เปิดสเปก THEOS-2 ดาวเทียมสัญชาติไทย เตรียมทะยานสู่อวกาศ ต.ค. นี้ ดาวเทียมธีออส 2 ทำอะไรได้บ้าง ? แล้วจะช่วยงานวิจัย-คนไทยอย่างไร ?
ดาวเทียมธีออส 2 (THEOS-2) หรือชื่อเต็ม Thailand Earth Observation Satellite คือ ดาวเทียมอวกาศขนาดเล็ก ที่ทำหน้าที่บันทึกภาพถ่ายความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ให้นักวิจัยไทยนำมาวิเคราะห์ เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานราชการและเอกชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดโครงการต่าง ๆ สำหรับประชาชนได้ เช่น วิเคราะห์สถานการณ์ไฟป่าจากจุดความร้อน และเส้นทางน้ำป่าไหลหลาก เป็นต้น โดย THEOS-2 เป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ต่อจาก THEOS-1 ที่ขึ้นสู่อวกาศในปี 2551 ซึ่งกำลังจะหมดอายุการใช้งาน
ปัจจุบัน ดาวเทียมธีออส 2 ถูกขนส่งจากบริษัท Airbus Defence and Space เมืองตูลูส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ถึงท่าอวกาศยานยุโรป เฟรนช์เกียนา ในทวีปอเมริกาใต้แล้ว โดยจะเข้าสู่ขั้นตอน “การตรวจสอบ” ในทุกขั้นตอน และ “ประกอบดาวเทียมเข้ากับส่วนหัวของจรวด Rocket Fairing” พร้อมขึ้นสู่อวกาศช่วงเดือน ต.ค. 66
สเปก ดาวเทียม THEOS-2 ดาวเทียมสัญชาติไทย
ดาวเทียม THEOS-2 ช่วยอะไรคนไทยได้บ้าง ?
GISTDA ระบุว่า ดาวเทียมธีออส 2 จะช่วยพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 4 ส่วนหลัก ได้แก่
อีกทั้ง THEOS-2 ยกระดับการให้บริการด้านภูมิสารสนเทศ 6 ด้าน ได้แก่
ขณะเดียวกัน GISTDA มีแผนสร้าง ดาวเทียมสำรวจโลก THEOS-3 ขนาดประมาณ 120 กิโลกรัม ซึ่งมีแผนจะนำขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2569-2570 มีต้นแบบการออกแบบมาจากดาวเทียม THEOS-2A จากการสร้างบุคลากรภายใต้โครงการ THEOS-2 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 อีกด้วย
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง