svasdssvasds

รวม 8 หนัง AI จากอดีตถึงปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวสะท้อน แนวคิด เหนือจินตนาการ

รวม 8 หนัง AI จากอดีตถึงปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวสะท้อน แนวคิด เหนือจินตนาการ

รวม 8 หนัง AI จากอดีตถึงปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวสะท้อน แนวคิด ปัญญาประดิษฐ์ ในจินตการ คนรักหนัง AI รักหนัง Sci-fi ต้องไม่พลาด

SHORT CUT

  • AI และปัญญาประดิษฐ์เป็นประเด็นที่แฝงเร้นอยู่ในภาพยนตร์ Sci-fi มานานนับศตวรรษ สะท้อนจินตนาการและความฝันของผู้กำกับชื่อดัง 
  • ตั้งแต่ Metropolis (1927) ที่บุกเบิกแนวคิดหุ่นยนต์ จนถึง Her (2013) ที่ตั้งคำถามถึงความรักระหว่างคนกับ AI ภาพยนตร์เหล่านี้ไม่เพียงสร้างความบันเทิง 
  • แต่ยังช่วยเราตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยีในอนาคตต่อไป 

รวม 8 หนัง AI จากอดีตถึงปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวสะท้อน แนวคิด ปัญญาประดิษฐ์ ในจินตการ คนรักหนัง AI รักหนัง Sci-fi ต้องไม่พลาด

2024 เป็นยุคที่ AI เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงมากและมีการพัฒนาที่ก้าวกระโดดแแบบสุดๆ แต่ทราบกันหรือไม่ว่า แนวคิดเรื่อง AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ถูกแฝงเร้นเป็น Soft Power พลังศิลปะมาเนิ่นนานเป็นหลัก 100 ปีแล้ว ด้วยซ้ำ


จินตนาการและความฝันของผู้สร้างภาพยนตร์หลายๆคน ที่สร้างสรรค์เทคโนโลยี AI เข้าไปในส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ Sci-fi ด้วยมุมมองที่แปลกใหม่ แล้วเพราะอะไรทำให้การพูดถึง AI ในยุคปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สนุกสนานและน่าตื่นเต้นมากขึ้นกว่าเดิม

SPRiNG Tech นำเสนอแนวคิด AI และเทคโนโลยีอื่นๆ ในมุมมองที่แปลกใหม่ ผ่านทางภาพยนตร์ ในยุคต่างๆ   ให้ทุกคนสามารถใช้เวลาว่างในการดื่มด่ำและอิ่มเอมไปกับจินตนาการของโลกอนาคตไปกับภาพยนตร์เหล่านี้กัน

“ฮอลลีวู้ด (Hollywood)” ศูนย์กลางภาพยนตร์โลก เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) ก่อนจะรวมกับลอสแอนเจลิสในปีค.ศ.1910 (พ.ศ.2453)

โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอนในฮอลลีวู้ด คือภาพยนตร์ในปีค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) เรื่อง “The Count of Monte Cristo” ถึงแม้ว่าโลเคชั่นในการถ่ายทำส่วนใหญ่จะไม่ใช่ที่ฮอลลีวู้ดก็ตาม

Metropolis (1927)  

ส่วนภาพยนตร์ที่พูดถึง Sci-fi หรือ AI ที่โดดเด่นในยุคแรกๆ ที่น่าพูดถึงก็คือ ภาพยนตร์ Metropolis (1927)  ของ ผู้กำกับ  Fritz Lang 

ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นภาพยนตร์เงียบแนวไซไฟที่ถือเป็นผลงานบุกเบิกของวงการภาพยนตร์และหนึ่งในผลงานที่มีอิทธิพลต่อการเล่าเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีในยุคต่อมา 

ในเรื่องนี้ แม้คำว่า "AI" (Artificial Intelligence) จะยังไม่ได้ถูกใช้ในยุคนั้น แต่ตัวละครและแนวคิดในภาพยนตร์มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรารู้จักในฐานะ AI ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องของหุ่นยนต์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร  และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็ร ต้นกำเนิด C-3PO ใน ‘Star Wars’ ในเวลาต่อมาด้วย

ภาพยนตร์ Metropolis (1927)  

• 1960s - 1970s: ยุคบุกเบิก AI ในภาพยนตร์

2001: A Space Odyssey (1968) 

ผู้กำกับ: Stanley Kubrick

เนื้อหา: HAL 9000, คอมพิวเตอร์อัจฉริยะที่ควบคุมยานอวกาศ ตั้งคำถามถึงความไว้วางใจใน AI และการควบคุมของมนุษย์  โดย ภาพยนตร์ 2001: A Space Odyssey ได้แรงบันดาลใจมาจากวรรณกรรมเรื่องสั้นชื่อ The Sentinel ของ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก ที่มารับหน้าที่ร่วมเขียนบทภาพยนตร์ด้วย โดยได้ สแตนลีย์ คูบริก ผู้กำกับระดับตำนานมานั่งแท่นโปรดิวเซอร์ กำกับ และเขียนบทภาพยนตร์ด้วยตัวเอง ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่สร้างชื่อและทำให้คูบริกเป็นที่จดจำมาถึงวันนี้ นำแสดงโดย เคียร์ ดูลเลีย และ แกรี ล็อกวูด

ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวในโลกอนาคตปี 2001 เมื่อองค์การนาซาค้นพบหินสีดำลึกลับชื่อโมโนลิธ ซึ่งเชื่อว่ามีลักษณะเหมือนวัตถุโบราณที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการมนุษย์อันเคยปรากฏบนโลกและดวงจันทร์มาก่อน NASA จึงส่งนักบินอวกาศพร้อมหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์นาม HALL 9000 เดินทางไปยังดาวพฤหัสบดีเพื่อไขปริศนา ก่อนที่เหล่าลูกเรือจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคและค้นพบความจริงของหินลึกลับก้อนนั้น

ประเด็น: AI ที่มีสติปัญญาและความผิดพลาดของระบบที่นำไปสู่ความสูญเสีย  

สำหรับ ภาพยนตร์เรื่องนี้ เต็มไปด้วยจินตนาการที่ใส่เข้าไปในบทหนัง ทั้งเรื่องเทคโนโลยีอวกาศ, ปัญญาประดิษฐ์, สิ่งมีชีวิตต่างดาว หรือวิวัฒนาการมนุษย์ ซึ่งทั้งล้ำสมัยและแม่นยำตามหลักวิทยาศาสตร์

ภาพยนตร์ 2001: A Space Odyssey (1968) 

• ยุค 1980s: AI ในยุคไซไฟที่เฟื่องฟู

Blade Runner (1982)

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถือว่า อยู่ยุค 1980s: AI ในยุคไซไฟที่เฟื่องฟู และ เต็มไปด้วยความฝันและจินตนาการ

ผู้กำกับ: Ridley Scott
เนื้อหา: การไล่ล่า หุ่นยนต์ชีวภาพที่เหมือนมนุษย์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิทธิและความเป็นมนุษย์ของ AI  และในภาพยนตร์เรื่องนี้ มี คอนเซ็ปต์รถยนต์บินได้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติโดย Google และผู้ผลิตรายอื่นๆ ซึ่งอาจกลายเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ในอนาคต และได้เริ่มมีการพัฒนารถยนต์บินได้ เช่น Uber ได้เตรียมทดสอบรถแท็กซี่บินได้ Uber Elevate ในปี 2020 และ Airbus ได้พัฒนาคอนเซ็ปต์ Airbus Pop.Up ซึ่งเป็นรถโดรน 2 ที่นั่ง สำหรับโดยสารในเมืองใหญ่ และตั้งเป้าจะเริ่มเที่ยวบินแรกในปี 2018

ประเด็นสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ  เส้นแบ่งระหว่างมนุษย์และสิ่งประดิษฐ์

Blade Runner (1982)

The Terminator (1984) 

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายของภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องหุ่นยนต์ จากผู้กำกับ: James Cameron และในเวลาต่อมาเขาก็โด่งดังสุดขีดจากภาพยนตร์ ไททานิค 

โดยเนื้อหาของหนังนั้น พูดถึง AI ที่กลายเป็นอิสระและก่อสงครามกับมนุษยชาติ

ภาคแรกของหนังคนเหล็ก เริ่มเหตุการณ์เมื่อบริษัทสกายเนตได้ส่งหุ่นยนต์สังหารรุ่น T-800 (อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์) เพื่อกลับมาฆ่าซาร่าห์ คอนเนอร์ผู้เป็นแม่ของจอห์น คอนเนอร์บุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำในการกอบกู้โลกในอนาคต ในขณะที่โลกอนาคตตัวจอห์น คอนเนอร์เองก็ได้ส่งนายทหารไคลด์ รีสกลับมายังเวลาปัจจุบันเพื่อปกป้องซาร่าห์ แต่เหตุการณ์ในหนังภาคแรกจบลงที่ไคลด์ รีสตายและซาร่าห์รอดชีวิต 

ประเด็น สำคัยคือ : ความกลัว AI ที่พัฒนาเหนือการควบคุม

The Terminator (1984) 

The Matrix (1999)  

หนัง Sci-fi ระดับตำนานที่กวาดออสการ์ไปได้ 4 รางวัล จากผลงานของพี่น้อง  The Wachowskis   บอกเล่าถึงมุมมองต่อโลกอนาคตที่เทคโนโลยี AI ถูกพัฒนาขึ้นมา จนเกินขีดจำกัดที่มนุษย์จะควบคุมไหวและกลายเป็นผู้ถูกควบคุมเสียเอง

Matrix เนื้อหาใจความสำคัญ  คือ AI ได้สร้างโลกจำลองและควบคุมมนุษย์ในฐานะแหล่งพลังงาน  โดยหนังที่บอกเล่าการต่อสู้ระหว่างมนุษย์กลุ่มเล็กๆที่สามารถออกจากการควบคุมของปัญญาประดิษฐ์ได้ ในยุคของโลกอนาคตที่ AI ทำสงครามกับมนุษย์และชนะจนได้กลายเป็นผู้คุมโลก และนำมนุษย์มาเป็นแหล่งพลังงานโดยสร้างโลกเหมือนจริงอย่าง The Matrix ไว้เพื่อควบคุมทุกๆ คนให้เหมือนว่ากำลังดำเนินชีวิตอยู่

และมีประเด็นสำคัญคือ การปลดแอกมนุษย์จากการถูกครอบงำของเทคโนโลยี

The Matrix (1999)

 AI จักรกลอัจฉริยะ (2001) 

เป็นภาพยนตร์ในการกำกับของ  Steven Spielberg  หรือพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ด

เล่าเรื่อง ในยุคที่โลกพัฒนา หุ่นยนต์ตัวแรก  ในเรื่องใช้ชื่อว่า "เดวิด" เป็นหุ่นที่ถูกโปรแกรมให้รักเป็นถูกสร้างมาเพื่อให้อยู่กับครอบครัวที่ลูกชายป่วยหนัก จนเดวิดได้รับความรักจากครอบครัวแต่เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปเมื่อลูกชายฟื้นจากการรักษาตัว กลับมาอยู่ในครอบครัว

เจ้าหุ่นยนต์ จึงไม่อาจอยู่ในครอบครัวได้อีกต่อไป เมื่อเดวิดถูกทิ้งแต่เดวิดที่ถูกโปรแกรมให้มีความรักก็ไม่สามารถเข้ากับเครื่องจักรได้ และก็ไม่สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ด้าน เดวิดจึงออกเดินทางเพื่อขอพรจากนางฟ้าเพื่อให้เข้าได้กลายเป็นคนและนำไปสู่การผจญภัยและบทสรุปสุดสะเทือนใจ

 AI จักรกลอัจฉริยะ (2001)  ภาพยนตร์จากฝีมือ  Steven Spielberg  หรือพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ด

Iron Man  (2008) 

หนึ่งในผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งของ Marvel Studios โดยกำกับโดย Jon Favreau และนำแสดงโดย Robert Downey Jr.  ในบทบาทของ Tony Stark มหาเศรษฐีผู้ประดิษฐ์ชุดเกราะไฮเทคที่เปลี่ยนเขาให้กลายเป็นฮีโร่ จุดเริ่มต้นของ Marvel Cinematic Universe (MCU) ที่ยิ่งใหญ่ และ ภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้เกิดการสานต่อจนกลายเป็น MCU จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล Marvel Cinematic Universe ในเวลาต่อมาด้วย

ใน Iron Man (2008) ประเด็นเกี่ยวกับ AI ไม่ได้เป็นหัวข้อหลัก แต่มีบทบาทสำคัญผ่านตัวละครที่เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ Tony Stark สร้างขึ้น โดยเฉพาะ J.A.R.V.I.S. ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาและใช้งาน AI ในบริบทของมนุษย์และเทคโนโลยี

บทบาทของ AI ใน Iron Man

J.A.R.V.I.S. (Just A Rather Very Intelligent System)

• J.A.R.V.I.S. เป็น AI ที่ Stark ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการระบบในบ้านและสนับสนุนการพัฒนาชุดเกราะ Iron Man
• มีลักษณะเด่นคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และโต้ตอบเหมือนมนุษย์ โดย J.A.R.V.I.S. ทำหน้าที่:
ควบคุมระบบในห้องทดลองและบ้านของ Stark
สนับสนุนการสร้างและทดสอบชุดเกราะ Iron Man
ให้ข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ และช่วยตัดสินใจในภารกิจต่างๆ

Ironman  (2008)  ทำให้ เกิดการสานต่อจนกลายเป็น MCU จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล Marvel Cinematic Universe ในเวลาต่อมาด้วย

Her (2013) 

ภาพยนตร์ HER ซึ่งออกฉายในปี 2013 หรือมากกว่า 10 ปีแล้ว หากนับปฏิทินดิจิทัลจนถึงปีนี้ ปี 2024 , ภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องแรกของโลก ที่พูดถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ แต่ประเด็นที่เรื่องนี้ หยิบยกมาพูดถึง ถือได้ว่า มันมี ความแหลมคม และ น่าเอามาคบคิดกันต่อและเราอาจจะตั้งคำถามกันได้เลยว่า รักของ AI มีจริงหรือเปล่า ?

สำหรับ ภาพยนตร์ Her ของผู้กำกับ สไปค์ โจนซ์ Spike Jonze นั้น เล่าเรื่องหลักๆ ของ‘ธีโอดอร์’ ตัวละครเอกของเรื่อง (แสดงโดย วาคีน ฟีนิกซ์) โดย ธีโอดอร์ มีชีวิตเป็นคนเหงาในเมืองใหญ่ เป็นหนุ่มใหญ่ที่ยังไม่หลุดพ้นจากรักเก่า เขามีอาชีพคือ  พนักงานบริษัทรับเขียนจดหมายเเห่งหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตเเบบอยู่ไปวันๆ  แต่ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม มนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคม เราทุกคนต่างมีความปรารถนาและต้องการใครสักคนมาเติมเต็ม 

ค่ำคืนในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความเหงาหม่น เขาก็มักจะนึกถึงช่วงเวลาดีๆของความรักครั้งก่อน เขามีความพยายามที่จะหาใครสักคน แต่ก็ยังไม่เจอคนที่ใช่ จนกระทั่งมาพบกับปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่มีความนึกคิด มีการปรับให้เหมาะกับผู้ใช้ตามความชอบและพฤติกรรม

ภาพยนตร์ HER ปี 2013

ปัญญาประดิษฐ์ ที่มีความสัมพันธ์กับ "ทีโอดอร์" มีชื่อว่า “ Samantha ” - ซาแมนธ่า (พากย์เสียงโดย สการ์เลตต์ โจแฮนส์สัน) ถูกออกแบบมาให้มีความรู้สึกนึกคิด มีจิตสำนึก มีความทรงจำ และแน่นอนว่า เสียงชวนเซ็กซี่ วาบหวามหัวใจ ตามแบบฉบับของสการ์เลตต์  โดย AI ในเรื่องทำหน้าที่เป็นทั้งเพื่อนคู่คิดและคนรู้ใจของ ธีโอดอร์ ได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกอะไรที่วันหนึ่งเขาจะตกหลุมรักซาแมนธ่าอย่างถอนตัวไม่ขึ้น 

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากความสัมพันธ์ที่ปรากฏในเรื่องนี้ คือ จิตสำนึกและการตอบสนองของ AI อย่างที่ซาแมนธ่าแสดงออกมานั้น ‘จริง’แท้แค่ไหน  และสามารถเทียบเท่าความรู้สึกที่มนุษย์เราแสดงออกหรือไม่ ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related