ไมโครพลาสติก ภัยร้ายที่มองไม่เห็น งานวิจัยหลายชิ้นเริ่มยืนยันการค้นพบไมโครพลาสติกในร่างกายมนุษย์ เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ไมโครพลาสติกคืออะไร อันตรายมากไหมนะ?
อาหารทุกมื้อที่ทานไป มั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดสารพิษ 100% ทุกวันนี้นักวิทย์เริ่มเผยแพร่งานวิจัยที่บ่งชี้ว่ามนุษย์กำลังบริโภคไมโครพลาสติกเข้าไปอย่างไม่รู้ตัว เพราะมีการพบไมโครพลาสติกในเลือดและในปอดมนุษย์แล้ว ว่าแต่มันสำคัญอย่างไร อันตรายมากไหม และไมโครพลาสติกคืออะไร?
ปัญหาใหญ่ที่กำลังคืบคลานเข้ามา แต่หลายคนมองว่า ไม่เป็นไรหรอกมนุษย์ยังไงก็ต้องตายอยู่ดี มาถึงขนาดนี้ละ แต่นักวิจัยไม่ได้มองแบบนั้น เพราะการสะสมของไมโครพลาสติกในร่างกายมาก ๆ แม้จะยังไม่ทราบผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่มีงานวิจัยที่คาดการณ์ไว้ว่า ไมโครพลาสติกอาจส่งผละกระทบต่อร่างกายในระยะยาวได้ แต่ก่อนจะไปดูผลกระทบ ต้องขออธิบายก่อนว่าไมโครพลาสติกคืออะไร
ไมโครพลาสติกคืออะไร?
ไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก เป็นชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งยังไม่มีการกำหนดเจาะจงว่าต้องเป็นพลาสติกประเภทใด แต่มันถูกตั้งเกณฑ์การจำแนกไว้ว่า มันคือพลาสติกขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 มิลลิเมตร
พวกมันมาจากไหน?
มีแหล่งกำเนิด 2 แหล่งด้วยกันคือ เกิดจากการผลิตไมโครและนาโนพลาสติกโดยตรงจากโรงงาน เช่น ไมโครบีดส์ในโฟมล้างหน้า เครื่องสำอาง สครับขัดผิว หรือยาสีฟัน เป็นต้น แหล่งที่ 2 คือ มาจากพลาสติกขนาดใหญ่ที่แตกหักหรือผุกร่อนจากคลื่นแสงอาทิตย์หรือแรงบีบอัด จนกลายเป็นชิ้นเล็กๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Luminox BEAR GRYLLS SURVIVAL MASTER ผลิตจากขยะพลาสติกในทะเลไทย 100%
ผู้เชี่ยวชาญกังวล มลพิษพลาสติกอาจทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่มีบุตรยาก
งานวิจัยพบ มนุษย์อาจบริโภคพลาสติก 5 กรัมต่อสัปดาห์โดยไม่รู้ตัว
อันตรายมากรึเปล่า?
แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราโดยตรงแน่นอน แม้อาจจะดูเหมือนปริมาณไม่มาก แต่ถ้าสะสมไปเรื่อย ๆ ก็จะเหมือนกับการสะสมพิษในร่างกายไปเรื่อย ๆ ด้วยนั่นเอง แม้ว่าปัจจุบันยังไม่พบอันตรายในมนุษย์เท่าที่ควรในวันนี้ แต่คาดว่าอาจส่งผลต่อมนุษย์ในระยะยาวในวันข้างหน้าได้แน่นอน เช่น รบกวนฮอร์โมนในร่างกาย เด็กมีพัฒนาการช้าลง ขัดขวางการทำงานของเส้นเลือด อาจเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น
ซึ่งตรงนี้เองที่อันตราย เพราะหลายคนยังมองว่า มันยังไม่ส่งผลต่อเราหรอก มันก็อยู่ในปลา ในผักผลไม้ ในอาหารที่เราบริโภคทุกวัน หรือแม้กระทั่งน้ำดื่ม แต่ในความเป็นจริงเพราะเรายังไม่ทราบผลลัพธ์ เราจึงไม่อาจคาดเดาได้ว่ามันจะทำอะไรต่อร่างกายเราบ้าง และถ้าเดี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม สิ่งที่เราควรเป็นห่วงคือพัฒนาของลูกหลานของเราในอนาคตและความปลอดภัยของพวกเค้า
มันแฝงอยู่ที่ไหนบ้าง?
ข้อมูลจากกรีนพีซ ระบุว่า มีนักวิจัยจาก University of Catania ในอิตาลี ค้นพบเศษชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กในผักผลไม้บางชนิด เช่น แครอท ผักกาดหอม แอปเปิ้ลและลูกแพร์ โดยเฉลี่ยแล้ว ผักผลไม้เหล่านี้พบไมโครพลาสติกในปริมาณเฉลี่ยมากกว่า 100,000 ชิ้น ต่อผักผลไม้ 1 กรัมเลยทีเดียว
ไมโครพลาสติกเหล่านี้มีความสามารถในการแทรกซึมเข้าไปในรากของพืชผลต่างๆได้ จึงทำให้เป็นแหล่งสะสมไมโครพลาสติกจากน้ำและดินที่ปนเปื้อนอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังพบในเกลือและในสัตว์น้ำที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ด้วย
จะเห็นได้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้ได้แทรกซึมไปในห่วงโซ่อาหารของเราแล้ว มันชิ้นเล็กมากจนสามารถเป็นอาหารของแพลงก์ตอนและหอย ปลาไปกิน มนุษย์ไปกิน กลายเป็นห่วงโซ่อาหารแบบนี้ไปเรื่อยๆ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง เลิกเชื่อได้เลยว่าอาหารที่เรารับประทานอยู่นั้นปลอดสารพิษ 100%
แก้ไขอย่างไรได้บ้าง?
การหยุดบริโภคอาหารที่มีคาดว่ามีไมโครพลาสติก เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นเราต้องแก้กันที่ต้นเหตุ ด้วยการลดการใช้พลาสติกที่ใช้งานครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพราะจุดกำเนิดของไมโครพลาสติกเหล่านี้คือการผลิตที่ยังคงถูกส่งออกมาสู่โลกมนุษย์เรื่อยๆทุกวัน วันละหลายล้านตัน
ทุกคนสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ภาคประชาชนลดการใช้พลาสติก ภาคธุรกิจและเอกชนรณรงค์หาบรรจุภัณฑ์ทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และภาครัฐเข้มงวดทางกฎหมายและขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการทำลายพลาสติกให้ปลอดภัย หากทำแบบนี้ได้ทีละนิดๆ เราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสุขภาพของตนเองและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันได้
ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่ Sprinnews อยากนำเสนอ
นอกจากนี้เรามีผลิตภัณฑ์ดีๆอันเกี่ยวข้องกับการกำจัดพลาสติกและลดปริมาณไมโครพลาสติดที่ไม่จำเป็นลงได้
นาฬิกา Luminox ร่วมมือกับ #Tide องค์กรพิทักษ์ทะเลด้วยการเก็บขยะจากขยะในทะเลนำมาแปรรูป ทั้งนี้ Luminox ได้ออกนาฬิการุ่นใหม่ที่ผลิตจากขยะพลาสติกที่เก็บได้ในท้องทะเลไทย 100% มาทำเป็นนาฬิกาสุดเท่ และมีแนวคิดที่ว่า ตระหนักเมื่อสวมใส่
นาฬิกาลูมิน็อกซ์ แบร์ กริลส์ เซอร์ไววัล อีโค มาสเตอร์ #TIDE โครโนกราฟ 3740 ที่ผลิตมาจากขยะพลาสติกอัพไซเคิล นาฬิกาสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ มีเป้าหมายผลิตนาฬิกาที่ทำมาจากขยะพลาสติก เพื่อเน้นย้ำแนวทางยั่งยืนเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของมอนเดนน์ ที่ต้องการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ พร้อมจัดทริปรักษ์โลก ร่วมกันปล่อยเต่าและพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลไทยที่เรากำลังประสบกันอยู่
อ่านรายละเอียดต่อได้ที่ >>> Luminox BEAR GRYLLS SURVIVAL MASTER ผลิตจากขยะพลาสติกในทะเลไทย 100%
ที่มาข้อมูล
https://www.greenpeace.org/thailand/story/17717/plastic-3-everyday-food-that-contain-microplastic/