เป็นอีกหนึ่งวิธีอำนวยความสะดวกให้แก่เด็กๆ หรือสายซีเรียล ที่ชอบกินโกโก้ครั้นช์และไมโล สามารถหาซื้อแบบเติม เพื่อป้องกันอาหารเน่าเสียง่ายเพราะสภาพภูมิอากาศที่ร้อนเกินไปในอินโดนีเซีย และคงคุณภาพอาหารให้ยังสดใหม่ได้ด้วย
แนวคิดดังกล่าว เป็นความร่วมมือของ เนสท์เล่กับ Qyos by Algramo นำร่องพัฒนาตู้รีฟิล ‘ไมโล -โกโก้ครันช์’ เพื่อเร่งพัฒนาการจัดการระบบพร้อมเพิ่มโซลูชันแก้ปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่ ซึ่งตู้ดังกล่าวจะเริ่มวางขายในอินโดนีเซียก่อน
อย่างไรก็ตาม การทำ R&D ของเนสท์เล่ในสิงคโปร์ สวิตฯ และอินโดนีเซียนั้น เป็นผลจากความต้องการลดปัญหาอากาศเน่าเสียได้ง่าย จากสภาพภูมิอากาศ
ส่วน Qyos by Algramo เป็นสตาร์ทอัพในอินโดนีเซีย ที่ร่วมพัฒนาตู้ดังกล่าวให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่นอกจากจะช่วยเรื่องของการรักษาคุณภาพของสินค้าแล้ว ยังช่วยเรื่องแนวคิดลดบรรจุภัณฑ์ ลดการสร้างขยะได้ด้วย
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม การนำร่องติดต้ังเครื่องจำหน่ายไมโลและโกโก้ครั้นช์แบบรีฟิล เป็นส่วนหนึ่งในแนวทางช่วยลดปริมาณบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง ให้ลดลงตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งของเนสท์เล่และทางการอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ ขั้นตอนการใช้งานจะเหมือนกับการใช้งานตู้รีฟิลทั่วไป คือ ผู้ซื้อจะต้องนำอุปกรณ์ไปเอง หรือใช้บริการภาชนะใช้ซ้ำของตู้ ซึ่งภาชนะจะต้องมีการทำความสะอาดให้เรียบร้อยด้วยตนเองมาก่อนใช้งาน
ทางด้านของปริมาณการซื้อรีฟิล จะแบ่งออกเป็น
นอกจากนี้ ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ผ่านทางคิวอาร์โค้ด เพื่อทราบถึงส่วนผสม คุณค่าทางโภชนาการ และอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์
ซึ่งระบบรีฟิลได้รับการออกแบบมาให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของอินโดนีเซีย โดยยังคงความปลอดภัยและความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ไว้ เพื่อความมั่นใจในคุณภาพเพื่อการบริโภค
อย่างไรก็ตาม เครื่องดังกล่าวจะนำไปทดลองติดตั้งไว้ในร้านค้าปลีก 2 แห่ง ในอินโดนีเซีย ได้แก่
ทั้งนี้ จะมีระยะเวลาในการตั้งตู้ ประมาณ 4-6 เดือน เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกในการใช้งานของผู้บริโภคที่ได้ ไปพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบรีฟิล เพื่อเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานประเภทอื่นๆ ต่อไป
โดยบริษัทได้ทดลองใช้ระบบรียูสและรีฟิลมากกว่า 20 ระบบใน 12 ประเทศจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการปัญหาด้านขยะบรรจุภัณฑ์จากทั่วโลก โดยเฉพาะการร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อศึกษาวิจัยและหาโซลูชันใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยลดปัญหาขยะล้นโลก ใครที่ชอบซื้อตุนและกินหมดไม่ทันตามเวลา ก็จะสามารถนำภาชนะของตนเองไปซื้อใส่ให้เพียงพอในการกินแต่ละรอบ ไม่ต้องเสียดายของ
ที่มา : Packaginggateway, SDThailand, Qyos, Changemakr