SHORT CUT
การพัฒนา “AI” ของไทย ยังตามหลังหลายประเทศ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย อินเดีย ที่ทุ่มแสนล้านบาทปั้นบุคลากรพัฒนา “AI” แนะไทยต้องเริ่มบางอย่าง ไม่ใช่แค่ตื่นตัว
ต้องยอมรับว่าโลกของเราทุกวันนี้หมุนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่หลายประเทศบนโลกใบนี้ก้าวล้ำมากๆ โดยเชื่อกันว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนโลกได้ และสิ่งเหล่านั้นจะช่วยเศรษฐกิจ ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะโลกใหม่จะถูกขับเคลื่อนด้วย AI ทุก เพราะ…อุตสาหกรรม ทุกธุรกิจ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เศรษฐกิจแห่งอนาคตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ในงาน AI Revolution 2025: A New Paradigm of New World Economy จัดโดย กรุงเทพธุรกิจ งานที่จะฉายภาพเศรษฐกิจยุคใหม่ที่มี AI เป็นหัวใจสำคัญที่สุด อีกทั้งยังเป็นงานที่รวมสุดยอดผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและระดับประเทศ มาร่วมเปิดวิสัยทัศน์ชัดๆ ว่าโลกไปถึงไหน แล้วไทยพัฒนา AI ไปถึงจุดไหนแล้ว โดยวิทยากรท่านแรกที่จะมาเปิดมุมมองเรื่องนี้ คือ ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยเด็กมีความสนใจเรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์น้อยลง ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาบุคลากรที่จะเข้าพัฒนา “AI” ของประเทศในอนาคตอันใกล้
ซึ่งแต่ต่างจาะประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม มาเลเซีย รวมถึงอินเดีย ที่ได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลในการพัฒนาบุคลากรที่จะเข้ามาพัฒนา “AI” ให้กับประเทศ ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่สูงถึง 1 % ของจีดีพีประเทศ หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยเฉพาะมาเลเซียปัจจุบันมีบุคลากรที่พัฒนา AI ได้เก่งระดับโลก ซึ่งการพัฒนาบุคลากรจะต้องเริ่มตั้งแต่อนุบาล และประถม เป็นต้นมา บางครั้งเป็นที่จะต้องดึงต่างชาติเข้ามาร่วมพัฒนา และใช้เรื่องของการลดหย่อนภาษีเป็นแรงจูงใจ
“ประเทศอื่นเขามีการตั้งเป้าว่าตั้งเป้าจะผลิตคนเท่าไหร่ พร้อมทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาล และมีการเริ่มตั้งแต่ปั้นเด็ก ไทยควรเริ่มต้นได้แล้ว ไม่ใช่แค่การตื่นตัว แต่ต้องเริ่มต้นทำบางสิ่งบางอย่างได้แล้ว เราจะช้าไปกว่านี้ไม่ได้ ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าเด็กไทยเรียนวิทย์ คณิตน้อยลง อาจทำให้บ้านเราขาดแคลนบุคลากรที่จะเข้ามาพัฒนา AI ในอนาคตได้ เราต้องเริ่มและเปลี่ยนมายเซ็ท และวางแผน มองทะลุวาทกรรมต่างๆให้ได้ก่อน ถ้าเชื่อมั่นเราต้องทำได้”
อย่างไรก็ตามจุดยืนของไทยตอนนี้คือ เราจะอยู่ในจุดที่เป็นผู้ใช้แบบฉลาดโดยมีชาติมหาอำนาจเป็นผู้ผลิต หรือเป็นผู้ผลิต AI เองแบบฉลาด ประเด็นนี้ก็ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของไทยว่าจะนำพาประเทศไปอยู่จุดไหน แต่ประเด็นสำคัญ คือ คนต้องใช้ AI ในการทำงานแบบชาญฉลาด ไทยอาจก็อปปี้ต่างประเทศที่สำเร็จแล้วมาเป็นไกด์ไลน์ก่อน ผลักดันให้เป็นผู้ใช้งาน AI คุณภาพได้
ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า หากมองดูหลายประเทศในโลกนี้มีหลายประเทศที่ใช้ AI แบบฉลาด ส่วนไทยก็กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้องค์กรธุรกิจ และอื่นๆ อบรมความรู้เรื่อง AI นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุ ในอนาคตอาจมีการอบรม AI แล้วสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 100 % จะทำให้หลายบริษัทเริ่มขยับตัวเอง เพื่อทางรอดของธุรกิจในอนาคต
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจในงานนี้ที่มีการพูดถึงเรื่องที่หลายคนกังวลใจว่า AI จะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์หรือไม่ก็คงอาจไม่ใช่เสีย 100% แต่ให้จับตามองว่า บุคลากรที่เก่งในการใช้ AI ในการลดต้นทุนของบริษัทได้ คนเก่งเหล่านี้จะออกไปทำเอง และเป็นคู่แข่งของบริษัทเดิมได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
IBM เผย 5 แนวทาง เปลี่ยน AI จากแนวคิดให้ขับเคลื่อนองค์กรได้ดีขึ้น
Flok Health : บริการคลินิกกายภาพบำบัด แก้อาการปวดหลังด้วย AI
'อังกฤษ' เตรียมปลด ขรก. 10,000 ราย หันมาใช้ AI แทน ตั้งเป้าลดงบ 15%