ทำไม ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ ที่ NASA พยายามจะพาคนกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง ถึงมีแววสำเร็จมากกว่าในอดีตตอนยุคสงครามเย็น ?
ในวันที่การเมืองโลกดุเดือด ต่างฝ่ายต่างทำสงครามเย็นในทุกศึก ตั้งแต่สงครามตัวแทน สงครามการค้า ไปจนถึงสงครามเทคโนโลยีและอวกาศ หากย้อนกลับไปในช่วงที่ สหรัฐฯ ทำสงครามเย็นกับ สหภาพโซเวียต ต่างฝ่ายต่างทุ่มเทกับการเป็นคนแรกในอวกาศ ทั้งการส่งมนุษย์คนแรก-สุนัขตัวแรกขึ้นไปบนอวกาศ และสุดท้ายปิดฉากลงด้วยการที่สหรัฐฯ สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ แม้จะมีความสูญเสียจากภารกิจอื่น ๆ อยู่บ้างก็ตาม
แม้สงครามเย็นและการแข่งขันด้านอวกาศจะสิ้นสุดลง แต่อีกอย่างที่สิ้นสุดด้วยคือ เงิน ที่ใช้มากเกินไปกับเทคโนโลยีอวกาศ เพราะแค่ส่งมนุษย์ขึ้นไปบนวงโคจรจ่ำของโลกก็ใช้งบราว 370,000 ล้านบาทแล้ว
แต่ในช่วง 1-2 ปีมานี้ แวดวงการสำรวจอวกาศกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง เมื่อชาติมหาอำนาจใหม่อย่างจีน พยายามที่จะสำรวจอวกาศอีกครั้ง เช่นเดียวกับ อินเดีย ที่เพิ่งส่ง "จันทรายาน-3" ยานอวกาศอินเดีย ลงจอดขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ERIC BERGER จากเว็บไซต์ arstechnica มองว่า การสำรวจอวกาศครั้งใหม่ กับแผนที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง มีแววสำเร็จมากกว่าครั้งไหน ๆ เพราะ 2 ปัจจัยหลัก คือ เทคโนโลยีเริ่มทันสมัย จากโครงการสำรวจอื่น ๆ อย่าง จรวด Artemis และสถานการณ์การเมืองโลกที่ผลักให้ประเทศมหาอำนาจใช้จ่ายเงินกับโครงการอวกาศอีกครั้ง
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ โครงการสำรวจอวกาศครั้งนี้ NASA ของสหรัฐฯ ไม่ได้ทดลองโครงการเพียงคนเดียว แต่ยังมีชาติพันธมิตรอื่น ๆ คอยสนับสนุนด้วย ขณะที่จีนเองก็มีพันธมิตรอย่างปากีสถาน ที่จะร่วมกันสำรวจขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์อีกด้วย
หากมองในเกมการเมืองโลก สหรัฐฯ พยายามป้องกันไม่ให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจสูงสุดของโลก ส่วนอินเดียก็มีปัญหาข้อขัดแย้งกับจีนและปากีสถาน นี่จึงทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่ามันคือสงครามเย็นครั้งใหม่
ซึ่งมองดูแล้วคล้ายกับการแข่งขันทางอวกาศในสงครามเย็นครั้งแรก ที่สหรัฐฯ แข่งกับ สหภาพโซเวียต ซึ่งไม่ได้วัดแค่ว่าใครล้ำกว่าใคร แต่วัดด้วยว่า อุดมการณ์การปกครองแบบไหนจะดีกว่ากันด้วย ซึ่งดู ๆ ไปแล้ว สหรัฐฯ กับจีนในยุคใหม่นี้ ก็มีความคล้ายคลึงกันในบางส่วนด้วย
อย่างไรก็ตามการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่นี้ เริ่มต้นจากข้อมูลที่เชื่อได้ว่า ขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์มีน้ำแข็งอยู่ ซ฿่งหากมีน้ำอยู่บนดวงจันทร์ก็เชื่อว่าเราอาจสร้างอาณานิคมบนนั้นเพื่อค้นหาแร่ธาตุและทรัพยากรต่าง ๆ มาพัฒนางานวิจัยของมนุษย์ได้
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง