ความกังวลว่า AI จะครองโลกของคนทำงาน ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันไม่จบไม่สิ้น นักวิทย์ฯ ไทยเอง ก็ยืนยันว่า เอไอไม่ได้ครองโลกแต่จะนำหน้าคนที่ไม่รู้จักการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ และไม่กล้าก้าวข้ามขีดความสามารถของนวัตกรรม
รศ.ดร. สรณะ นุชอนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) แนะนำว่า ในไทยมีการพัฒนาเอไอมาตั้งแต่ปี 2018 โดยเน้นไปใน 3 เรื่อง คือ Handwriting, Speech และ Image ปัจจุบันเน้นที่การพัฒนาเรื่องภาษาและการตอบคำถามให้ดีกว่าเดิม
ทั้งนี้ การพัฒนาในช่วงสองปีหลังเกิดขึ้นไวมาก ตั้งแต่มี ChatGPT เข้ามา เพราะเอไอจะเดินหน้าเร็วมาก หากมีข้อมูล (Input) ที่มากพอ ยิ่งตอนนี้คนทั่วไปยินดีที่จะตั้งโจทย์ ใส่ภาพ ใส่ข้อมูลในระบบมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาขีดความสามารถของเอไอให้มากกว่าเดิม
นักลงทุนเคยคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าตลาดเอไอทั้งสองแบบมีโอกาสเติบโตอย่างมหาศาล แต่สิ่งที่น่าสนใจคือแม้มูลค่าตลาดจะขยับตัวเลขสูงขึ้น แต่ส่วนแบ่งตลาด Generative AI และตลาดเอไอทั่วโลกในอนาคตจะโตเท่ากันคือ 7%
สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมไม่ใช่การลงทุนแค่ด้านเดียว แต่ต้องมองการลงทุนให้หลากหลายและ AI อาจไม่ใช่เทรนด์ที่เปลี่ยนโลกอย่างที่กังวลก็เป็นได้
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
นอกจากนี้ การเข้ามาช่วยทำงานของเอไอ ที่หลายอาชีพมองว่าเป็นการแย่งงานนั้น เป็นเพราะ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) สามารถเข้ามาช่วยจัดการเอกสารหรือสรุปข้อมูลจำนวนมากได้ดีกว่า เช่น ช่วยคัดกรองคำซ้ำ ข้อมูลซ้ำ หรือเอกสารที่อ่านยากแปลงมาเป็น Text ทางการได้ดีกว่าแรงงานคน
ดังนั้น เอไอไม่ได้เข้ามาแทนคน แค่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการงานที่เน้นปริมาณมากกว่าความคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่า
แต่ในมุมนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้บอกว่า AI ไม่สามารถเข้ามาแทนคนได้ ในบางอาชีพที่ต้องทำงานแบบเดิมซ้ำๆ หรืองานที่ไม่ต้องใช้ความสร้างสรรค์มากๆ เอไอก็เข้าไปแทนที่ได้ เพราะการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ออกมาเป็นหุ่นยนต์ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในบางแง่มุม เช่น หุ่นยนต์ส่งยา ก็เพื่อลดความเสี่ยงด้านการติดต่อเชื้อโรคของมนุษย์ หุ่นยนต์ส่งอาหาร เพื่อช่วยลดหน้าที่ของพนักงานเสิร์ฟให้ไปเพิ่มความสามารถด้านงานบริการแทน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังสำหรับการนำ AI มาใช้งานนั้น ก็คือเรื่องของจริยธรรม
แม้ว่าตอนนี้ เอไอ จะช่วยเรื่องงานที่มนุษย์ไม่อยากทำ เป็นตัวเสริมด้านงานบริการ และการตอบคำถาม แต่ขั้นตอนการพัฒนาเอไอมาจากการใส่ข้อมูล และการตั้งโจทย์ของคนเข้าไปในระบบ
วิธีการทำงานของเอไอ อยู่ที่การตั้งโมเดลสำหรับการพัฒนา แบ่งเป็น
ประเภทของข้อมูล และการใส่ข้อมูลทั้งสองแบบนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือเรื่องของจริยธรรม หากในมุมจริยธรรมของนักพัฒนาในไทย ยังไม่ได้มีกรอบชัดเจน แต่อยู่ที่การใส่จริยธรรมของผู้พัฒนาเข้าไปมากกว่า
ยกตัวอย่าง ไมโครซอฟท์ที่ร่วมพัฒนาเอไอกับ ChatGPT จะเปิดโอเพ่นซอร์สให้นักพัฒนาเข้าไปสร้างสรรค์แอปพลิเคชั่นบนไมโครซอฟท์ใหม่ๆ ได้ แต่ต้องทำงานภายใต้กฏเกณฑ์เดียวกัน
ทั้งนี้ การดูแลเรื่องจริยธรรมยังมีหลายระดับที่ต้องใส่เข้าไปในระบบด้านขั้นตอนของการพัฒนา เช่นจริยธรรมของนักกฏหมาย จริยธรรมของนักข่าว จริยธรรมของครู เป็นต้น
แต่สิ่งที่ต้องกังวลมากคือการนำข้อมูลไปปรับใช้กับอุปกรณ์ที่สำคัญๆ อย่าง Self Driving Car ที่ต้องอยู่บนกฏเกณฑ์มาตรฐานสำคัญเพื่อป้องกันเรื่องของอุบัติเหตุและความปลอดภัยของผู้ขับขี่
สุดท้ายหากถามว่า ปัญญาประดิษฐ์ AI จะครองโลกจริงไหม ดร. สรณะ ไม่สามารถบอกฟันธงชัดเจนได้ เพราะตอนนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นใช้งาน เริ่มต้นพัฒนาให้เป็นรูปเป็นร่าง แต่ในอนาคตถ้าพัฒนาเวอร์ชั่นที่มีความสามารถเหนือชั้นขึ้น อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่เราอาจจะมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ดีกว่าเอไอก็เป็นได้