SHORT CUT
ที่ปรึกษา กสทช. เผยเทรนด์เรื่องเทคโนโลยีเอไอ ถือว่าเป็นหนึ่งในความทันสมัยของนวัตกรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย แม้จะเข้ามาช่วยเหลือมนุษย์ แต่ก็มีความเสี่ยงในการเป็นภัยไซเบอร์สูงเป็นอันดับต้นๆ
พชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประธาน สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ขึ้นกล่าวหัวข้อ AI เปลี่ยนโลก - ขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างไร? จากงาน SPRiNG NEXT STEP THAILAND 2024 : Next Eco-System Tech & Sustain ว่า หน้าที่ของกสทช. คือการทำให้คนไทยและประเทศไทย สามารถเข้าถึงโอกาสทางการสื่อสารทุกรูปแบบได้อย่างเท่าเทียมและปลอดภัย
ในโลกของเราจะมีมนุษย์อัจฉริยะ ที่ใช้เทคโนโลยีในการเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก และสร้างนวัตกรรมบางอย่างให้ชีวิตมีความสะดวกสบาย
ผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่เกี่ยวกับ AI จะเกิดขึ้นจากแนวคิดของ Luis Von Ahn ซึ่งคนหนึ่งเป็นคนริเริ่มพัฒนาชุดข้อมูล LLM ขึ้นมาในรูปแบบของหลักสูตรเพื่อการศึกษาอย่าง Duolingo กับ นักเศรษฐศาสตร์อย่าง Herbert Simon ผู้ซึ่งต้องการให้ AI เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการอำนวยความสะดวกในรูปแบบของการเข้ามาเป็นโรบอตหรือโมเดลหุ่นยนต์สำหรับช่วยเหลือผู้คน
เห็นได้ว่าแนวคิดของทั้งสองคนนี้เกิดแนวคิดของอัจฉริยะในการนำข้อมูลมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความขี้เกียจของอัจฉริยะนั้น ทำให้เราเห็นความสามารถมากมายที่เกิดขึ้น ซึ่งการที่มนุษย์ขี้เกียจไม่ใช่ความมักง่าย แต่เป็นเพราะอยากให้เข้ามาช่วยเหลือในหน้าที่บางอย่างที่มนุษย์อาจจะไม่สะดวกในการใช้แรงงานคนก็เลยต้องใช้หุ่นยนต์หรือโรบอตเข้ามาช่วย
ดังนั้น เราจึงมองว่า AI เป็นผู้ช่วยของคนดีและคนร้ายอยู่เสมอ
จากรายงานของ WEF 2024 พบว่า ภัยไซเบอร์ติดอันดับท็อป 5 ของการคุกคามผู้คน ธุรกิจและประเทศอย่างมาก แบ่งเป็น
ทั้งนี้ กสทช.มีหน้าควบคุมและดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ 7 ประตู ประกอบด้วย
อย่างไรก็ตาม การดูแลทั้ง 7 ข้อนั้น เราคงทำไม่ได้หากขาดความรู้และกำลังคนที่ดีพอ การปั้นคนทำงานด้าน AI ได้จริงๆ อาจใช้เวลาในการปูความรู้นานจึงต้องใช้วิธีในการหาพันธมิตร แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าเราวางกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ภาคองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญและปกป้ององค์กรจากภัยไซเบอร์ที่ชัดเจนและรัดกุมให้มากขึ้น กว่าการเลือกซื้อแค่เทคโนโลยีมาใช้ภายในองค์กรแบบพึ่งพา third party มากเกินไป
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม