GISTDA และ บพค. ร่วมกันผลักดันและพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี และงานวิจัย ผลิตบุคลากรให้มีความพร้อมและต่อยอดความรู้เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม Aerospace ผ่านเทคโนโลยี Augmented Reality รองรับ EEC และระบบเศรษฐกิจของประเทศ
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ GISTDA และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) หน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกันผลักดันและพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี และงานวิจัย
สำหรับโครงการนี้มีบทเรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานของเครื่องจักร Computer Numerical Control (CNC) ในการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัย การเลือกชนิดอุปกรณ์ การผลิตชิ้นงานและการตรวจสอบวัดคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน
โดยทางโครงการฯ ได้รับความร่วมมือจากบริษัทผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน 2 แห่ง คือ
จากการดำเนินโครงการพบว่า การใช้นวัตกรรม Augmented Reality (AR) ในการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถของบุคลากรเพื่อทดแทนการฝึกอบรมในรูปแบบเดิม (Traditional Training)
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเรียนรู้และการจดจำของผู้เรียน สามารถขยายการจัดอบรมในรูปแบบ AR Training ร่วมกับเนื้อหาที่มีความซับซ้อนได้ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหา ทฤษฎี ได้ในเวลาที่จำกัด
อีกทั้งยังสามารถช่วยลดแรงงาน กระชับเวลา ในการปฏิบัติงานได้อีกด้วย รวมทั้งสนับสนุนด้านงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นแรงผลักดันในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งเสริมให้เกิดการใช้งานในเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมอวกาศ หรือ Space Industry ของประเทศ
เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมอวกาศ มุ่งการกระจายรายได้ และสร้างความมั่นคงทางสังคม ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญต่อไปในการผลักดันงานวิจัยขั้นแนวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศ
วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา และผลิตบุคลากรให้มีความพร้อมและสามารถต่อยอดความรู้เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม Aerospace โดยนำเอาเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) มาใช้ในการพัฒนาและฝึกฝนทักษะและอบรมบุคลากรเพื่อการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน อยู่ภายใต้แผนงานการผลิตกำลังคนระดับสูงรองรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ
ซึ่งในแผนการพัฒนากำลังคนระดับสูงรองรับ EEC และระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีเป้าหมายการพัฒนากำลังคนจำนวน 200 คน ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่เป็นบุคลากรใหม่ (Young Engineer) ในสถานศึกษา 5 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา วิทยาลัยเทคโนโลยีแหลมฉบัง วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา