“3D Virtual Reality” ต้นแบบระบบการฝึกใช้งานเครื่องมือแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลเพื่อฝึกอบรม
ในโลกปัจจุบันการเรียนรู้ในวงการต่างๆ ด้วยเครื่องมือเสมือนจริง นับว่าได้รับความนิยมเพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงวงการแพทย์ ที่ต้องพัฒนาเทคโนโยลีและนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะการนำ 3D Virtual Reality หรือ 3D VR การจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงแบบ 3 มิติ มาใช้ในการตรวจรักษาเพื่อให้เข้าถึงระบบร่างกายของมนุษย์ที่เหมือนจริงมากที่สุด
ล่าสุด บริษัท เอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จำกัด เฮลท์เทคสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ VR บนแพลตฟอร์ม MDCU MedUMORE ในการสนับสนุนและพัฒนางาน ระบบการฝึกใช้งานเครื่องมือแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงแบบ 3 มิติ (3D Virtual Reality)
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับทาง EVER Medical Technology ที่จะช่วยให้การเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ปัจจุบันเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
โดยร่วมมือในส่วนการทำ 3D Virtual Reality (3D VR) 2 โครงการ
1) ระบบการฝึกต่อเครื่องฟอกไต โดยใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง
เนื่องด้วย เครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลสูง (heated humidifed high flow nasal cannula) เริ่มมีการใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยกล่าวคือ ทำให้การหายใจของผู้ป่วยดีขึ้น และลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจ อย่างไรก็ตาม การใช้อุปกรณ์นี้ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของอุปกรณ์ ตลอดจนมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ การติดตามผู้ป่วยในระหว่างการใช้อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม จึงจะได้ผลการรักษาที่ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
2) ระบบการฝึกใช้งานเครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลสูง
โดยใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ในปัจจุบันผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต หรือ ICU มีภาวะแทรกช้อนไตวายเฉียบพลันสูงมากขึ้นเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนตแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง หรือที่ เรียกว่า Continuous Renal Replacement Therapy (CRRT) การทำ CRRT เป็นการฟอกไตที่มีกระบวนการที่ชับช้อน ต้องอาศัยความชำนาญสูง และสามารถทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลศูนย์ โดยความมุ่งหวังของการนำเทคโนโลยี 3D Virtual Reality มาใช้ในครั้งนี้เอง ถือเป็นการนำร่องให้ผู้เรียนได้รับรู้ และสามารถฝึกทักษะได้ด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง และรักษาผู้ป่วยในอนาคตได้อย่างมั่นใจ
โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลเพื่อฝึกอบรม ในท้ายที่สุดประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะได้ส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วย ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจัดทำสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงนี้จะเป็นอีกเครื่องมือที่สำคัญให้กับบุคลการที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเพิ่มความรู้ความชำนาญเป็นอย่างดียิ่ง