svasdssvasds

7 ไฮไลท์ SPACE JOURNEY BANGKOK นิทรรศการอวกาศระดับโลก 16 ธ.ค. 67 - 16 เม.ย. 68

7 ไฮไลท์  SPACE JOURNEY BANGKOK นิทรรศการอวกาศระดับโลก 16 ธ.ค. 67 - 16 เม.ย. 68

เปิดประสบการณ์สุดยิ่งใหญ่ ครั้งแรกของเอเชีย กับ SPACE JOURNEY BANGKOK นิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก ที่ยกมาจัดขึ้นในไทยอย่างยิ่งใหญ่ และจะเป็นตัวจุดประกายไฟให้เด็กๆ หรือ คนที่มีความรักเกี่ยวกับอวกาศ ได้มีแรงบันดาลใจไปพร้อมกัน 16 ธันวาคม 2567 – 16 เมษายน 2568 ที่ไบเทคบุรี

SHORT CUT

  • ในช่วงปลายปีนี้ ประเทศไทยกำลังจะมี สุดยอดนิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก ที่มาจัดให้คนไทยได้ชมกันแบบได้ประสบการณ์จริงๆ กับเรื่องเทคโนโลยีอวกาศ 
  • โดยงานนี้ คือ “SPACE JOURNEY BANGKOK”  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2567 – 16 เมษายน 2568 ณ Event Space 98 ไบเทคบุรี (ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา)
  • ผู้คนที่มานิทรรศการนี้จะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย ไล่เลียง ตั้งแต่ประวัติศาสตร์การเริ่มต้นขึ้นไปสำรวจอวกาศตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน 

เปิดประสบการณ์สุดยิ่งใหญ่ ครั้งแรกของเอเชีย กับ SPACE JOURNEY BANGKOK นิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก ที่ยกมาจัดขึ้นในไทยอย่างยิ่งใหญ่ และจะเป็นตัวจุดประกายไฟให้เด็กๆ หรือ คนที่มีความรักเกี่ยวกับอวกาศ ได้มีแรงบันดาลใจไปพร้อมกัน 16 ธันวาคม 2567 – 16 เมษายน 2568 ที่ไบเทคบุรี

นิทรรศการอวกาศระดับโลก สร้างแรงบันดาลใจ และ จุดไฟให้คนมีฝันที่ไกลกว่าเดิม 

ในช่วงปลายปีนี้ ประเทศไทยกำลังจะมี สุดยอดนิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก ที่มาจัดให้คนไทยได้ชมกันแบบได้ประสบการณ์จริงๆ กับเรื่องเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งนี่จะเป็นตัวจุดประกายไฟให้เด็กๆ หรือ คนที่มีความรักเกี่ยวกับอวกาศ ได้มีแรงบันดาลใจไปในอนาคตอีกด้วย

โดยงานนี้ คือ “SPACE JOURNEY BANGKOK” สุดยอดนิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก งานที่จะทำให้ ทุกคนได้เปิดมุมมองใหม่และเกิดแรงบันดาลใจ ได้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ ในการออกไปสู่นอกโลก เป็นสิ่งที่เหนือขีดจำกัดและเกินกว่าจินตนาการ ในช่วงเวลาอดีตที่ผ่านมา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2567 – 16 เมษายน 2568 ณ Event Space 98 ไบเทคบุรี (ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา)

นิทรรศการนี้ มี เป้าหมายเพื่อเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้กับคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ได้มาจุดประกายความคิดและสร้างแรงบันดาลใจด้านอวกาศ เพื่อนำไปต่อยอดสู่การพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ

สิ่งที่ทุกคนจะได้เห็นในทรรศการอวกาศระดับโลกครั้งนี้ ถือว่ายิ่งใหญ่มากๆ เพราะจะทำให้ ทุดคนตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศในอนาคต

แผงควบคุมต้นฉบับจากศูนย์บัญชาการภารกิจฮูสตัน ที่วิศวกรได้ใช้สื่อสารกับนักบินอวกาศในภารกิจ Apollo

แผงควบคุมต้นฉบับจากศูนย์บัญชาการภารกิจฮูสตัน ที่วิศวกรได้ใช้สื่อสารกับนักบินอวกาศในภารกิจ Apollo

7 ไฮไลท์สำคัญ นิทรรศการ SPACE JOURNEY BANGKOK

ผู้คนที่มานิทรรศการนี้จะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย ไล่เลียง ตั้งแต่ประวัติศาสตร์การเริ่มต้นขึ้นไปสำรวจอวกาศตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน ห้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการสำรวจอวกาศ  ห้องรวบรวมวัตถุจริงและวัตถุหาชมยากกว่า 600 ชิ้น ทั้งจากสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และอื่นๆ นำมาจัดแสดง  ใน 10 ห้องนิทรรศการในรูปแบบเสมือนจริง  , โซนโลกจักรวาลแบบ Interactive พร้อมมอบประสบการณ์ชมภาพยนตร์ 3 มิติ และกิจกรรมแห่งความสนุกสนาน ต่างๆ อาทิ  คอสมอส แคมป์ (Cosmos Camp) พบกับศูนย์ฝึกอบรมนักบินอวกาศ การขับขี่ VR รวมถึงเครื่องไจโรสโคป

ส่อง 7 ไฮไลท์สำคัญ SPACE JOURNEY BANGKOK นิทรรศการอวกาศระดับโลกที่จะจัดขึ้นในไทย

ส่อง 7 ไฮไลท์สำคัญ SPACE JOURNEY BANGKOK นิทรรศการอวกาศระดับโลกที่จะจัดขึ้นในไทย

  1.  ชิ้นส่วนประกอบดั้งเดิมของเครื่องยนต์ F1 ของกระสวยอวกาศ แซทเทิร์น V (Saturn V) ที่กอบกู้มาจาก ก้นมหาสมุทรแปซิฟิก  โดย Jeff Besos เจ้าของ Amazon ซึ่งเป็นวัตถุที่มีคุณภาพสูง จะเห็นได้ว่าตัววัตถุนี้เองยังสามารถคงรูปร่างได้ดี แม้จะอยู่ในที่ที่อุณหภูมิต่ำในมหาสมุทร หรือผ่านจุดที่อุณหภูมิสูงใกล้ จุดหลอมเหลวมาแล้วก็ตาม
  2. แผงควบคุมต้นฉบับจากศูนย์บัญชาการภารกิจฮูสตัน ที่วิศวกรได้ใช้สื่อสารกับนักบินอวกาศในภารกิจ Apollo และกระสวยอวกาศชุดแรกๆ และที่น่าสนใจคือกระดาษที่มีการคำนวณเส้นทางการบินต่างๆ         ที่เหล่าวิศวกรได้คำนวนด้วยมือ วางไว้อยู่ด้านข้าง  
  3. แบบจำลอง 1:1 ของโมดูลควบคุมยาน Apollo  โมเดลนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมตามยุคสมัยตลอดระยะเวลาการบิน ซึ่งนักบินอวกาศต้องอยู่ในพื้นที่แคบที่ต้องแบ่งปันพื้นที่กับวัสดุที่เก็บมาด้วย เช่น ชิ้นส่วนหินจากดวงจันทร์
  4. แบบจำลองรถสำรวจดาวอังคาร หุ่นยนต์ที่ทำงานหนักที่สุดนอกโลกจากเดิมมีแผนทำงาน 90 วัน   แต่สุดท้ายทำงานถึง 5,498 วัน 
  5. แบบจำลองของยานสำรวจดวงจันทร์ ช่วยนักบินอวกาศไม่ต้องเดินเท้าในภารกิจ Apollo 15, 16 และ 17 
  6. รถสำรวจดวงจันทร์ Lunokhod ของรัสเซีย ส่งขึ้นไปแทนมนุษย์บนยาน Luna ผ่านการควบคุมจาก  ศูนย์ควบคุมภาคพื้นดิน  
  7.  Collection ของอุกกาบาต รวมหินจากดาวอังคารของสะสมที่มีเอกลักษณ์มูลค่าต่อกรัมสูงกว่าทองคำ 

สำหรับงานนี้ ได้หัวเรือใหญ่ในการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ดีๆ จาก  “อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ” จับมือ “ภิรัชบุรี กรุ๊ป” และในงานแถลงข่าวนั้น ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมเปิดมุมมองพร้อมสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศของไทยในอนาคต  ไม่ว่าจะเป็น ดร. ปกรณ์ อาภาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และนายกรทอง วิริยะเศวตกุล แฟนพันธุ์แท้ระบบสุริยะ พร้อมด้วย นายดำรง ลี้ไวโรจน์ บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด ในเครือ อมรินทร์ กรุ๊ป

ที่ผ่านมา นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ มีการจัดแสดงไปแล้ว 5 ประเทศในยุโรป ภายใต้ชื่อ “Cosmos Discovery Space Exhibition” ซึ่งมีผู้เข้าชมงานรวมกว่า 1 ล้านคน โดยการจัดแสดงในประเทศไทยครั้งนี้ มีเป้าหมาย  ผู้เข้าชมงาน 200,000 คน ในระยะเวลา 4 เดือน

ในงานแถลงข่าวนั้น ดร. ปกรณ์ อาภาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  ได้ให้มุมมองเรื่องอวกาศไว้อย่างน่าสนใจ โดยบอกว่า นิทรรศการนี้จะทำให้เรื่องอวกาศใกล้ตัวขึ้น ตอนนี้มีหลากหลายมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ และที่จริงแล้ว ประเทศไทย สามารถเป็น Hub อวกาศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เลย 

และนิทรรศการที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ จะเปลี่ยนมุมมองเรื่องอวกาศ สำหรับคน ไทย จาก fiction (เรื่องแต่ง-นิยาย) ให้เป็น Vision หรือวิสัยทัศน์ ด้านอวกาศให้คนไทยกว้างขึ้น 

ชิ้นส่วนประกอบดั้งเดิมของเครื่องยนต์ F1 ของกระสวยอวกาศ แซทเทิร์น V (Saturn V) ที่กอบกู้มาจาก ก้นมหาสมุทรแปซิฟิก  โดย Jeff Besos เจ้าของ Amazon ซึ่งเป็นวัตถุที่มีคุณภาพสูง จะเห็นได้ว่าตัววัตถุนี้เองยังสามารถคงรูปร่างได้ดี แม้จะอยู่ในที่ที่อุณหภูมิต่ำในมหาสมุทร หรือผ่านจุดที่อุณหภูมิสูงใกล้ จุดหลอมเหลวมาแล้วก็ตาม

ไฮไลท์ นิทรรศการอวกาศระดับโลก SPACE JOURNEY BANGKOK

ไฮไลท์ นิทรรศการอวกาศระดับโลก SPACE JOURNEY BANGKOK

7 ไฮไลท์ SPACE JOURNEY BANGKOK นิทรรศการอวกาศระดับโลก 16 ธ.ค. 67 - 16 เม.ย. 68

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related