เปิดประวัตศาสตร์หน้าใหม่ของไทย ความสามารถของ ดาวเทียมไทย THEOS-2 ทำอะไรได้บ้าง ? หลังขึ้นสู่อวกาศและกำลังเริ่มปฎิบัติการแล้
ดาวเทียม THEOS-2 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 9 ตุลาคม 2566 นี้ เวลา 08:36 น. ตามเวลาในประเทศไทย จากท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา(Guiana Space Center) เมืองกูรู เฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้
ดาวเทียมไทยสำรวจโลก THEOS-2 เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ GISTDA กับ AIRBUS ซึ่งจะสานต่อภารกิจ การรายงานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติจากดาวเทียมไทยโชตที่กำลังจะหมดอายุการใช้งานลงไป เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนและนโยบายสำหรับพัฒนาประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยดาวเทียม THEOS-2 นั้นจะส่งข้อมูลภาพถ่ายความถ่ายความละเอียดสูงที่สามารถมานำใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ดังนี้
ดาวเทียม THEOS-2 สามารถเก็บข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์ปริมาณพื้นที่ป่าที่เคยมีและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าที่เกิดขึ้นว่ามีการลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ในพื้นที่ไหนบ้าง และประเทศไทยควรมีแนวทางในการบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้านการจัดการภัยพิบัติ ดาวเทียม THEOS-2 สามารถส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยพิบัติต่างๆ อาทิ ไฟป่า น้ำท่วม น้ำแล้ง และ PM 2.5 สามารถวางแผนความช่วยเหลือต่างๆ ได้อย่างเท่าทันต่อสถานการณ์และทันท่วงที
ดาวเทียมไทยสำรวจโลก สามารถติดตามและคาดการณ์ ด้านการจัดการเกษตร อาทิ การปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อคาดการณ์ผลผลิตและราคาพืชผล รวมถึงการวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของพืช เพื่อการใส่ปุ๋ยที่แม่นยำ หรือการแก้ปัญหาการระบาดของแมลงและโรคพืช เป็นต้น
การมี ดาวเทียมไทยสำรวจโลก จะทำให้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าของข้อมูล ที่แบ่งปันกันได้ทั้งในแวดวงวิชาการ แวดวงธุรกิจ และความมั่นคง ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่ภาครัฐเท่านั้นแต่ยังรวมถึงภาคเอกชนและผู้ประกอบการเทคโนโลยีอวกาศทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ GISTDA เชื่อว่า THEOS-2 จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยที่สนใจในด้านวิทยาศาสตร์และอยากทำงานสายวิทยาศาสตร์ โดย GISDA ได้วางแผนระยะยาว เรื่องการส่งเสริมบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต