรือนี้มีชื่อว่า “The Flipflopi” มีขนาดยาวกว่าเก้าเมตรและหนัก 7 ตัน ซึ่งเป็นโดว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยใช้เวลาสร้างถึง 3 ปี
พวกเขาเริ่มแล่นออกจากเกาะ Lamu ประเทศเคนยา ไปยัง Zanzibar ประเทศแทนซาเนีย ระยะทางไกลกว่า 500 กิโลเมตร ซึ่งจะแวะจอดเพื่อทำกิจกรรมกับชุมชน โรงเรียน เจ้าหน้าที่รัฐ รณรงค์ในการช่วยเก็บขยะบริเวณชายหาดและสร้างให้คนรับรู้ถึงปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเล
มลภาวะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ในระดับท้องถิ่น หากไม่ได้รับการจัดการในระดับภูมิภาคและระดับสากล
ข้อมูลจาก Statista และ condorferries.co.uk ได้เผยสถิติของขยะในทะเลและสถิติการตายของสัตว์น้ำในแต่ละปี ว่าพวกมันต้องเจอกับมลพิษอะไรบ้าง ในช่วงระหว่างปี 2020-2021 จากการ Big Cleaning Ocean ปี 2018 และการบันทึกเพิ่มเติมในปีถัดมาพบว่า
ในแต่ละปีสัตว์น้ำกว่า 100 ล้านชีวิตต้องจบชีวิตอย่างเดียวดาย โดยมีสาเหตุมาจากขยะพลาสติก
สัตว์น้ำ 100,000 ชีวิตตายจากการถูกพลาสติกพันหรือห่อหุ้มจนขาดอากาศหายใจ
พบสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 1 ใน 3 สายพันธุ์ ติดอยู่ในขยะพลาสติก พร้อมกับปลาในแปซิฟิกเหนือกินพลาสติกประมาณ 12,000-14,000 ตันทุกปี
ในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เราได้ผลิตพลาสติกมากกว่าศตวรรษที่ผ่านมา โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีมลพิษที่มาจากปลามากกว่าขยะพลาสติกที่เราทิ้งไป
และยังมีปัญหาต่างๆอีกมากมายที่เกิดจากขยะในท้องทะเลทั่วโลก
ในประเทศไทย Thailand Development Research Institute (TDRI) ได้สำรวจและบันทึกสถิติขยะที่พบในทะเลจากการ Big Cleaning ในปี 2020 ซึ่งเป็นที่น่าตกใจว่าประเทศของเรามีขยะอย่างน้อยประมาณ 1.03 ตันถูกทิ้งในทะเลทุกปี
ประเภทขยะที่พบมากที่สุดคือ เศษพลาสติก 12%, กล่องโฟม 10%, พลาสติกห่ออาหาร (Food wrappers) 8%, ถุงพลาสติก 8% ขวดแก้ว 7%, ขวดพลาสติก 7% และ หลอด 5%
โดยในทุกปี ประเทศไทยจะผลิตขยะพลาสติกได้ประมาณ 27.8 ล้านตันต่อปี และประมาณ 7.19% หรือประมาณ 2 ล้านตันมาจากภาคครัวเรือนหรือชุมชน ซึ่งไหลมาตามแม่น้ำสู่ทะเล
พลาสติกเริ่มถูกคิดค้นขึ้นและถูกใช้งานเมื่อปี 1907 และเริ่มกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายในช่วงระหว่างปี 1940 -1950 น่าเสียดายสำหรับสิ่งแวดล้อมของเราโดยเฉพาะมหาสมุทร ที่ขยะพลาสติกทุกชิ้นที่เราเคยสร้างอยู่คงอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและวนเวียนอยู่ในโลกใบนี้ อย่างที่บอกไปว่าพลาสติกมีอายุอย่างน้อย 100 ปี แต่นี่ยังผ่านมาไม่ถึง 100 ปีเลย แสดงว่าพลาสติกรุ่นแรกยังคงวนเวียนอยู่บนโลกใบนี้ และมันก็ยังคงมีการผลิตรุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ หลากหลายรูปแบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
ที่มาข้อมูล
https://www.statista.com/statistics/726724/weight-of-most-common-items-found-in-global-oceans/
https://tdri.or.th/en/2021/06/disparity-worsens-ocean-pollution/
https://www.condorferries.co.uk/marine-ocean-pollution-statistics-facts
https://www.statista.com/chart/12211/the-countries-polluting-the-oceans-the-most/
https://www.nationalgeographic.com/environment/article/plastic-pollution