แม้แอปพลิเคชั่น WeChatPay UnionPay และ AliPay จะไม่โด่งดังสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปในประเทศไทยมากนัก แต่สำหรับกลุ่มพ่อค้า แม่ขายต้องมีติดเครื่อง เพราะคุณต้องรอรับเงินค่าซื้อสินค้าจากลูกค้าชาวจีน
หลังมีการประกาศเปิดประเทศในวันที่ 8 ม.ค.2566 นี้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลเข้ามาไทยเป็นประเทศแรกๆ เพราะเราไม่มีนโยบายปิดกั้นนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีอาหารอร่อย บรรยากาศดีๆ แหล่งช้อปปิ้งราคาย่อมเยาว์ ดึงดูดให้คนอยากใช้จ่ายอีกเพียบ
ดังนั้น สิ่งที่พ่อค้าแม่ขายต้องเตรียมให้พร้อม นอกจากสินค้าน่าสนใจ สต็อกสินค้ารองรับความต้องการลูกค้าล็อตใหญ่ ก็ต้องปรับปรุงประสบการณ์หน้าร้านให้น่าประทับใจ และจัดร้านให้ดึงดูด เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าพร้อมจ่ายอย่างง่าย และการจ่ายเงินผ่าน QR Code หรือบัตรเครดิต ก็เป็นสิ่งที่ต้องมีไว้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
สำหรับ WeChatPay UnionPay และ Alipay รวมกัน มีผู้ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลรวมกันกว่า 2 พันล้านคน เพราะเป็นวิธีการชำระเงินหลักที่คนจีนนิยมใช้งานเมื่อซื้อสินค้าและบริการทั้งออนไลน์และหน้าร้าน
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
อาลีเพย์ (Alipay)
เป็นหนึ่งในแอปที่นิยมใช้งานมากทั่วประเทศ มีผู้ใช้งานมากกว่า 700 ล้านคน และเคยมีประวัติผู้ใช้งานผ่านแอปสูงถึง 1.5 แสนหยวนต่อปี หรือประมาณ 4.94 แสนบาท ที่นอกจากใช้จ่ายของหน้าร้านทั่วไปแล้ว ยังสามารถใช้ซื้อของออนไลน์ด้วย เพราะ อาลีเพย์ ถือว่าเป็นระบบธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ในเครือของอาลีบาบา (Alibaba) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการได้แบบทั่วโลก
แต่เดิม อาลีเพย์ จะสมัครใช้งานได้ในจีนเท่านั้น แต่ตอนนี้เปิดให้คนทั่วโลกสมัครใช้งานได้ เพื่อเปิดรับนักเดินทางที่ต้องการไปใช้จ่ายในจีน แค่ต้องมีการยืนยันตัวตนที่ชัดเจนอย่างหนังสือเดินทางไทย เบอร์มือถือไทยและรูปถ่ายที่ชัดเจน
วีแชทเพย์ (WeChatPay)
วีแชทเพย์ เปิดให้บริการในปี 2011 โดย Tencent บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ในจีน เรียกได้ว่าเเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่ครอบคลุมการทำงาน ทั้งแชท โซเชียลมีเดีย และชำระค่าบริการต่างๆ มีผู้ใช้งานสูงถึง 1.1 พันล้านบัญชีในจีน ถือว่าเป็นแอปที่มีบริการอีวอลเลต ให้เจ้าของบัญชีเติมเงินเข้าระบบเอาไว้ และใช้สแกนคิวอาร์โค้ดเมื่อต้องการชำระเงิน
นอกจากนี้ วีแชทเพย์ มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้จีนเป็นสังคมไร้เงินสด เพราะทำธุรกรรมได้ทุกอย่างทั้งสั่งอาหาร จ่ายค่าแท็กซี่ จองตั๋วเครื่องบิน ชำระค่าสาธาณูปโภค ฯลฯ
ยูเนียนเพย์ (UnionPay)
หากเป็นบัตรเครดิตยอดนิยมของคนจีน คงหนีไม่พ้น ยูเนียนเพย์ ที่มีต้นทางมาจากประเทศจีนและร่วมมือกับธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลก เรามักจะเห็นสัญลักษณ์ของ UnionPay ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำอย่าง เซ็นทรัล เดอะมอลล์ สยามพารากอน หรือบิ๊กซี ซูเปอร์มาร์เก็ตยอดนิยมของคนจีน
ซึ่ง ยูเนียนเพย์ ก็เข้าถึงการใช้จ่ายกว่า 50 ประเทศทั่วโลกรองรับการใช้งานของคนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ คล้ายกับสัญลักษณ์ Mastercard, Visa, JCB ที่มีการให้บริการในร้านยอดนิยมของประเทศนั้นๆ
เพื่อความสะดวกสบายของนักช้อป ยูเนียนเพย์ เอง ก็เปิดให้ลูกค้าใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นและ QR Code ในการชำระค่าบริการระบบขนส่งสาธารณะ ซื้อข้าวของเครื่องใช้ หรือผ่อนชำระสินค้าผ่านแอปได้ด้วย ลูกค้าก็จะได้สิทธิประโยชน์ในมาตรฐานเดียวกับลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตอื่นๆ
เมื่อทำความรู้จักช่องทางการจ่ายเงินทั้งสามตัวแอปแล้ว ทีนี้พ่อค้าแม่ขายที่เตรียมช่องทางการรับเงินสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน มาดูกันว่ามีอุปกรณ์รับเงินอะไรบ้าง
วิธีสร้าง QR Code รับเงิน
หากพ่อค้า-แม่ค้า ที่จะออกคิวอาร์โค้ด เพื่อรับเงินผ่าน Alipay และ WeChat Pay ต้องมีแอปหน้าบ้านสำหรับเป็นกระเป๋าเงินเสียก่อน
โดยร้านค้าที่มีบัญชีของ SCB เลือกเปิดใช้แอปแม่มณี หรือ SCB Easy ในการรับเงินจาก Alipay และ WeChat Pay ได้
หากกรอกข้อมูลส่วนตัว และสมัครใช้บริการเรียบร้อยแล้ว ในแอป SCB Easy จะมีให้เลือกในการสร้างใบกำกับภาษี สำหรับร้านค้าที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะได้ใบกำกับภาษีสำหรับไว้ยื่นภาษีด้วย ตรวจสอบความถูกต้องก่อนว่าเราผูกกับบัญชีรับเงินถูกหรือไม่
จากนั้นรอรับรหัส OTP จากนั้นจะได้รับเป็น QR Code รับเงินมา โดยร้านจะเลือกปริ้นออกมาเพื่อให้ลูกค้าสแกนจ่ายได้แค่กรอกยอดเงิน จะได้ไม่เสียเวลาเปิดทีละรอบ ไม่ให้วุ่นวายขณะมีลูกค้ารอจ่ายเงินเยอะๆ (ดูวิธีการสมัครใช้งาน)
เครื่องรูดบัตร EDC สะดวกสำหรับบัตรเครดิต
หากลูกค้านิยมถือบัตรเครดิตในการรูดจ่ายมากกว่าสแกนคิวอาร์โค้ด ที่ร้านก็ต้องมีเครื่องรูดบัตร EDC ที่สะดวกตรงไม่จำกัดว่าลูกค้าถือบัตรสัญลักษณ์อะไร
ซึ่งเครื่องสแกนยุคใหม่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหลายรูปแบบ ทั้งสแกน QR Code ได้แบบไม่ต้องนั่งกดทีละครั้งบนมือถือส่วนตัวของเรา หรือจะแตะบัตรเครดิตกับเครื่องก็สามารถชำระเงินได้ หรือจะรูดผ่านแถบแม่เหล็ก เสียบบัตรเครดิตแบบฝังชิปการ์ด ก็ยังทำได้ สุดท้ายคือมีระบบแจ้งเตือนว่าได้รับเงินจริงหรือไม่ พร้อมรายได้ตรวจสอบได้
ข้อเสียอย่างเดียวของเครื่องนี้ก็คือ เสียค่าบริการดังนี้ ค่าติดตั้งเครื่อง 500 บาท/เครื่อง, ค่ามัดจำเครื่อง 8,000 บาท/เครื่อง, ค่าเช่าเครื่อง 500 บาท /เครื่อง, ค่าสลิป 100 บาท/เดือน* (ดูข้อมูลทั้งหมด)
นอกจากบริการของ SCB ที่เราเลือกมายกตัวอย่างเป็นข้อมูลแล้วยังมีอีกหลายธนาคารให้เลือก ลองเข้าไปดูรายละเอียดตามลิ้งด้านล่างนี้ได้เลย