svasdssvasds

โลกกำลังเจอพายุสุริยะ - ชวนส่อง พายุแม่เหล็กโลก ระดับความรุนแรง แบ่งอย่างไร

โลกกำลังเจอพายุสุริยะ  - ชวนส่อง พายุแม่เหล็กโลก ระดับความรุนแรง แบ่งอย่างไร

โลกของเรากำลังจะเจอพายุสุริยะในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ชวนส่องผลที่ตามมา พายุแม่เหล็กโลก"ระดับความรุนแรง แบ่งเป็นกี่ระดับ

SHORT CUT

  • โลกกำลังจะเจอพายุสุริยะ  ชวนส่องผลที่ตามมา พายุแม่เหล็กโลก มีระดับความรุนแรง แบ่งเป็น 5 ระดับ 
  • แบ่งเป็นตั้งแต่ ความรุนแรง G1 ซึ่งแทบไม่มีอะไรเลย จนถึง G5 ที่รุนแรงที่สุด 
  • หากเกิด G 5 ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าและระบบป้องกันเสียหายทั่ว ระบบสายส่งไฟฟ้าอาจล่มหรือดับถาวร หม้อแปลงไฟฟ้าอาจเสียหาย ยานอวกาศมีปัญหาจากประจุเข้มข้นที่สะสมที่ผิวยาน มีปัญหาด้านการสื่อสารและการควบคุมทิศ

โลกของเรากำลังจะเจอพายุสุริยะในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ชวนส่องผลที่ตามมา พายุแม่เหล็กโลก"ระดับความรุนแรง แบ่งเป็นกี่ระดับ

กลายเป็นประเด็นไวรัลที่ได้รับการจับตามอง ได้แสงไปเต็มๆ กับการที่ โลกเตรียมรับมือกับ "พายุสุริยะ" ที่รุนแรงใหญ่สุดรอบ 20 ปี หลายประเทศพบความผิดปกติแล้ว อย่างไรก็ตาม มันจะไม่อันตรายต่อมนุษย์ 

เพราะโดยปกติแล้ว  พายุสุริยะ จะไม่ส่งผลโดยตรงต่อโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่องจากโลกมีบรรยากาศและสนามแม่เหล็กคุ้มกัน มีเพียงนักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอวกาศเท่านั้นที่อาจได้รับอันตราย ทั้งจากพายุสุริยะและรังสีจากดวงอาทิตย์

โลกกำลังจะเจอพายุสุริยะ  ชวนส่องผลที่ตามมา พายุแม่เหล็กโลก"ระดับความรุนแรง แบ่งเป็นกี่ระดับ

โดยหากจะอธิบายอย่างง่ายๆนั้น พายุสุริยะ เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยมวลจากดวงอาทิตย์ (Coronal Mass Ejection: CME) มวลจากดวงอาทิตย์เหล่านี้เกิดขึ้นจากอนุภาคมีประจุ ซึ่งเมื่ออนุภาคมีประจุเหล่านี้เกิดการเคลื่อนที่ 

อาจจะส่งผลรบกวน และเบี่ยงเบนสนามแม่เหล็กของโลก เมื่อสนามแม่เหล็กของโลกเกิดการรบกวน จะทำให้อนุภาคบางส่วนสามารถเข้ามายังชั้นบรรยากาศด้านบนของโลกได้ เกิดเป็นแสงเหนือ-แสงใต้ ที่เราเรียกกันว่า “แสงออโรร่า” นั่นเอง

• รู้จัก 3 ผลกระทบของพายุสุริยะ

เมื่อมี พายุสุริยะ เกิดแล้วนั้น มันอาจจะมี ผลกระทบตามมา 3 อย่าง ได้แก่ 

1.พายุแม่เหล็กโลก (Geomanetic)  อาจเกิดไฟดับ
2.พายุรังสีสุริยะ (Solar Radiation Strom) มีผลต่อดาวเทียม ยานอวกาศ และนักบินอวกาศที่กำลังปฏิบัติงาน 
3. มีผลต่อการขาดหายของสัญญาณวิทยุ (Radio Blackout) 
 

โลกกำลังจะเจอพายุสุริยะ  ชวนส่องผลที่ตามมา พายุแม่เหล็กโลก"ระดับความรุนแรง แบ่งเป็นกี่ระดับ

ทีนี้ เมื่อเรามาพิจารณา จาก พายุสุริยะที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น หนึ่งในปรากฏการณ์ที่เกิดจากการปะทุบนดวงอาทิตย์ที่มีผลมาถึงโลกก็คือ "พายุแม่เหล็กโลก" และสิ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ 

พายุแม่เหล็กโลกคืออะไร ? 

พายุแม่เหล็กโลกเป็นการรบกวนสนามแม่เหล็กโลกที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง ลมสุริยะ หรืออนุภาคที่มีพลังงานที่ถูกพัดออกมาจากดวงอาทิตย์ผ่านระบบสุริยะ กับสนามแม่เหล็กโลก

โดย " พายุแม่เหล็กโลก "  มันเกิดจากลมสุริยะที่มีความรุนแรงปะทะเข้ากับสนามแม่เหล็กของโลกจนทำให้เกิดความปั่นป่วน แม้การปะทะนี้จะเกิดขึ้นในอวกาศเหนือชั้นบรรยากาศโลกไป แต่ก็ส่งผลกระทบต่อโลกได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อเทคโนโลยีอวกาศ เช่นดาวเทียม การส่งกำลังไฟฟ้า หรือการสื่อสารวิทยุ ส่วนผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์มีไม่มากนัก

องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ #โนอา (NOAA--National Oceanic and Atmospheric Administration) ได้กำหนดมาตราหนึ่ง สำหรับแสดงระดับความรุนแรงของปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศนอกโลกที่จะมีผลต่อโลกไว้เพื่อความสะดวกในการสื่อสารกับสาธารณชน มาตรานี้แสดงด้วยตัวเลขในทำนองเดียวกับมาตราริกเตอร์ที่แสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหวหรือมาตราฟุชิตะที่ใช้ในการแสดงความรุนแรงพายุ 

G 1  ระดับความรุนแรง น้อย - เกิดความผันผวนของแรงดันในระบบส่งกำลังไฟฟ้าเล็กน้อย สัตว์ที่อพยพโดยใช้สนามแม่เหล็กในการกำหนดทิศอาจสับสน
G 2 ระดับความรุนแรง ปานกลาง - ระบบสายส่งไฟฟ้าที่ละติจูดสูง ๆ อาจเกิดความผิดปรกติของแรงดัน หากเกิดเป็นเวลานานอาจทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าเสียหาย
G 3 ระดับความรุนแรง รุนแรงปานกลาง - แรงดันไฟฟ้าในระบบส่งไฟฟ้าผิดปรกติ แต่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบปรับแรงดัน  มีปัญหากับระบบกระจายสัญญาณวิทยุความถี่ต่ำเป็นระยะ
G 4 ระดับความรุนแรง รุนแรงมาก - ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าอาจเกิดความเสียหายเป็นพื้นที่กว้าง ยานอวกาศอาจเกิดการสะสมประจุขึ้นที่พื้นผิวและอาจมีปัญหาในการสื่อสารและควบคุมทิศ เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในท่อส่งน้ำ
G 5 ระดับความรุนแรง รุนแรงที่สุด - ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าและระบบป้องกันเสียหายทั่ว ระบบสายส่งไฟฟ้าอาจล่มหรือดับถาวร หม้อแปลงไฟฟ้าอาจเสียหาย ยานอวกาศมีปัญหาจากประจุเข้มข้นที่สะสมที่ผิวยาน มีปัญหาด้านการสื่อสารและการควบคุมทิศ

ที่มา ระดับความรุนแรงของพายุแม่เหล็กโลก - สมาคมดาราศาสตร์ไทย (nectec.or.th) noaa space

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related