SHORT CUT
Amazon ร่วมประมูล TikTok ซึ่งมีทั้งผู้ก่อตั้ง OnlyFans, และกลุ่มทุนยักษ์อย่าง Blackstone, Andreessen Horowitz ที่ผนึกกำลังกับ Oracle ขณะที่เส้นตายบังคับขายวันเสาร์นี้
TikTok กำลังหาทางออกให้กับธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ก่อนถึงเส้นตายวันเสาร์ที่ 5 เมษายน
ซึ่งประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการขยายเวลาจากกฎหมายปี 2024 ที่บังคับให้ ByteDance บริษัทแม่สัญชาติจีน ต้องขายกิจการหรือถอนการลงทุน
เพื่อแก้ไขข้อกังวลด้านความมั่นคงแห่งชาติที่ว่า รัฐบาลจีนอาจเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ชาวอเมริกันหรือใช้แอปเป็นเครื่องมือสร้างอิทธิพล ซึ่งทาง TikTok และ ByteDance ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้มาโดยตลอด
Amazon ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซยื่นข้อเสนอผ่านจดหมายถึง วุฒิสมาชิก เจดี แวนซ์ และ รมว.พาณิชย์ โฮเวิร์ด ลัทนิค
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวหลายแห่ง รวมถึงรายงานจาก The New York Times ประเมินว่าข้อเสนอนี้ "ไม่น่าจะถูกพิจารณาอย่างจริงจัง" เนื่องจากเป็นการยื่นในนาทีสุดท้าย
แม้ข่าวนี้จะส่งผลให้หุ้น Amazon ปรับตัวสูงขึ้นราว 2% ก็ตาม การเคลื่อนไหวนี้ยังตอกย้ำความพยายามในอดีตของ Amazon ที่จะสร้างเครือข่ายโซเชียลของตนเอง เช่น การซื้อ Twitch และ Goodreads หรือการพัฒนาฟีด Inspire ที่ปิดตัวไปแล้ว
กลุ่มผู้ก่อตั้ง OnlyFans และทิม สโตคลีย์ (Tim Stokely) ได้นำสตาร์ทอัพใหม่ของเขา Zoop ร่วมมือกับ มูลนิธิคริปโตเคอร์เรนซี ยื่นแผนประมูล TikTok ในช่วงท้าย ตามรายงานจาก Reuters
Reuters รายงานว่า บริษัทจัดการกองทุนนอกตลาดรายใหญ่อย่าง Blackstone กำลังหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่ชาวจีนกลุ่มเดิมของ ByteDance เพื่อระดมทุนเข้าซื้อกิจการ
Financial Times รายงานว่า บริษัทเงินร่วมลงทุนชั้นนำ Andreessen Horowitz กำลังเจรจาเพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มที่นำโดย Oracle และนักลงทุนอเมริกันรายอื่นๆ เพื่อเสนอซื้อหุ้นส่วนที่เป็นของจีนใน TikTok ออกมา
ซึ่งรวมถึงกลุ่มของ อเล็กซิส โอฮาเนียน (ผู้ร่วมก่อตั้ง Reddit) ที่จับมือกับ แฟรงก์ แม็กคอร์ต, สตาร์ทอัพ AI อย่าง Perplexity AI, และ สตีเวน มนูชิน อดีต รมว.คลังสหรัฐฯ ก็ได้เข้ามาร่วมวงประมูลครั้งนี้ด้วย
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นขณะที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งเคยกล่าวว่ากำลังพูดคุยกับ 4 กลุ่มทุน และเป็นผู้กุมอำนาจตัดสินใจสุดท้าย มีกำหนดหารือกับทีมงานเพื่อพิจารณาทางเลือกต่างๆ
ทรัมป์ ยังคงเปิดทางสำหรับการขยายเส้นตายหากจำเป็น ขณะที่จุดยืนของเขาต่อ TikTok ก็เปลี่ยนไป จากที่เคยพยายามแบนในสมัยแรก มาสู่ท่าทีที่ต้องการ "ปกป้อง TikTok"
ในส่วนของโครงสร้างดีลที่เป็นไปได้นั้น มีรายงานว่าการเจรจาที่นำโดยทำเนียบขาว มุ่งเน้นไปที่การแยกธุรกิจในสหรัฐฯ ออกมาเป็นนิติบุคคลใหม่ และจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของฝ่ายจีนให้ต่ำกว่า 20% ตามที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ตาม ByteDance ยังคงสงวนท่าที และไม่ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการว่ายินดีจะขายกิจการหรือไม่
เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ทุกสายตาจึงจับจ้องไปที่ทำเนียบขาว และการตัดสินใจของประธานาธิบดีทรัมป์ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ซึ่งจะเป็นตัวชี้ขาดอนาคตของ TikTok