svasdssvasds

โทรศัพท์กันน้ำหรือไม่ ? ดูที่ IP code มาตรฐานวัดมือถือกันน้ำ-กันฝุ่นแค่ไหน

โทรศัพท์กันน้ำหรือไม่ ? ดูที่ IP code มาตรฐานวัดมือถือกันน้ำ-กันฝุ่นแค่ไหน

ชวนทำความรู้จัก IP code มาตรฐานกันน้ำและกันฝุ่นในสมาร์ทโฟน ตัวเลขและเครื่องหมายเหล่านี้ บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง เช็กเลยโทรศัพท์มือถือที่เรามีอยู่นั้น กันน้ำได้มากแค่ไหน ?

มาตรฐาน  IP Code คืออะไร ? 

มาตรฐาน IP , IP code , IP ratings หรือชื่อเต็มๆ คือ Ingress Protection Rating ถือเป็นค่ามาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำของเครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529

หากสังกตมือถือ , แทบเล็ต ที่เราซื้อมาใช้งานนั้น ,  หรือ ที่วางขายทั่วไปในตลาดมือถือ ในหลากหลายรุ่น ต่างก็พากันโฆษณาว่าสมาร์ทโฟน มาพร้อมกับระบบ IP หรือ IPX รุ่นต่างๆ 

แต่หลายครั้งการโฆษณาก็ไม่ชัดเจนพอที่จะทำให้เข้าใจว่า IP ที่มีในสมาร์ทโฟนนั้นสามารถกันน้ำได้มากน้อยแค่ไหน ?

โดยปกติค่า IP Code หรือ IPX  จะประกอบด้วยตัวอักษร IP ตามด้วยเลขสองตัว เช่น IP67, IP68 เป็นต้น โดยตัวเลขหลักที่หนึ่ง (ตัวแรก) คือ ความสามารถป้องกันสิ่งแปลกปลอมประเภทของแข็ง มีเลข 0-6 บอกระดับความสามารถนี้ , ส่วนตัวเลขหลักที่สอง (ตัวหลัง) คือ ความสามารถป้องกันของเหลว มีตั้งแต่ 0-8

โทรศัพท์กันน้ำหรือไม่ ? ต้องดูที่ IP code มาตรฐานวัดมือถือกันน้ำ-กันฝุ่น

ประเภทของแข็ง เรียงลำดับระดับการป้องกันได้ดังนี้ 

  • 0 ไม่มีการป้องกัน
  • 1 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่กว่า 50 mm. ขึ้นไป
  • 2 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่กว่า 12.5 mm. ขึ้นไป
  • 3 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่กว่า 2.5 mm. ขึ้นไป
  • 4 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่กว่า 1.0 mm. ขึ้นไป
  • 5 ป้องกันฝุ่นได้ แต่มีโอกาสที่ฝุ่นขนาดเล็กจะหลุดเข้าไปได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์
  • 6 ป้องกันฝุ่นได้ 100 เปอร์เซ็นต์
     

โทรศัพท์กันน้ำหรือไม่ ? ต้องดูที่ IP code มาตรฐานวัดมือถือกันน้ำ-กันฝุ่น  

ประเภทของเหลว ตัวเลขจะบ่งบอกถึงระดับการป้องกันดังนี้

  • 0 ไม่มีการป้องกัน
  • 1 ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบในแนวตั้ง
  • 2 ป้องกันหยดน้ำในแนวเฉียงที่ทำมุมไม่เกิน 15 องศา
  • 3 ป้องกันหยดน้ำที่ถูกพ่นสเปรย์
  • 4 ป้องกันน้ำกระเซ็นเข้าที่ตัวอุปกรณ์
  • 5 ป้องกันน้ำที่ถูกฉีดเข้าตัวอุปกรณ์ได้ทุกทิศทาง
  • 6 ป้องกันน้ำที่ถูกฉีดด้วยความแรงเข้าตัวอุปกรณ์ได้ทุกทิศทาง
  • 7 ป้องกันน้ำเข้า กรณีอุปกรณ์จุ่มน้ำไม่เกิน 1 เมตร เป็นเวลา 30 นาที
  • 8 ป้องกันน้ำเข้า กรณีอุปกรณ์จุ่มน้ำน้ำลึกเกิน 1 เมตร แต่ไม่เกิน 3 เมตร เป็นเวลานาน ซึ่งตรงนี้อาจจะมากขึ้นกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละรายด้วย

.
นอกเหนือจากการป้องกันฝุ่นและน้ำแล้วยังมีการป้องกันอื่น ๆ โดยจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรต่อท้ายหมายเลข IP เช่น

• สัญลักษณ์ f หมายถึง การป้องกันน้ำมัน
• สัญลักษณ์ H หมายถึง การป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูง
• สัญลักษณ์ M หมายถึง อุปกรณ์มีการเคลื่อนที่ขณะทดสอบการป้องกันน้ำ
• สัญลักษณ์ S หมายถึง อุปกรณ์ไม่มีการเคลื่อนที่ขณะทดสอบการป้องกันน้ำ
• สัญลักษณ์ W หมายถึง ทนต่อสภาพอากาศทางธรรมชาติ

ตัวอย่างมาตรฐาน IP ที่ส่วนใหญ่จะได้พบ

เราอาจเจอตัวอักษร มาตรฐาน IP อยู่บ่อยๆ จากตารางตัวเลขทั้งหมดที่กล่าวมานั้น มีไม่กี่ตัวที่ถูกนำมาใช้และเป็นที่นิยมทำมาจำหน่าย ซึ่งมาตรฐาน IP ที่นิยมและเห็นได้บ่อยครั้งมีดังนี้

IP53 / 54
คือมาตรฐานที่จะเป็นตัวบอกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้นๆ มีความสามารถที่จะป้องกันฝุ่นได้แต่อาจมีฝุ่นเล็กน้อยเล็ดลอดเข้าไป โดยฝุ่นที่เล็ดลอดเข้าไปนั้นต้องไม่มีผลใดๆต่อการทำงานของอุปกรณ์และมีความสามารถที่จะป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง

IP68
คือมาตรฐานที่ iPhone 15 หรือ iPhone 15 Plus ที่อยู่ในมาตรฐาน IP68 ตามมาตรฐาน IEC 60529 (ความลึกไม่เกิน 6 เมตร ภายในระยะเวลาสูงสุด 30 นาที)

ในปัจจุบัน สมาร์ทโฟน หรือ แทบแล็ต ที่มีคุณสมบัติกันน้ำ มักจะมีค่า IP Rating อยู่ที่ IP67 และ IP68  นั่นหมายความว่า โดยทั่วๆไปแล้ว สามารถกันการจมน้ำได้ลึกประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นระยะเวลานานสูงสุด 30 นาที 

แม้ว่าสมาร์ทโฟนจะมีค่า IP Rating อยู่ในระดับสูง แต่ทางทีมงานไม่แนะนำให้ผู้ใช้นำสมาร์ทโฟนไปใช้งานใต้น้ำโดยไม่มีอุปกรณ์เสริมเพื่อปกป้องน้ำเข้า เช่น เคสดำน้ำที่ออกแบบมาสำหรับสมาร์ทโฟนรุ่นนั้นๆ หรือซองกันน้ำ เป็นต้น 

อีกทั้งมาตรฐานกันน้ำที่แบรนด์สมาร์ทโฟนใส่มาให้ ก็มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ หรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดเท่านั้น เช่น ฝนตกปรอยๆ หรือ น้ำหกใส่ ... ไม่ใช่ว่า จู่ๆ เราจะเอาโทรศัพท์ไปจุ่มน้ำเล่นๆ 

ที่มา : iec clarionuk

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related