ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นที่ถูกพูดถึงบนเวทีโลก ขนาดที่ต้องจัดเวทีถกว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี ใน COP26 โดยต้นตอของปัญหานี้มาจากการที่มีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
♪ เสมือนท้องฟ้าวิกฤตแปรปรวนทันใด อังกอร์ ♫
เนื้อเพลงที่หลายคนคุ้นเคยจากเพลงประกอบละครชื่อดัง แต่สิ่งนี้ไม่จำเป็นรอให้เปลี่ยนร่างกลายเป็นเสือ แต่กำลังเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกและพบเห็นได้บ่อยมากยิ่งขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เป็นประเด็นพูดถึงในการประชุม COP26 (United Nations Climate Change Conference) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ปี 2021
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ว่านี้ว่าด้วยเรื่องของโลกร้อน (Global Warming) ที่อุณหภูมิตอนนี้สูงขึ้นเฉลี่ยทั่วโลกกว่า 1.1 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
อีกหนึ่งประเด็นที่ไม่พูดถึงไม่ได้หากพูดถึงภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือเรื่องของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas: GHGs) ที่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิโลกอุ่นขึ้น ประกอบไปด้วย ไอน้ำ (H2O) , คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , มีเทน (CH4) , ไนตรัสออกไซด์ (N2O) , ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) , เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) , ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) และ ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3)
ในปี ๆ หนึ่ง ทั่วโลกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 5 หมื่นล้านตัน/ปี แบ่งเป็น การคมนาคม 29% , การผลิตพลังงาน (ไฟฟ้า) 25% , อุตสาหกรรม 23% , ภาคครัวเรือน 13% และ การเกษตรกรรม 10%
โดยจะเห็นได้ว่าก๊าซเรือนกระจกมาจากเรื่องของการคมนาคมมากที่สุด จึงไม่แปลกใจที่ทั่วโลกต่างพยายามเร่งพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า
แต่แน่นอนว่ารถยนต์ไฟฟ้าก็อาศัยพลังงานไฟฟ้าที่เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเป็นลำดับสอง ทำให้มีการพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนเกิดขึ้น อาทิ โซลาร์เซลล์ , กังหันลม , เขื่อน ฯลฯ เพื่อให้เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
Top 10 ประเทศปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในปี 2020
ในขณะที่ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ 417 ล้านตัน/ปี ข้อมูลจากปี 2016
ในการประชุม COP26 ที่พยายามหาทางออกจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ได้ข้อสรุปออกมา 7 ข้อดังนี้
โดย 6 ใน 7 ข้อล้วนเกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจกไม่ทางตรงก็ทางอ้อม คือ ลด/ละ/เลิก การใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกำจัดก๊าซเรือนกระจก
ข้อมูลจาก : Our World in Data