svasdssvasds

รวม 10 แอปรายงานสถานการณ์น้ำ - เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม-แผ่นดินไหว มีรายงานหมด

รวม 10 แอปรายงานสถานการณ์น้ำ - เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม-แผ่นดินไหว มีรายงานหมด

มัดรวมที่เดียวจบ! 10 แอปรายงานสถานการณ์น้ำ - เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม-แผ่นดินไหว มีรายงาน ส่งตรงถึงมือถือหมด , นี่คือ แอปพลิเคชั่นดี ๆ ที่จะช่วยตรวจเช็กสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ทันสถานการณ์

SHORT CUT

  • รวบรวม 10 แอปรายงานสถานการณ์น้ำ - เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม-แผ่นดินไหว มีรายงาน ส่งตรงถึงมือถือหมด , นี่คือ แอปพลิเคชั่นดี ๆ ที่จะช่วยตรวจเช็กสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ทันสถานการณ์
  • โดย  5 แอปรายงานสถานการณ์น้ำ  ที่ควรมีไว้ในโทรศัพท์มือถือ ทั้ง Thai Water , แอปเช็คน้ำ , DPM REPORTER , National Thai Water  และ SRW-DWR  
  • ขณะที่ 5 แอปเตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว  ไฟป่า ซึ่งผู้ใช้งานทุกคนควรมีติดมือถือไว้ อุ่นใจ ทั้ง  Help T, THAI DISASTER ALERT , LINE ALERT , พ้นภัย และ DPM Alert 

มัดรวมที่เดียวจบ! 10 แอปรายงานสถานการณ์น้ำ - เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม-แผ่นดินไหว มีรายงาน ส่งตรงถึงมือถือหมด , นี่คือ แอปพลิเคชั่นดี ๆ ที่จะช่วยตรวจเช็กสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ทันสถานการณ์

เรื่องราวของสถานการณ์น้ำกลายเป็นประเด็นที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจ เพราะนี่ถือเป็นอีกหนึ่งภาพสะท้อน เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนมากๆ 


น้ำท่วม น้ำป่า ดูจะเป็นภัยพิบัติที่กลายเป็นหนามทิ่มแทงจิตใจคนไทยมาอย่างต่อเนื่องในหลายๆสัปดาห์ที่ผ่านมา  พื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ทั้ง ปิง วัง ยม น่าน และ เจ้าพระยา , แม่น้ำกก แม่น้ำโขง ต่างก็ต้องเจอกับฝันร้ายและรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 


ขณะเดียวกัน ในแง่มุมของเทคโนโลยีนั้น ก็มีการสร้าง แอปพลิเคชั่น ดีๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อให้ คนที่ต้องการติดตามข่าวสารน้ำท่วมอย่างใกล้ชิด 


วันนี้เราได้รวบรวมเอาแอปพลิเคชั่นดี ๆ ที่จะช่วยตรวจเช็กสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิดมาแนะนำให้ทุกคนโหลดติดเครื่องกันเอาไว้ได้ รวมถึงแอปที่จะคอยเตือนภัย เวลาเกิดภัยพิบัติด้วย 

มัดรวม 5 แอปรายงานสถานการณ์น้ำ 

1. Thai Water

เริ่มต้นกันที่ แอป  Thai Water  แอป  Thai Water จะมีข้อมูลที่ ทำให้เราสามารถติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศได้อย่างใกล้ชิดจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

สำหรับฟีเจอร์ต่างๆ ที่น่าสนใจของแอป  Thai Water   นี้ ได้แก่ ข้อมูลสรุปภาพรวมเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและอากาศ ทั้งสถานการณ์พายุ ปริมาณฝนตก 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ระดับน้ำในลุ่มน้ำ ปริมาณน้ำในเขื่อน และคาดการณ์ฝนและคลื่นในอ่าวไทยล่วงหน้า 3 วัน

ฟีเจอร์เมนู “ฝน” : แสดงข้อมูลปริมาณน้ำฝนว่าแต่ละพื้นที่ของประเทศมีปริมาณฝนตกมากน้อยเพียงใด สามารถดูภาพรวมฝนตกทั่วประเทศในรูปแผนที่ได้
ฟีเจอร์เมนู “ระดับน้ำ” : แสดงข้อมูลของระดับน้ำที่สถานีวัดต่างๆ เมื่อกดเข้าไปดูข้อมูลของสถานีนั้น จะมีกราฟแสดงปริมาณน้ำย้อนหลัง 3 วัน และ 24 ชั่วโมง โดยกราฟจะแสดงข้อมูลระดับท้องน้ำและระดับตลิ่ง
ฟีเจอร์เมนู “เขื่อน” : แสดงข้อมูลเขื่อนต่างๆ ทั่วไทย ใช้ดูข้อมูลความจุอ่าง น้ำกักเก็บ น้ำไหลลง น้ำระบาย ของแต่ละเขื่อนได้

แอป  Thai Water   นี้ ได้แก่ ข้อมูลสรุปภาพรวมเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและอากาศ ทั้งสถานการณ์พายุ ปริมาณฝนตก 24 ชั่วโมง

2. แอปเช็คน้ำ

แอปเช็คน้ำ สามารถให้ข้อมูลระดับน้ำ พื้นที่น้ำท่วม พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง โดยอ้างอิงข้อมูลทั้งจากอวกาศและภาคพื้นดินที่นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน อีกทั้งยังมีข้อมูลกลุ่มเมฆฝน และพื้นที่น้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง ซึ่งพัฒนาโดยเจ้าหน้าที่ GISTDA ทั้งโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูล ระบบหน้าบ้านและหลังบ้าน

โดยหัวใจสำคัญของการพัฒนา แอปเช็คน้ำ ก็เพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วมให้กับประชาชนคนไทย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำหรือในพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมเป็นประจำได้รับรู้ถึงมวลน้ำที่กำลังจะมาถึง

สิ่งที่เป็นไฮไลท์ของแอปนี้ คือ เมนูคาดการณ์ 
โดย ในเมนูคาดการณ์ จะมีข้อมูลตำแหน่งสถานีตรวจวัดระดับน้ำในแม่น้ำพร้อมสถานะของระดับน้ำแสดงเป็น 3 สีปรากฏให้เห็นเด่นชัด แต่ถ้าหากลองซูมไปที่บริเวณตำแหน่งของสถานีวัดระดับน้ำที่อยู่ในสถานะแจ้งเตือน (สามเหลี่ยมสีเหลือง) หรือสถานะอันตราย (จุดสีแดงกระพริบ) จะปรากฏพื้นที่สีแดงส้มอยู่รอบๆ ตัวตำแหน่งสถานีฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหากเกิดเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งขึ้นมา และถ้าตำแหน่งของเราตกไปอยู่ในพื้นที่สีแดงเหล่านี้ ก็ให้เตรียมตัวรับมือได้ทันที

ข้อมูลพื้นที่คาดการณ์ที่จะได้รับได้ผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งนี้ ระบบได้วิเคราะห์จากข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมย้อนหลังและข้อมูลน้ำล้นตลิ่งย้อนหลัง 10 ปี เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของน้ำจากตลิ่งและพื้นที่น้ำท่วมที่ไหลบ่าออกไปจากแนวแม่น้ำ จากนั้นจึงนำมาเป็นเปรียบเทียบใช้กับข้อมูลระดับความสูงของน้ำในแม่น้ำในปัจจุบัน ก็จะได้พื้นที่คาดการณ์ที่น้ำจะไหลไปท่วมหากเกิดล้นตลิ่ง ณ ความสูงของน้ำในปัจจุบันนั่นเอง

- ข้อดีแอปพลิเคชันเช็คน้ำ รู้เร็ว รู้ทันภัยน้ำ ด้วยเทคโนโลยีจากอวกาศ
ต่อมา GISTDA ได้สรุปจุดเด่นของแอปพลิเคชัน “เช็คน้ำ” โดยจะบอกเล่าในมุมของการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง ดังต่อไปนี้ รวมข้อมูลที่จำเป็นครอบคลุมทั้งประเทศมาไว้ในแหล่งเดียว , ให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องและใกล้เคียงเวลาจริง , ข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้ทำให้เข้าใจผลการวิเคราะห์ง่ายขึ้น , เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้ที่หลากหลาย และ ลดความเสียหายจากเหตุอุทกภัย

แอปเช็คน้ำ สามารถให้ข้อมูลระดับน้ำ พื้นที่น้ำท่วม พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง โดยอ้างอิงข้อมูลทั้งจากอวกาศและภาคพื้นดินที่นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน อีกทั้งยังมีข้อมูลกลุ่มเมฆฝน และพื้นที่น้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง ซึ่งพัฒนาโดยเจ้าหน้าที่ GISTDA

3  DPM REPORTER 

แอป DPM REPORTER  เป็นแอปรายงานข่าวสารและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเหตุร้ายและภัยพิบัติ จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)  โดยแอปนี้ จะมี  5 ฟังก์ชันการทำงานหลัก ประกอบด้วย ฟังก์ชันข่าวสาธารณภัย ฟังก์ชันรายงานข่าว ฟังก์ชันแผนที่ข่าว ฟังก์ชันแจ้งเตือนสาธารณภัย ฟังก์ชันสถิติสาธารณภัย

ในเมนูหลักของแอปนี้ จะมีข้อมูล ตั้งแต่วันที่ เวลา จังหวัดที่อยู่ เมนูแจ้งเตือน สภาพอากาศโดยรวม อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณฝน ความกดดันอากาศ และสถิติสาธารณภัยทั่วประเทศเฉลี่ย 3 อย่าง คือ อัคคีภัย อุทกภัย และเหตุบนท้องถนน

“DPM Reporter” แอพเตือนภัยพิบัติให้ประชาชนโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

4. National Thai Water 

“National ThaiWater” เป็นแอป จากสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีรายงานสถานการณ์น้ำท่วมได้ในแต่ละพื้นที่โดยละเอียด สามารถใช้ติดตามสถานการณ์น้ำ ฝน ระดับน้ำ แหล่งน้ำ คาดการณ์ฝน พายุ 

โดยในแอปสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เช่น

ปริมาณฝนตกสะสมย้อนหลัง 24 ชั่วโมง
ระดับน้ำในปัจจุบันของแต่ละพื้นที่ (เปรียบเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง)
ข้อมูลอ่างเก็บน้ำและปริมาณการกักเก็บ ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศ
การคาดการณ์ฝนล่วงหน้า 7 วัน
คาดการณ์ความสูงและทิศทางของคลื่นใน 7 วัน 
แผนที่วิเคราะห์เส้นทางและความแรงของพายากดาวเทียม

National Thai Water

5. แอป SRW-DWR 

แอพพลิเคชั่น SRW-DWR  จะมีข้อมูลระดับน้ำของอ่างเก็บน้ำในประเทศไทย
 โดยระบบได้รวบรวมข้อมูลอัตราการไหลเข้า ระดับน้ำบริเวณอ่าง และข้อมูลอัตราการไหลออก โดยผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลพร้อมทั้งมีกราฟข้อมูลการไหลย้อนหลัง 30 วัน เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำต่อไป

 

5 แอป เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว - มีติดเครื่องไว้ อุ่นใจ

นอกจาก เช็กระดับน้ำ เช็กระดับน้ำในเขื่อนแล้ว , อีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคน ควรต้องมี ก็คือ แพลตฟอร์ม เตือนภัยพิบัติ เพราะจะได้รู้เท่าทันภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้น 

1. Help T 

เริ่มต้นกันที่แพลตฟอร์ม Help T  นี่คือ แพลตฟอร์มใหม่ล่าสุด จาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พัฒนาขึ้นมา , โดยมีไว้ แจ้งเหตุฉุกเฉินและขอความช่วยเหลือยามน้ำท่วม พร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมงผ่าน Line Official Account

โดยฟีเจอร์เด่นๆ 
1. แจ้งเหตุฉุกเฉิน: ประชาชนสามารถแจ้งเหตุน้ำท่วมหรือขอความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. ข้อมูลสถานการณ์: อัปเดตข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ แบบเรียลไทม์
3. คำแนะนำและแนวทางปฏิบัติ: ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมและการปฏิบัติตัวในภาวะฉุกเฉิน
4. การประสานงานช่วยเหลือ: เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว

และ ประโยชน์ของ แพลตฟอร์ม HelpT
- ลดระยะเวลาในการรับแจ้งเหตุและให้ความช่วยเหลือ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภัยพิบัติ
- สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเข้าถึงความช่วยเหลือ
- รวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และวางแผนป้องกันในอนาคต

2. THAI DISASTER ALERT แอปเตือนภัยพิบัติแบบ Realtime

แอป THAI DISASTER ALERT  เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพราะ เป็นข้อมูลที่มาจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะหน่วยงานกลางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ

หลักการทำงานจะเป็นการแจ้งเตือนแบบเจาะลึกที่เข้าถึงพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติเฉพาะพื้นที่ แบบ Real Time ที่ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถเตรียมความพร้อม รับมือ ป้องกันตนเองและทรัพย์สินได้ทันก่อนที่ภัยจะมาถึง ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยง และผลกระทบจากสาธารณภัยได้อีกทางหนึ่ง

THAI DISASTER ALERT แอปเตือนภัยพิบัติแบบ Realtime

3. LINE ALERT

LINE ALERT ถือเป็นบัญชีแจ้งเตือนภัยพิบัติร้ายแรงบนแอป LINE สำหรับแจ้งเตือนอัปเดตภัยพิบัติร้ายแรงที่เกิดขึ้นทั่วไทย พร้อมฟีเจอร์บริการข้อมูลที่จำเป็นในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งไฟไหม้ พายุ น้ำท่วมและแผ่นดินไหว   โดยโครงการนี้เป็นการนำร่องจับมือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมอุตุนิยมวิทยา ที่จะเป็นผู้อัปเดตข้อมูลที่น่าเชื่อถือผ่านแพลตฟอร์ม LINE ได้อย่างทั่วถึง โดยสามารถเพิ่มเพื่อนผ่าน ไอดี @linealert หรือ คิวอาร์โค้ด ได้แล้ว

6 ฟีเจอร์หลักของ LINE ALERT ได้แก่  อัปเดตภัยพิบัติ  เช็กพื้นที่เสี่ยง รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน โรงพยาบาลใกล้เคียง การป้องกันตัวเอง และ บริจาค 

LINE ALERT ถือเป็นบัญชีแจ้งเตือนภัยพิบัติร้ายแรงบนแอป LINE สำหรับแจ้งเตือนอัปเดตภัยพิบัติร้ายแรงที่เกิดขึ้นทั่วไทย

4. แอปพลิเคชัน "พ้นภัย" 

แอปพลิเคชัน "พ้นภัย" มีไว้ เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ 

แจ้งภัยและร้องขอความช่วยเหลือ
ข่าวสารและเบอร์โทรฉุกเฉิน
ระบุตำแหน่งหน่วยสนับสนุน
นำส่งและติดตามการให้ความช่วยเหลือด้วย GPS Tracking 
ระบุตำแหน่งผู้ป่วยติดเตียง/ ผู้พิการ/ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ สามารถแจ้งภัยและร้องขอความช่วยเหลือผ่านทางแอปพลิเคชัน "พ้นภัย" ของสภากาชาดไทย ซึ่งได้ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานภาคีเครือข่ายกว่า 19 หน่วยงาน เพื่อสนับสนุนแลกและแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็วและทั่วถึง

แอปพลิเคชัน "พ้นภัย" มีไว้ เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ

5. DPM Alert

แอปพลิเคชั่น DPM Alert ถือเป็นแอปที่รวมข้อมูลหลายๆด้าน ในแง่มุมของการเตือนภัย โดยเป็นข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 

- รายงานสภาพอากาศ
- รายงานคุณภาพอากาศ
- พยากรณ์อากาศ
- พยากรณ์ WRF
- ปริมาณน้ำในเขื่อน
- ข่าวสารเตือนภัย
- เหตุการณ์
- แจ้งอุปกรณ์ชำรุด

แอปพลิเคชั่น DPM Alert ถือเป็นแอปที่รวมข้อมูลหลายๆด้าน ในแง่มุมของการเตือนภัย โดยเป็นข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เรียกได้ว่า ครบครัน ครบ จบในแอปเดียว 

โลกของเรา มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าไปมาก และสิ่งต่างๆที่พัฒนาขึ้นมานั้น จะต้องสอดคล้องตอบโจทย์การรับมือภัยพิบัติในยุคดิจิทัล สิ่งที่สร้างขึ้นมานั้น 0t ช่วยลดช่องว่างระหว่างประชาชนและหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ 

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ขึ้นอยู่กับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และใช้งานอย่างแพร่หลาย รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related