SHORT CUT
AI นั้นถือว่ามีส่วนช่วยทางการแพทย์มาเป็นเวลาสักระยะแล้ว อย่างที่เห็นชัดๆเลย นั่นคือกรณีของการ คัดกรอง - วิเคราะห์อาการเบาหวนขึ้นตา (diabetic retinopathy) และช่วยตรวจหาได้ไว เร็ว ทั่วโลก 6 แสนกว่ารายแล้ว
เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว ที่ Google เริ่มใช้ AI เข้ามาเสริมศักยภาพทางการแพทย์ โดยในปี 2016 จากการจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตา 54 คนมาวิเคราะห์ภาพด้านหลังดวงตา 130,000 ภาพ และวินิจฉัยออกมาเป็นจำนวน 880,000 ครั้ง ก่อนนำผลวินิจฉัยทั้งหมดไปฝึกให้ Machine Learning เรียนรู้อัลกอริทึม เพื่อวิเคราะห์ภาพดวงตาและตั้งค่าระดับความเสี่ยงออกเป็น 5 ระดับ
ส่วนในไทยนั้น มีจุดเริ่มต้นที่เห็นชัดๆ คือ ในปี 2017-2018 กูเกิล Google เปิดตัวโครงการวิจัยที่ใช้ AI วิเคราะห์อาการเบาหวานขึ้นตา ด้วยการใช้ AI อ่านภาพถ่ายนัยน์ตาและวิเคราะห์ว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และช่วงเวลานั้น กูเกิลได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กับการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยคัดกรอง ผู้ป่วยที่มี ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
ตัวเลขที่ Google เปิดเผยนั้น AI Model ที่พัฒนาขึ้นมานั้น สามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่จะมีอาการ เบาหวานขึ้นตา ได้ถึง 600,000 รายทั่วโลกแล้ว
โดย AI ของ กูเกิล Google สามารถตรวจจับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้แม่นยำกว่าเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกมาแล้วอย่างมาก (ความแม่นยำของ AI อยู่ที่ 97% - ขณะที่เจ้าหน้าที่ อยู่ที่ 74%)
โดยวิธีการคือใช้ภาพถ่ายดวงตาของผู้ป่วยอัปโหลดขึ้นไปให้ปัญญาประดิษฐ์ผู้ช่วยแพทย์ที่อยู่บนคลาวด์วิเคราะห์ หลังจากนั้นระบบจะทำการประมวลผลและส่งข้อมูลการวินิจฉัยต่อไปให้แพทย์ทันที ซึ่งจะทำให้รวดเร็วต่อการวินิจฉัย
สำหรับ ตัวเลขผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกนั้น ถือว่าตัวเลขสูงมาก เพราะมีประชากรที่เป็นผู้ใหญ่อย่างน้อย 537 ล้านคนมีอาการเป็นเบาหวาน
และในแถบเอเชียแปซิฟิก มีคนที่ทีอาการเป็นเบาหวาน เกือบ 227 ล้านคน และจากความสามารถของ AI ในการคัดกรองอาการเบาหวานขึ้นตานั้น คาดการณ์กันว่า จะสามารถคัดกรองผู้ป่วยได้ 6 ล้านคนภายใน 10 ปีข้างหน้านี้