svasdssvasds

Jenna Ortega เจ้าของบท WEDNESDAY บอก "Tiktok ไม่ดีต่อสุขภาพ" แล้วมันจริงไหม ?

Jenna Ortega เจ้าของบท WEDNESDAY บอก "Tiktok ไม่ดีต่อสุขภาพ" แล้วมันจริงไหม ?

ชวนไขคำตอบ TikTok ไม่ดีต่อสุขภาพจริงไหม ? หลัง Jenna Ortega เจ้าของบท Wednesday Addams บอกเธอไม่เล่น เพราะคิดว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่การแสดงของเธอดังมากบนนั้น

Jenna Ortega เจ้าของบท Wednesday Addams จากซีรีส์ Netflix เรื่อง WEDNESDAY ซีรีส์จากเรื่องราวของครอบครัวชวนขนหัวลุกสุดน่ารักอย่าง "The Addams Family อาดัมส์ แฟมิลี่ ตระกูลนี้ผียังหลบ" โดยเธอให้สัมภาษณ์กับ Entertainment Tonight ว่า "ฉันเล่น(Tiktok) อะไรพวกนั้นไม่ได้เลย ถ้าถามว่ามันดีหรือไม่ ? ฉันคิดว่ามันคงไม่ใช่ที่ที่ดีต่อสุขภาพสักเท่าไหร่"

Wednesday Addams ได้รับการพูดถึงและเป็นที่นิยมจากซีรีส์ที่หลาย ๆ คนชื่นชอบและลีลาการเต้นที่งานพรอมของโรงเรียน ในตอนหนึ่งของซีรีส์ที่ผู้คนนำมาตัดต่อและใส่เพลงอื่นลงบน Tiktok จนเป็นที่โด่งดังมากกว่าเดิม เพราะหากดูตามเนื้อเรื่อง เนื่องจาก Wednesday เธอเติบโตมาในครอบครัวที่แตกต่างเลยทำให้การเต้นของเธอไม่เหมือนเพื่อน ๆ ด้วย

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

แล้ว Tiktok ไม่ดีต่อสุขภาพจริงไหม ?

Tiktok หรือ Douyin สื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้นของ Bytedance จากประเทศจีน ได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ด้วยความสั้น และความสนุกของวิดีโอในแพลตฟอร์ม ประกอบกับระบบฟีดคลิป(อัลกอริทึม) ที่ส่งคลิปที่ถูกใจมายังผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้คนหันมาใช้งานอย่างรวดเร็ว

ในช่วงแรกก็จะมีคลิปเต้น ที่หลายคนมองว่าแปลกและไม่อยากเล่น รวมถึงมีเทรนด์อันตราย ๆ  อย่าง Blackout Challenge จึงทำให้เกิดเป็นภาพลบสำหรับใครหลาย ๆ คน แม้เทรนด์เหล่านี้จะถูกปิดกั้นอย่างรวดเร็วแล้วในปัจจุบัน 

Jenna Ortega เจ้าของบท WEDNESDAY บอก \"Tiktok ไม่ดีต่อสุขภาพ\" แล้วมันจริงไหม ?

จนกระทั่งสื่อสังคมออนไลน์เจ้าใหญ่ ๆ อย่าง Facebook , Instagram และ Youtube นำเอาฟีเจอร์วิดีโอสั้นนี้มาใช้ เพราะฐานผู้ใช้กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว และรูปแบบวิดีโอสั้นกำลังกลืนกินผู้คนไปกับสื่อสังคมออนไลน์ 

ซึ่งเอกลักษณ์ของคลิปสั้น คือ สนุกเข้าใจง่าย มันเลยกลายเป็น "ของหวาน" สำหรับสมอง ที่ยิ่งกิน ยิ่งชอบ ยิ่งเสพ

หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal (WSJ) ใช้คำว่า Tiktok Brain หมายถึง พฤติกรรมสมองของเด็กที่ดูคลิปสั้นมากเกินไป จนทำให้สมาธิสั้น-ความจำสั้น

เจมส์ วิลเลียมส์ นักจริยธรรมจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บอกกับ Wall Street Journal (WSJ) เชิงเปรียบเทียบว่า "มันเหมือนกับการที่เราปล่อยให้เด็ก ๆ อยู่ในร้านขนม กินขนมในร้านเท่าไหร่ก็ได้ แล้วพอวันหนึ่งเราบอกให้เด็ก ๆ มากินผักสักจาน พวกเขาก็จะปฎิเสธมัน"

การเปรียบเทียบนี้เห็นได้ชัดว่า หากผู้ปกครองปล่อยให้เด็กอยู่กับวิดีโอสั้นมากจนเกินไป พวกเขาก็จะไม่ชอบทำอะไรที่กินระยะเวลานานเลย เช่น ทำการบ้าน , ตั้งใจเรียน 1 คาบ หรือ จดจ่ออยู่กับอะไรบางอย่างเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น ซึ่งนั่นเรียกว่า "สมาธิสั้น" นั่นเอง

ในส่วนผู้ใหญ่ Tiktok จะส่งผลมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ที่อันตรายและหลายคนเป็นห่วง คือ เด็กและเยาวชนที่อยู่ในช่วงกำลังเติบโต หากพวกเขาใช้งาน Tiktok มากเกินไปอาจส่งผลถึงเรื่องสมาธิสั้น และความบกพร่องในพัฒนาการที่พวกเขาจะเติบโตมาเป็นกำลังหลักของชาติอีกแรงหนึ่ง

 

related