SHORT CUT
เคยรู้สึกอยากหายไปจากการออนไลน์ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้...เคยเป็นกันไหม ? เพราะทุกวันนี้ ไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิเลือกจะหายไปจากออนไลน์ และ Gen Z หลายคนอยากทิ้งโลกออนไลน์
เคยรู้สึกอยากหายไปจากการออนไลน์ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้...เคยเป็นกันไหม ?
มากกว่าทศวรรษแล้วที่การเช็กโทรศัพท์เกือบจะตลอดเวลา กลายเป็นกิจวัตรหลังตื่นนอนของผู้คน และไม่ใช่เพียงแค่เวลาตื่นนอน แต่มันอาจจะเกินเลยไปทุกช่วงเวลาของแต่ละวัน
ไม่จะว่าเช็กเพื่ออัพเดตข่าวสาร ดูฟีดแบ็กในโซเชียลมีเดีย ติดต่อพูดคุย เลื่อนดูเฉยๆ อ่านไลน์ในกลุ่มทำงานในวันหยุด ซึ่งอาจจะเพราะความเคยชิน หรือด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม โลกออนไลน์ได้เข้ามาเป็นเงาทับซ้อนโลกความเป็นจริงอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ไปแล้ว
‘ชีวิตดิจิทัล’ ที่สะดวกรวดเร็วก็ทำให้เราหลงลืมอะไรบางอย่าง กลายเป็นคนไม่มีความสุขอย่างที่เคย ก็เป็นได้
‘ชีวิตดิจิทัล’ ทำให้เราหลงลืมมองข้ามอะไรหลายๆ อย่างไป โดยเฉพาะความเห็นอกเห็นใจและความเคารพซึ่งกันและกันบนโลกออนไลน์ กลายคนไม่มีความสุขอย่างที่เคย การต้องเชื่อมต่อกับผู้คนตลอดเวลาอาจเป็นการบั่นทอนทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ตัวอย่างเช่น การโดนเจ้านายตามงานนอกเวลา ซึ่งบางครั้งเราเองก็เผลอติดนิสัยคุยงานนอกเวลาเองเหมือนกัน จึงทำให้เกิดความเครียด หวาดระแวง เหนื่อยล้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ อารมณ์ที่พรั่งพรู หัวร้อนเวลาแชต รวมถึงการส่งต่อ Fake News เกิดเป็นความเหนื่อยหน่าย ความเครียดวิตกที่ส่งผลให้ความสุขในชีวิตวิถีใหม่นี้หายไป นี่คือผลพวงจากชีวิตที่ออนไลน์ตลอดเวลา และ ออฟไลน์ไม่ได้เลย
คำถามสำคัญ คือ เราสามารถ ทิ้งโลกออนไลน์ และเข้าสู่โหมด offine ได้หรือไม่ ในปี 2025 ?
คำตอบที่เรารู้ดีอยู่ในใจ คือ ไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิเลือกจะหายไปจากออนไลน์ ... เพราะโลกดิจิทัล เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว และมือถือกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย
โซเชียลมีเดียนั้น ทำให้หลายๆคน ‘อ่อนแรงเหนื่อยล้า’ จนอยากหายไปชั่วขณะ หรือ ‘ไร้ตัวตน’ อยู่บ่อยๆ เหมือนกัน
แต่ การ "offline คือ privilege" เมื่อการพักผ่อนจากโลกออนไลน์ต้องมีต้นทุน- การออฟไลน์มีราคาที่ต้องจ่าย เสมอๆ
ผู้ที่สามารถออฟไลน์ได้อย่างแท้จริงในยุคสมัยนี้ มักเป็นผู้ที่มี ‘ต้นทุน’ ทางสังคมบางประการ เช่น ผู้บริหารระดับสูงที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาคอยจัดการงาน หรือผู้ที่มีคนทำงานแทน การละทิ้งโซเชียลมีเดียอาจส่งผลกระทบต่อสายงานบางประเภท โดยเฉพาะงานที่ต้องติดตามกระแสสังคม ซึ่งในยุคที่กระแสส่วนใหญ่ก่อตัวจากการเคลื่อนไหวของผู้คนบนโลกออนไลน์ การตัดขาดจึงเป็นเรื่องยากยิ่ง
โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอาศัย ‘เครดิต’ จากยอดติดตาม ยอดไลก์ หรือคอนเนกชัน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการประกอบอาชีพ เช่น อินฟลูเอนเซอร์ ดารา นางแบบ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว การปิดบัญชีโซเชียลมีเดียจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
ทั้งนี้ มีผลสำรวจ ระบุว่า 45% ของ Gen Z และ 39% ของ Millennials กำลังพยายามลดเวลาการใช้หน้าจอเพื่อสุขภาวะที่ดีขึ้น เพราะการรับข้อมูลและแจ้งเตือนจำนวนมหาศาลในแต่ละวันสามารถสร้างความเครียดและความวิตกกังวล จนทำให้หลายคนเริ่มหันมาหาสมดุลในชีวิตมากขึ้น
แรงจูงใจอีกประการในการลดเวลาอยู่หน้าจอก็คือ "การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน" โดยผลสำรวจระบุว่า 43% ของ Gen Z และ 38% ของ Millennials เชื่อว่าการลดการรบกวนจากอุปกรณ์ดิจิทัลช่วยให้พวกเขามีสมาธิมากขึ้นและทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกแรงผลักดันที่สำคัญคือ "การใช้เวลาคุณภาพกับครอบครัวและเพื่อนฝูง" โดย 43% ของ Millennials, 36% ของ Gen Z, 38% ของ Gen X และ 36% ของ Baby Boomers เชื่อว่าการลดเวลาอยู่หน้าจอช่วยให้พวกเขาได้เชื่อมสัมพันธ์กับคนรอบข้างแบบตัวต่อตัวได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ดังนั้น การอยากพัก อยากออฟไลน์ ไม่ใช่เรื่องของความขี้เกียจหรอก แต่เป็นเราแค่ไม่มีระบบรองรับให้พักจากออนไลน์เท่านั้น
บางครั้ง การ offline เหมือนการล้างพิษให้กับสมองและจิตใจ ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเสพสื่อในโซเชียลมีเดียมากเกินไปจนสำลัก
ในบางเวลา การ offline ได้ เราจะได้เห็นประโยชน์ คือสมองที่ปรอดโปร่ง จิตใจที่แจ่มใส รวมถึงยังลดโอกาสการเกิดอาการสมาธิสั้น และที่สำคัญที่สุดคือช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีสติมากขึ้น
ที่มา : securitybrief.co.uk bbc researchgate datareportal
ข่าวที่เกี่ยวข้อง