svasdssvasds

พบแอปอันตราย 200 กว่าแอปบน Google Play Store มีคนเผลอโหลดมากกว่า 8 ล้านครั้ง

พบแอปอันตราย 200 กว่าแอปบน Google Play Store มีคนเผลอโหลดมากกว่า 8 ล้านครั้ง

มีการตรวจพบว่า แอปพลิเคชันอันตรายมากกว่า 200 ตัว ซึ่งมีเหยื่อหลงดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 8 ล้านรายด้วยกัน โดยจากข้อมูลการเก็บสถิติมา ส่วนใหญ่แล้ว แฝงเร้นมากับ แอปพลิเคชันสำหรับการสแกน QR Code, แปลภาษา, จัดการไฟล์ (File Manager) เป็นต้น

SHORT CUT

  • พบแอปอันตรายกว่า 200 แอป ใน Google Play Store  มีผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 8 ล้านครั้ง โดยส่วนใหญ่แฝงมากับแอปสแกน QR Code, แปลภาษา และจัดการไฟล์
  • มัลแวร์ที่พบมากที่สุดคือ Joker (42.6%) และ Adware (41.5%) มักพบในหมวดเครื่องมือ (Tools) และแอปแต่งตั้งค่า (Personalization)
  • น่ากังวลที่มัลแวร์ขโมยเงินจากธนาคารเพิ่มขึ้น 29% และมัลแวร์สอดแนมเพิ่มขึ้นถึง 111% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 

มีการตรวจพบว่า แอปพลิเคชันอันตรายมากกว่า 200 ตัว ซึ่งมีเหยื่อหลงดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 8 ล้านรายด้วยกัน โดยจากข้อมูลการเก็บสถิติมา ส่วนใหญ่แล้ว แฝงเร้นมากับ แอปพลิเคชันสำหรับการสแกน QR Code, แปลภาษา, จัดการไฟล์ (File Manager) เป็นต้น

แอปอันตราย 200 กว่าแอป บน Google Play Store มีคนโหลดมากกว่า 8 ล้านครั้ง 

ภัยในโลกออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ ไม่เว้นแม้กระทั่ง แอปสโตร์อย่างเป็นทางการของผู้ใช้งาน Android อย่าง Google Play Store  

เพราะเว็บไซต์ Global News Wired by Notified ได้อ้างอิงรายงานวิจัยจากทางทีมวิจัยแห่ง Zascaler ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ มีการตรวจพบว่า แอปพลิเคชันอันตรายมากกว่า 200 ตัว ซึ่งมีเหยื่อหลงดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 8 ล้านรายด้วยกัน

โดยจากข้อมูลการเก็บสถิติมา ส่วนใหญ่แล้ว แฝงเร้นมากับ แอปพลิเคชันสำหรับการสแกน QR Code, แปลภาษา, จัดการไฟล์ (File Manager) เป็นต้น  และจากการเก็บสถิติพบอีกว่า

โดย 5 อันดับของหมวดหมู่แอปพลิเคชันที่มัลแวร์แฝงตัวนั้น 

• หมวดเครื่องมือ (Tools)  39.4%
• แอปพลิเคชันเพื่อการปรับแต่งเครื่องด้วยจุดประสงค์ในการแสดงตัวตน (Personalization) ที่ 20.2%, 
• แอปพลิเคชันเกี่ยวกับรูปภาพ ที่ 12.8%, 
• แอปพลิเคชันด้านการผลิต - และก่อให้เกิดประโยชน์  (Productivity) ที่ 9.6%, 
• หมวดสุขภาพ (Health & Fitness) ที่ 7.4% 

หมวดหมู่แอปพลิเคชันที่มัลแวร์แฝงตัว ใน  Google Play Store

รายชื่อมัลแวร์สายพันธุ์หลัก ๆ ที่กระจายตัวผ่านแอปพลิเคชันที่อยู่บน Google Play Store

อย่างไรก็ตาม  Zscaler ก็ได้ประเมินว่า เมื่อเทียบกับจำนวนแอปพลิเคชันทั้งหมดบนแอปสโตร์แล้ว ก็จะมีอยู่เพียงแค่ 1% ไม่เกิน 2% เท่านั้น แต่ก็ยังกำชับให้ผู้อ่านทุกคนอยู่ในความไม่ประมาท

นอกจากนั้นแล้วทาง Zscaler นั้นยังได้เปิดเผยถึงรายชื่อมัลแวร์สายพันธุ์หลัก ๆ ที่กระจายตัวผ่านแอปพลิเคชันที่อยู่บน Google Play Store ซึ่งอ้างอิงจากรายงานวิจัยจากทาง ThreatLabz โดยมัลแวร์เหล่านั้นแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ 5 อันดับ สูงสุด ดังนี้

Joker (42.6%)
Adware (41.5%)
Facestealer (12.8%)
Anatsa (2.1%)
Copper (1.1%)
 

มัลแวร์ตัวใดมีมีตัวเลขเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ 

ทางทีมวิจัยนั้นได้กล่าวว่าการเติบโตของมัลแวร์บางประเภทในช่วงรอบปีที่ผ่านมาว่า มัลแวร์เพื่อการขโมยเงินจากบัญชีธนาคารนั้นมีการเติบโตมากกว่า 29% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 

โดยได้มีการยกการทำงานของมัลแวร์ Anatsa ซึ่งแฝงตัวบนแอปพลิเคชันสำหรับการสแกน QR และอ่านไฟล์ PDF โดยสำหรับการทำงานนั้นทางทีมข่าวได้มีการรายงานได้เรียบร้อยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

โดยมัลแวร์ในประเภทนี้อย่าง Anatsa กับ Copper นั้นถึงแม้จะมีปริมาณค่อนข้างน้อยบนแอปสโตร์เมื่อเทียบกับมัลแวร์สายพันธุ์อื่น แต่ก็เป็นมัลแวร์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเหยื่อ รวมทั้งมีสถาบันทางการเงินตกเป็นเหยื่อการจารกรรมด้วยมัลแวร์ประเภทนี้ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 650 แห่ง ในหลากประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์, เยอรมนี, ฟินแลนด์ และเกาหลีใต้ อันนำมาสู่การเปิดเผยวิธีการทำงานบนงานวิจัยตัวนี้ 

นอกจากนั้นมียังการรายงานถึงการเติบโตของมัลแวร์ประเภทสอดแนมที่เพิ่มมากขึ้นถึง 111% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งสันนิษฐานว่ามุ่งเน้นไปในการโจมตีเหยื่อในรูปแบบองค์กร

 ประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายมัลแวร์บนมือถือมากที่สุด 

ไม่เพียงเท่านั้นทาง Zscaler ยังได้เปิดเผยถึง 5 ประเทศแรก ที่ตกเป็นเป้าหมายของมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือมากที่สุด ดังนี้

อินเดีย
สหรัฐอเมริกา
แคนาดา
แอฟริกาใต้
เนเธอร์แลนด์

ที่มา : zscaler zscaler

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related