วันงดสูบบุหรี่โลก ชวนส่องกระบวนการผลิตยาสูบ นอกจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้วยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย รู้หรือไม่ ก้นบุหรี่ คือขยะที่พบในทะเลมากที่สุดด้วยนะ
รู้หรือเปล่า นอกจากบุหรี่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลเสียต่อระบบนิเวศด้วย วันงดสูบบุหรี่โลกปีนี้ Springnews ชวนส่องกระบวนการผลิตยาสูบทั่วโลกว่าเราใช้ทรัพยากรอะไรเท่าไหร่บ้าง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านไหน แล้วเราแก้ไขเรื่องนี้อย่างไรได้บ้าง
ทุกวันนี้ บุหรี่กลายเป็นสินค้ายอดนิยมในกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ชอบการสูบดมควันจากใบยาสูบ รวมไปถึงมีการพัฒนาไปสู่พอดไฟฟ้า ที่ทำให้การสูบดมควันเหล่านี้ไม่น่าเบื่อ ต้องบอกก่อนเลยว่าผู้เขียนเองไม่ได้เป็นคนสูบบุหรี่แต่อย่างใด จึงอาจเข้าไม่ถึงความสุขและความต้องการของผู้สูบบุหรี่ ซึ่งเรื่องนี้เราจะไม่พูดถึงความนิยมชมชอบส่วนบุคคล แต่เราจะมาพูดบนฐานความจริงและงานวิจัยต่าง ๆ ของผลเสียของยาสูบที่มันมีอยู่จริง
‘นิโคติน ในบุหรี่อาจจะสร้างความสบายใจชั่วคราวให้กับผู้สูบ แต่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม’
อย่างที่หลายคนทราบกันดี ในเรื่องของผลกระทบต่อสุขภาพ หากสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันหลายปีจะส่งผลอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ถุงลมโป่งพอง หอบหืด มะเร็งปอด และมะเร็งในอวัยวะต่างเช่น กล่องเสียง ลำคอ หลอด อาหารและกระเพาะปัสสาวะ ไปจนถึงการเสียชีวิต เป็นต้น ไม่เพียงส่งผลต่อตัวผู้สูบเท่านั้น ควันบุหรี่ยังเป็นพิษต่อคนรอบข้างที่ไม่สูบอีกด้วย ไม่ใช่เพียงแค่สร้างความรำคาญเท่านั้น แต่อาจส่งผลต่อความขัดแย้งภายในครอบครัวหรือคนรอบข้างได้ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
31 พ.ค. วันงดสูบบุหรี่โลก ชวนดูโฆษณาจากยุค 90s ซึ้ง เศร้า และกลายเป็นภาพจำ
เด็กที่เกิดหลังปี 2008 จะไม่ได้สูบบุหรี่อีกต่อไป หลังนิวซีแลนด์ออกกฎเข้ม
บุหรี่ เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมอย่างที่คุณคาดไม่ถึงเลยแหละ
นอกจากผลเสียด้านสุขภาพที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว แต่มีใครเคยนึกถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบ้างหรือไม่ คุณรู้หรือเปล่าว่า ประเภทขยะในทะเลที่เยอะมากที่สุด คือ ‘ก้นบุหรี่’ แน่นอนแหละ เพราะคำว่าชิ้นเล็ก ๆ เหล่านี้ เลยไม่มีใครคาดคิดเลยว่ามันจะเป็นขยะที่ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลมากที่สุดได้ถึงเพียงนี้
รายงานการวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบของบุหรี่และการสูบบุหรี่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง อย่างที่บอกไปข้างต้น ผู้คนทั่วโลกกว่าครึ่งสูบบุหรี่ นั่นหมายความว่า อุตสาหกรรมของบุหรี่นั้นได้เติบโตอย่างไม่หยุดหย่อนในหลายประเทศ กระบวนการผลิตบุหรี่หรือยาสูบเหล่านี้ มักมีต้นทุนเสมอ และต้นทุนเหล่านั้นคือ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นฐานของทุกกระบวนการผลิตในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก
ฟาร์มยาสูบ จะสามารถดำเนินการได้ ต้องเกิดการตัดไม้ทำลายป่า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การทิ้งหรือการรั่วไหลของของเสียสู่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การใช้เครื่องจักรและส่วนประกอบในกระบวนการผลิตมากมาย เช่น เหล็ก กระดาษ น้ำ เป็นต้น ปลายทางของกระบวนการผลิตทั้งหมดรวมไปถึงหลังจากการบริโภคสินค้าแล้ว ก้นบุหรี่ที่ไม่ใช้แล้วนั้นจะไปจบลงที่ก้นทะเล หรือขอเรียกว่า 'จากก้นบุหรี่สู่ก้นทะเล'
จีน ประเทศผู้ผลิตยาสูบรายใหญ่
บริษัทผลิตยาสูบในประเทศจีนมีการผลิตบุหรี่กว่า 40% ของโลก และบริษัทเหล่านี้ไม่ได้รายงานข้อมูลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีกฎหมายตายตัวในการตรวจสอบเรื่องนี้ หรือมีการหลีกเลี่ยงเยอะมาก นั่นจึงทำให้งานวิจัยในการเก็บข้อมูลเรื่องนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น
การผลิตของจีนกว่า 40% นี้หมายความว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของยาสูบเกือบครึ่งหนึ่งของโลก ไม่ได้รับการพิจารณาและตรวจสอบ ตามรายงานความยั่งยืนประจำปี 2020 British American Tobacco (BAT) ระบุว่า ปัจจัยสำคัญของการช่วยโลกคือเราจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ให้ได้ภายในปี 2025 แต่ในทางกลับกัน จำนวนกว่าครึ่งข้างต้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ เราจะสามารถทำตามเป้าหมายดังกล่าวได้อย่างไร
นอกจากนี้ไม่ใช่เพียงแค่กระบวนการผลิตเท่านั้นที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ ยังต้องมองไปถึง การซื้อสินค้า การกระจายสินค้า และการบริการขนส่งสินค้าที่กระจายอยู่ทั่วโลก หลายบริษัทยาสูบมักพยายามหลีกเลี่ยงการเผยตัวเลขข้อมูลการปล่อยมลพิษสำหรับเกษตรกรที่ทำสัญญากับบุคคลที่ 3 หรือพ่อค้าคนกลาง
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้ตั้งคำถามว่า บริษัทเหล่านี้มีรายได้ต่อปีจำนวนมหาศาล จะเป็นไปไม่ได้เลยเหรอที่จะมีรายได้มากพอที่จะเจียดมารับผิดชอบทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ไปด้วย แม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่จะลดลงในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศร่ำรวย แต่อัตราการสูบบุหรี่ยังคงสูงขึ้นในหลายประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ หากถามว่าอุตสาหกรรมยาสูบเหล่านี้ใช้ทรัพยากรอะไรไปเท่าไหร่บ้าง ก็ลองดูจากรูปภาพกราฟฟิกด้านล่างนี้ได้เลย
เพื่อประเมินปริมาณบุหรี่ทั่วโลก ห่วงโซ่อุปทานและการบริโภค และเพื่อให้มั่นใจว่ามีความถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลดังกล่าวจะรวบรวมข้อมูลที่เผยแพร่ที่ตั้งบนสมมติฐานที่โปร่งใส ตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากล ผลการวิจัยรายงานยอดรวมยาสูบประจำปีว่า มีการสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 84 ล้านตัน ซึ่งประเทศเปรูและอิสราเอลมีระดับการปล่อยมลพิษใกล้เคียงกัน ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำมันล้านตัน (เชื้อเพลิงฟอสซิล) ในแต่ละปี และจำนวนของการการใช้น้ำก็เทียบเท่ากับปริมาณการใช้น้ำประปาต่อปีของประชากรทั่วทั้งสหราชอาณาจักร
ฟาร์มยาสูบมีที่ไหนบ้าง เยอะไหม?
การทำฟาร์มยาสูบเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นใน 125 ประเทศทั่วโลก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศบราซิล อินเดียและจีน จากการประเมินเผยให้เห็นว่า กว่า 90% ของการเพาะปลูกและการผลิตยาสูบได้ย้ายไปปลูกยังประเทศที่มีรายได้ต่ำเพื่อลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงกฎระเบียบอันยุ่งยากของรัฐบาลเพื่อประหยัดเงิน
ผลกระทบทางการเกษตรของยาสูบ
เนื่องจากการปลูกยาสูบในพื้นที่จะปลูกลงดิน แถวยังเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อีกทั้งอุตสาหกรรมยาสูบมีการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงในปริมาณมาก ก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ทุก ๆ ปีจะมีรายงานพบว่ามีการใช้สารพิษจากยาฆ่าแมลงประมาณ 1-5 ล้านครั้ง และมีรายงานการเสียชีวิตของเกษตรกรประมาณ 11,000 คนทั่วโลก สำหรับการเกษตรยาสูบ การชลประทานและการใช้ปุ๋ย ยังสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า 70% ในหมวดผลกระทบทางการเกษตร
ในด้านของพื้นที่ป่าไม้
ปัจจุบันมีการใช้ที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ 5.3 ล้านเฮกตาร์ ในการปลูกยาสูบอย่างเดียว มีสถิติบ่งชี้ว่า ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา เราสูญเสียป่าไม้ไปประมาณ 1.5 พันล้านเฮกตาร์ทั่วโลก และมีส่วนทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 20% ต่อปี
นอกจากนี้การปลูกยาสูบยังเป็นภัยต่อความมั่นคงด้านอาหารด้วย การปลูกยาสูบทำให้เกษตรกรเปลี่ยนพื้นที่จากเดิมทำการเกษตรเพื่อปลูกพืชผักที่เป็นอาหาร สู่การปลูกยาสูบแทน นั่นจึงทำให้เราลดจำนวนการผลิตอาหารลงไป
ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ฝ่ายต่าง ๆ พยายามคำนึงถึงความคุ้มครองตามสมควรด้านสิ่งแวดล้อมและพยายามส่งเสริมให้การปลูกยาสูบเป็นเพียงแค่ตัวเลือกทางการเกษตรเท่านั้น และผลการวิจัยยังแน่ชัดในเรื่องของการปลูกยาสูบนั้นเป็นการปลูกที่ไม่ยั่งยืน ส่งผลต่อ ความเสื่อมโทรมของดิน และการตัดไม้ทำลายป่า มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพด้วย
มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
ที่มาข้อมูล
https://ash.org.uk/wp-content/uploads/2019/10/Tobacco-Environment.pdf
https://www.springnews.co.th/spring-life/819924
https://www.imperial.ac.uk/news/188406/cigarettes-have-significant-impact-environment-just/
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=28&chap=6&page=t28-6-infodetail05.html