แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ชี้ ต้องระวังคอนเทนต์ AI ช่วงเวลาไหนเป็นพิเศษ - ตอนไหนที่คอนเทนต์ AI หลั่งไหลมาราวกับน้ำป่าทะลัก เช็กเลย!
โลกที่เรากำลังอาศัยและหายใจอยู่ในทุกวันนี้ กำลังเข้าสู่ยุคของ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ แล้ว ใครที่ไม่ใช้งาน AI อาจจะก้าวตามไม่ทันโลก ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าก็เป็นได้
ความสำคัญของ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ต่อไปอนาคต มันจะกลายเป็นเครื่องมือช่วยงานในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมหนึ่ง เทคโนโลยี หรือ AI หากจะมองเป็นเหมือนดาบสองคม ที่มีทั้งด้านที่ดีและไม่ดี ก็ได้ สำหรับ AI เองด้านที่ไม่ดีของมันคือ เรื่องความเป็นส่วนตัว ความอคติ แต่อย่าลืมไปว่ามันก็มีส่วนดีเหมือนกัน ที่จะมาเป็นโซลูชันแก้ปัญหาให้กับมนุษย์เอง โดยเราสามารถสร้าง AI ที่เข้ามาตรวจสอบความอคติ (Bias) ความไม่เท่าเทียม และมาแจ้งเตือนกับเรา
โดยจากการประชุมของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกได้จัดงานประชุมสัมมนา Cybersecurity Weekend สำหรับประเทศในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2024 ระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคม 2024 ที่ประเทศศรีลังกา ได้มีการตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประเด็น หนึ่งในนั้น ก็คือ ประเด็นของ เนื้อหา content AI ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพูดคุยในประเด็นใหญ่อย่างภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ และภาพรวมมุมกว้างของโลกต่อประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์
โดยจากการเก็บสถิติแล้ว เนื้อหาคอนเทนต์ที่ผู้ผลิต ใช้ AI ในการผลิตนั้น มักจะมามีตัวเลขที่พีค ที่พุ่งสูงขึ้นในช่วง วันที่ 13,19,31 ตุลาคม ,และจากวันที่ 5 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน , และ จากวันที่ 3 ถึงวันที่ 13 ธันวาคม
ขณะเดียวกัน อีเวนท์ใหญ่ๆ อาทิ ฮาโลวีน , แบล็คฟรายเดย์ , ไซเบอร์มันเดย์ , คริสต์มาส และ เทศกาลปีใหม่ จะมีคอนเทนต์ AI มากขึ้นกว่าช่วงเวลาปกติ
โดย อิกอร์ คุซเน็ตซอฟ ผู้อำนวยการทีมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลของ Kaspersky - Director of Kaspersky’s Global Research & Analysis Team (GReAT) ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ไมว่าจะ "เทศกาล" เล็ก หรือใหญ่ ในโลก จะมีปริมาณคอนเทนต์จาก AI หรือปัญญาประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
แต่ในขณะเดียวกัน ในบิ๊กอีเวนท์สำคัญๆ ก็จะมีปริมาณอีเมลล์ phishing emails (หรืออีเมลล์หลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อ) มากขึ้นตามไปด้วย , และในช่วงวันที่ 19,25,30 ตุลาคม - 25 พฤศจิกายน - 2,16,20 ธันวาคม ก็จะมีปริมาณอีเมลล์เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ
และดูเหมือนว่า ในปัจจุบัน หากอาชญากรไซเบอร์ จะหลวกลวงเหยื่อนั้น มีโอกาสที่พวกเขาจะใช้ เครื่องมือปลอมแปลงจาก Al นั้นมากกว่าการโจมตี ด้วย phishing emails เพราะการโจมตีด้วย AI จะมีโอกาสเข้าถึงเหยื่อได้มากกว่า
ขณะเดียวกัน ยังมีการเปิดตัวเลข ภัยร้ายไซเบอร์อีกหนึ่งรูปแบบที่สามารถแทรกซึมเข้าไปทำร้ายชีวิตของผู้คนในโลกนี้ได้ นั่นคือ ภัยร้ายจากมัลแวร์ โดยหากจะขยายความเพิ่มเติมนั้น MALWARE (มัลแวร์) นั้นย่อมาจาก MALicious และ SoftWARE หมายถึง โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูลหรืออาจจะเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุมเครื่องของเราได้
โดยในภูมิภาคนี้ เอเชียแปซิฟิก (APAC) ในช่วงระหว่าง มกราคม ถึง กรกฎาคม 2024 มีการตรวจพบ มัลแวร์ในลักษณะเป็น banking Trojans 22.2% , พบการขโมยพาสเวิร์ด 16.9 % และสัดส่วนของมัลแวร์ banking Trojans กับมัลแวร์อื่นๆในมือถือ มี 15.6%
ขณะที่ ตัวเลขในภาพรวมแล้ว ไต้หวันมีการตรวจพบ มัลแวร์ในโทรศัพท์มือถือมากที่สุด 51.67% , จีน 17.04 % และ อินเดีย ตามมาเป็นอันดับ 3 ที่ตัวเลข 9.88%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง