SHORT CUT
เปิด 7 ขั้นตอน ทริกเล็กๆ เอาไว้แก้ไข เวลาที่โทรศัพท์ของเราเปียกน้ำ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งทุกคนสุ่มเสี่ยงที่จะเปียกน้ำได้ ตลอดเวลา , เวลามือถือเปียกน้ำต้องทำอย่างไร ?
ช่วงเวลาสงกรานต์ เทศกาลที่ทุกคนจะออกมาสนุก มาเล่นน้ำ สาดน้ำแทนความรักใส่กัน กำลังจะมาถึงแล้ว แต่ ใครหลายคน ที่ไปเล่นน้ำสงกรานต์ ก็อาจมี ความกังวล ว่า เวลาจะไปเอ็นจอย ไปปล่อยจอยความสุขกับหมู่คนที่ออกมาเล่นน้ำ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ โทรศัพท์มือถือ ที่พกพาไปด้วยนั้น อาจจะเสียหายจากน้ำ
SPRiNG Tech จะขอแนะนำทริกเล็กๆ เอาไว้แก้ไข เวลาที่โทรศัพท์ของเรา เปียกน้ำ
• ปิดโทรศัพท์ทันที เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ห้ามเปิดทันทีหลังน้ำเข้า
• เช็ดโทรศัพท์ให้แห้ง แต่หากโดนน้ำหวานหรือน้ำทะเลให้กัดใจนำน้ำสะอาดเทลงไปชะล้างคราบก่อน 1 ครั้ง โดยเป็นการราดผ่านโทรศัพท์ที่ถือเอียง 45 องศา ห้ามนำกลับไปแช่ในอ่างหรือขันอีกรอบเด็ดขาด
• เขย่าเครื่องเบา ๆ หรือ สะบัดน้ำให้ออกจากซอกต่าง ๆ เช่น ช่องเสียบชาร์จและรูหูฟัง
• ถอดซิมการ์ด
•เป่าให้แห้ง หากใช้ไดเป่าผม อย่าเปิดโหมดลมร้อน
•ใส่ถุงแล้วแช่ในถังข้าวสาร หรือ ใส่ในกล่องที่มี ซิลิก้า เจล (เม็ดดูดความชื้น) , อย่างไรก็ตาม ทาง i-Phone เคยแนะนำว่า “อย่าเอาไอโฟนไปใส่ในถุงข้าวสาร ทำแบบนั้นอาจยิ่งทำให้ชิ้นส่วนข้าวเล็กๆ สร้างความเสียหายแก่ไอโฟนได้" โดยเขาแนะนำว่า ให้ปล่อย โทรศัพท์ ให้แห้งอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง อยู่ในพื้นที่อากาศถ่ายเท
• รอจนกว่าความชื้นจะออกไปหมด ขั้นต่ำ 5 ชั่วโมง และอาจใช้เวลานานถึง 1-3 วัน
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่น้ำเข้าว่านานหรือไม่ ? ลักษณะที่น้ำเข้าว่าเข้าไปในจุดสำคัญจนทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรหรือไม่ ? อายุของโทรศัพท์ซึ่งหากผ่านไปหลายปี ยากซีลกันน้ำอาจเสือมสภาพแล้ว โดยวิธีดังกล่าวไม่ได้การันตี 100% ว่าโทรศัพท์จะกลับมาใช้ได้ จึงต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ซึ่งค่ายโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่เคลมว่า ป้องกันน้ำเข้าได้นิดหน่อย แต่ไม่รับเคลมอาการน้ำเข้า
สำหรับ โทรศัพท์มือถือ หรือ ดีไวซ์ ต่างในโลกยุคทุกวันนี้ ในเบื้องต้นก็สามารถป้องกันน้ำได้บ้าง แต่ไม่ใช่ว่า เราจะวางใจ เอาโทรศัพท์ไปเล่นน้ำสงกรานต์โดยไม่ปกป้องอะไรเลย
โดย ในจักรวารความรู้แห่งโลกไอที ณ เวลานี้ มีการกำหนดค่า มาตรฐานความสามารถการป้องกันฝุ่นละอองและน้ำของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ด้วย โดยเรียกย่อๆ IPX Rating หรือ Ingress Protection Marking
ปกติค่า IPX จะประกอบด้วยตัวอักษร IP ตามด้วยเลขสองตัว เช่น IP67, IP68 เป็นต้น
ซึ่งตัวเลขหลักที่หนึ่ง คือ ความสามารถป้องกันสิ่งแปลกปลอมประเภทของแข็ง มีเลข 0-6 บอกระดับความสามารถนี้
ส่วนตัวเลขหลักที่สอง คือ ความสามารถป้องกันของเหลว มีตั้งแต่ 0-8
0 ไม่มีการป้องกัน
1 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่กว่า 50 mm. ขึ้นไป
2 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่กว่า 12.5 mm. ขึ้นไป
3 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่กว่า 2.5 mm. ขึ้นไป
4 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่กว่า 1.0 mm. ขึ้นไป
5 ป้องกันฝุ่นได้ แต่มีโอกาสที่ฝุ่นขนาดเล็กจะหลุดเข้าไปได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์
6 ป้องกันฝุ่นได้ 100 เปอร์เซ็นต์
0 ไม่มีการป้องกัน
1 ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบในแนวตั้ง
2 ป้องกันหยดน้ำในแนวเฉียงที่ทำมุมไม่เกิน 15 องศา
3 ป้องกันหยดน้ำที่ถูกพ่นสเปรย์
4 ป้องกันน้ำกระเซ็นเข้าที่ตัวอุปกรณ์
5 ป้องกันน้ำที่ถูกฉีดเข้าตัวอุปกรณ์ได้ทุกทิศทาง
6 ป้องกันน้ำที่ถูกฉีดด้วยความแรงเข้าตัวอุปกรณ์ได้ทุกทิศทาง
7 ป้องกันน้ำเข้า กรณีอุปกรณ์จุ่มน้ำไม่เกิน 1 เมตร เป็นเวลา 30 นาที
8 ป้องกันน้ำเข้า กรณีอุปกรณ์จุ่มน้ำน้ำลึกเกิน 1 เมตร แต่ไม่เกิน 3 เมตร เป็นเวลานาน ซึ่งตรงนี้อาจจะมากขึ้นกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละรายด้วย
ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์รุ่นฮิตเรือธงของ i-Phone ตอนนี้ คือรุ่น iPhone 15 รุ่นต่างๆ เหล่านี้มีระดับอยู่ที่ IP68 ตามมาตรฐาน IEC 60529 (ความลึกไม่เกิน 6 เมตร ภายในระยะเวลาสูงสุด 30 นาที) เป็นต้น
ที่มา bbc dtac theconversation
ข่าวที่เกี่ยวข้อง