svasdssvasds

เน็ตจะล่มจริงไหม ? หลัง NASA จับตาความรุนแรงของ "พายุสุริยะ" สาหัสกว่าในอดีต

เน็ตจะล่มจริงไหม ? หลัง NASA จับตาความรุนแรงของ "พายุสุริยะ" สาหัสกว่าในอดีต

กระแสข่าวเกี่ยวกับพายุสุริยะที่อาจส่งผลให้โลกไม่มีอินเทอร์เน็ต ใช้งานนานนับเดือนนั้น แต่ในเนื้อหาของ NASA ก็ไม่ได้ระบุชัดว่าจริงหรือไม่ แค่ AI คาดว่าอาจต้องให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมช่วยในการส่งข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ได้แม่นยำขึ้น

องค์การนาซา ออกเตือนว่าโลกกำลังจะเผชิญหน้ากับ พายุสุริยะ ที่มีผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าบนโลก ที่ในปี 1859 เคยทำให้ระบบโทรเลขล่ม ต่อมาปี 1989 ทำให้ไฟฟ้ารัฐควิเบกดับนาน 12 ชั่วโมง 

ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวถูกปล่อยออกมาจากนาซา ที่ใช้ AI ในการคาดการณ์เกี่ยวกับพายุสุริยะและให้เตรียมพร้อม เช่นเดียวกับพายุทอร์นาโดที่เคยส่งปัญหาคุกคามอุปกรณ์สื่อสารในอเมริกา ส่งผลให้ AI และข้อมูลดาวเทียมของนาซาสามารถส่งเสียงเตือนสำหรับสภาพอากาศในอวกาศที่เป็นอันตราย

เน็ตจะล่มจริงไหม ? หลัง NASA จับตาความรุนแรงของ \"พายุสุริยะ\" สาหัสกว่าในอดีต

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม การจำลองนี้ใช้ AI ในการวิเคราะห์ยานอวกาศในการตรวจวัดลมสุริยะ เพื่อคาดการณ์ว่าพายุสุริยะที่กำลังจะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นที่ใดบนโลก โดยจะมีการเตือนล่วงหน้า 30 นาที

สิ่งนี้เพียงพอในการเตรียมพร้อมสำหรับการป้องกันผลกระทบรุนแรงต่อโครงข่ายไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอื่นๆ

นอกจากนี้ ความเสี่ยงของพายุแม่เหล็กโลกส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสังคมกำลังเพิ่มขึ้น เมื่อเราเข้าใกล้ "ค่าสูงสุดของดวงอาทิตย์" ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในรอบ 11 ปี ซึ่งคาดว่าจะมาถึงในช่วงปี 2568

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยนานาชาติที่ Frontier Development Lab รวมถึง NASA, U.S. Geological Survey และ U.S. Department of Energy ได้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงระหว่าง ลมสุริยะและการรบกวนของสนามแม่เหล็กโลก เพื่อดูผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการใช้งานเทคโนโลยี

นักวิจัยใช้วิธีการ AI ที่เรียกว่า "การเรียนรู้เชิงลึก" ฝึกให้คอมพิวเตอร์จดจำรูปแบบตามตัวอย่างเพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างการวัดลมสุริยะจากภารกิจเฮลิโอฟิสิกส์ (รวมถึง ACE, Wind, IMP-8 และ Geotail) และการรบกวนทางธรณีแม่เหล็กที่สังเกตได้ที่สถานีภาคพื้นดินทั่วโลก

เน็ตจะล่มจริงไหม ? หลัง NASA จับตาความรุนแรงของ \"พายุสุริยะ\" สาหัสกว่าในอดีต

รวมทั้งพัฒนาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า DAGGER ( Deep Learning Geomagnetic Perturbation) ที่สามารถทำนายการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ภายใน 30 นาทีก่อนที่จะเกิดขึ้นปัญหา ซึ่งสามารถสร้างการคาดการณ์ได้ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งวินาที และจะอัปเดตทุกนาที

และจากข้อมูลของนักดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในอินเดีย ระบุว่าต้องการให้ผู้ประกอบการระบบส่งไฟฟ้า ผู้ควบคุมดาวเทียม บริษัทโทรคมนาคม และอื่นๆ ร่วมกันช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ บนดาวเทียม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการคาดคะเนปัญหาที่แม่นยำขึ้น 

แต่ในเนื้อความไม่ได้ระบุว่าจะทำให้เน็ตล่มจริงหรือไม่ ?

มีเพียงคำเตือนที่บอกให้บริษัทเหล่านั้นป้องกันปัญหาและทรัพย์สิน ก่อนที่จะเกิดพายุสุริยะขึ้น เช่น ให้ย้ายระบบที่ละเอียดอ่อนไปไว้ที่อื่นชั่วคราว หรือย้ายดาวเทียมไปยังวงโคจรอื่น เพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุด

 

ที่มา : NASA

 

related