svasdssvasds

GISTDA ศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางจราจรของ "โดรน" รองรับโลกที่เปลี่ยนแปลง

GISTDA ศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางจราจรของ "โดรน" รองรับโลกที่เปลี่ยนแปลง

GISTDA ดึงผู้เชียวชาญศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางจราจรของ "โดรน" พร้อมรับฟังความคิดเห็น เพื่อรองรับโลกที่เปลี่ยนแปลง

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัด Focus Group ในเรื่อง “การพัฒนาระบบจัดการจราจรอากาศยานไร้คนขับ หรือ Development of Unmanned Aircraft Traffic Management System: UTM” ครั้งที่ 4 ภายในงานงานสัปดาห์อวกาศแห่งชาติ ปี 2566 - Thailand Space Week 2023 ณ ห้อง M110C ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA กล่าวว่า การเติบโตของตลาดอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หรือ โดรน (Drone) มีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทศวรรษที่ผ่านมา ระบบสำหรับบริหารจัดการที่รองรับระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial System, UAS) ที่มีจำนวนมากขึ้น มีภารกิจที่หลากหลายและเข้าถึงกลุ่มบุคคลได้หลากหลายเนื่องจากราคาสามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเทคโนโลยีปัจจุบันในการพัฒนาระบบการจัดการจราจรระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System Traffic Management system: UTM) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีทิศทางเติบโตควบคู่ขึ้นมากับขีดความสามารถทางด้าน ระบบควบคุมอัตโนมัติ การควบคุมหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีอวกาศ ปัจจุบันจึงมีการศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นในกลุ่มประเทศชั้นนำในหลายประเทศเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้งานโดรน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศในสหภาพยุโรป และ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออก ได้แก่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ 

GISTDA ศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางจราจรของ "โดรน" ในโครงการ การพัฒนาระบบจัดการจราจรอากาศยานไร้คนขับ

ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำ UAS มาใช้สนับสนุนกิจการหลายด้านอย่างแพร่หลายมากขึ้น และในปัจจุบันราคาอยู่ในระดับประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการออกหลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานไร้คนขับจากหน่วยงานที่กำกับดูแล ก่อให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษา วิจัยและพัฒนาระบบ UTM ของประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการลงทะเบียน การขออนุญาตทำการบิน ติดตามอากาศยานไร้คนขับเพื่อทราบตำแหน่งขณะทำการบิน

GISTDA ศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางจราจรของ "โดรน" ในโครงการ การพัฒนาระบบจัดการจราจรอากาศยานไร้คนขับ

จุดประสงค์ของโครงการศึกษาการพัฒนาระบบจัดการจราจรอากาศยานไร้คนขับ ครั้งที่ 4

  1. การพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนและควบคุมการจราจรทางอากาศในการปฏิบัติการบิน (Unmanned Aircraft System Traffic Management: UTM) ที่มีความพร้อมสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง
  2. ระบบต้นแบบของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสื่อสารการเดินอากาศ (Communication), การนำร่องช่วยเดินอากาศ (Navigation), และการติดตามอากาศยานไร้คนขับ (Surveillance) บนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular) และโครงข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite) ที่มีความพร้อมสามารถนำไปใช้งานจริงในพื้นที่ที่ต้องมีการกำกับดูแลการจราจรทางอากาศเป็นพิเศษ

ดร.สิทธิพร กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการจัด Focus group ในครั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบ UTM และ โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับโดรน มาหารือและรับข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมรวมถึงเอกชนผู้ที่ใช้งาน เพื่อให้ได้ ความต้องการที่เหมาะสมกับการใช้งานของประเทศไทย และมีการจัดทำทดสอบระบบ (demonstration) หลังจากที่มีการพัฒนาเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

GISTDA ศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางจราจรของ "โดรน" ในโครงการ การพัฒนาระบบจัดการจราจรอากาศยานไร้คนขับ

การจัดประชุมในครั้งนี้ มีสาระสำคัญอะไรบ้าง ?

  1. สรุปแนวทางการศึกษาวิจัยระบบ UTM และข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามที่กล่าวข้างต้น GISTDA จะกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบ UTM หรือ AMETHYST เป็น 4 ระดับรวมถึงจะทำการออกแบบขั้นตอนการดำเนินงาน โดยปัจจุบัน GISTDA พัฒนาขีดความสามารถของระบบ UTM ให้สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่การลงทะเบียนโดรนและผู้บังคับโดรน การขออนุญาตทำการบินในกรณีต่างๆ รวมไปถึงการไม่อนุญาตในเขตห้ามบิน และสามารถติดตามการบินของโดรนเมื่อทำการบิน ระบบถูกออกแบบให้เป็นการลงทะเบียนแบบ one-stop-services เพื่ออำนวยความสะดวกหน่วยงานกำกับให้สามารถควบคุมและติดตามได้อย่างมีสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกให้กับ operator หรือ ผู้ใช้งานโดรนตั้งแต่การลงทะเบียนจนไปถึงการขออนุญาตทำการบิน ตามข้อบังคับที่ออกมาในปัจจุบัน
  2. การดำเนินการทดสอบระบบ UTM ตามขีดความสามารถที่กล่าวมา โดยให้ผู้เข้าร่วม Focus group ในครั้งนี้เป็นผู้ดำเนินการลงทะเบียนตั้งแต่การลงทะเบียน จนถึงการขออนุญาตทำการบิน ซึ่งผลการทดสอบระบบสามารถรองรับตามที่ได้ออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทดสอบในครั้งถัดๆไป จะมีการทดสอบโครงสร้างพื้นฐานฯ ผนวกเข้ากับระบบ UTM และ จำลองสถานการณ์โดยใช้ โดรนบินจริง

เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบสามารถรองรับและใช้งานได้จริง ซึ่งการออกแบบ วางโครงสร้าง และพัฒนาระบบ UTM จะมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพของเครื่องบินไร้คนขับในน่านฟ้าของประเทศ ช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และรับประกันว่าโดรนจะปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกฎระเบียบที่หน่วยงานกำกับวางไว้ GISTDA และกระทรวง อว. มีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนชับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยต่อไป

 

คลิปข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

related