เปิดเรื่องภัยไซเบอร์ ในหนังสือเรียน ภาษาพาที ป.5 สอนเรื่อง Romance Scams หลอกรัก-หลอกทัก แล้วชักเงินหนี กลายเป็นผู้ถูกเลือกให้ผิดหวัง
หนังสือเรียน ภาษาพาที ป.5 ที่กำลังเป็นดราม่าเรื่อง ไข่ต้ม และ เม้าส์ลูกกลิ้ง ชาวเน็ตกลับผุดอีกหนึ่งบทเรียนที่พูดถึง Romance Scams หรือการหลอกรักแล้วชักเงินหนี และเล่าถึงภัยการหลอกยืมเงินบนโลกออนไลน์ ซึ่งตวละครหลักและคนรอบตัวพบเจอ
หนังสือเรียน ภาษาพาที ป.5 บทที่ 3 เรื่องภัยเงียบ เล่าถึงเด็กหญิงแพน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เชี่ยวชาญด้านการใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างเหมาะสมไม่ลืมออกกำลังกาย และกลัวว่าถ้าใช้คอมฯ นาน ๆ จะสายตาสั้น
โดยในหน้าแรกของบทเรียน ภาษาพาที ป.5 เล่าถึงแม่ น้องแพน ที่ไหว้วานให้ลูกสาวส่งอีเมลไปหาพี่สาวของแม่ที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งเธอก็ทำได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน เพื่อนของเธอก็ร้องขอความช่วยเหลือให้ช่วยทำงานวิชาคอมพิวเตอร์ด้วย
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
สอนเรื่อง Romance Scams ให้เด็ก ป.5
ขณะที่หน้าที่เป็นที่วิพากย์วิจารณ์บนโลกออนไลน์คือหน้าที่ 42 เป็นเรื่องราวของเพื่อตัวละครหลักคนหนึ่ง ไปแชทคุยกับชาวต่างชาติที่ใช้โปรไฟล์เป้นคนหน้าตาดี อ้างว่าได้ภาษาและ แลกรูปกันดู สุดท้ายเมื่อนัดเจอตัวจริงกลับเจอชาวต่างชาติที่ไม่เหมือนในรูปโปรไฟล์ที่คุยกัน นอกจากนี้ยังถูกหลอกให้เสียเงินเลี้ยงข้าวอีกด้วย
โดยบทเรียนดังกล่าวพยายามจะสอนเรื่อง Romance Scams หรือการหลอกรักแล้วชักเงินหนี คือ รูปแบบการหลอกลวงกันแบบหนึ่ง มักมากับโลกออนไลน์ กลายเป็นภัยไซเบอร์อันดับต้น ๆ ที่ผู้คนถูกหลอกลวงมากที่สุด
ลำพังถ้าหน้านี้ถูกตัดมาลงบนโลกออนไลน์เพียงหน้าเดียวจะกลายเป็นความเข้าใจผิดยกใหญ่ ว่า ภาษาพาที ป.5 สอนอะไรให้เด็กประถม แต่หากอ่านทั้งบท จะพบว่านี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น
สอนเรื่อง หลอกยืมเงินบนโลกออนไลน์ ให้เด็ก ป.5
ขณะที่หลังจากจบเรื่องของคนรอบตัวของตัวละครหลักอย่าง น้องแพน แล้ว เนื้อเรื่องก็เล่าต่อถึงภัยบนโลกออนไลน์ซึ่ง น้องแพน ประสบกับตัว นั่นคือ ถูกหลอกยืมเงินบนโลกออนไลน์ ซึ่งเธอถูกหลอกไปถึง 6,000 บาท
กลวิธีของมิจฉาชีพคือการหลอกว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตน แล้วสร้างความสนิทสนม จากนั้นจึงหาเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ที่เห็นเหตุเร่งด่วน-เหตุฉุกเฉิน แล้วจึงมาขอยืมเงิน โดยในเรื่อง มิจฉาชีพ อ้างว่า แม่ป่วย เพื่อใช้ความน่าสงสารมาหลอก สุดท้ายด้วยความอ่อนต่อโลกของ น้องแพน เธอจึงยอมโอนเงินเก็บที่หยอดกระปุกมาตลอดโอนให้คนร้ายไปและเธอก็ไม่ได้เงินคืนอีกเลย
แม้ในตัวหนังสือเรียน ภาษาพาที ป.5 อาจสอนบางเรื่องที่ดูขัดต่อหลักการสมัยใหม่ไปบ้าง แต่การหลอกลวงแบบนี้บนโลกออนไลน์ เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย
ทั้งนี้หากผู้ปกครองมีเด็กที่เรียนอยู่ชั้น ป.5 (อายุ 10-11 ปี) ขอให้ระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์ของลูก โดยเฉพาะแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งกำหนดให้ผู้เล่นต้องมีอายุขั้นต่ำอย่างน้อย 13 ปี ขึ้นไปและหาไม่เกิน 15 ปี ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม อาจถึงเวลาที่ผู้ออกแบบสื่อการเรียนการสอนปรับปรุงหลักสูตรและแบบเรียนให้ทันต่อช่วงเวลาและให้เป็นสมัยใหม่มากขึ้น เพราะในรูปเล่มดังกล่าวที่ถูกสแกนมาเผยแพร่บนเว็บ พบว่า พิมพ์ใหม่เมื่อปี 2563 แต่ยังคงใช้เม้าส์ลูกกลิ้งอยู่ ซึ่งถือว่าล้าสมัยในปัจจุบัน