NASA ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวด Artemis I สำเร็จ หลังเลื่อนมานานจากเงินทุนและปัญหาก่อนขึ้นบิน เตรียมต่อยอดส่งนักบินอวกาศขึ้นไปแตะผิวดวงจันทร์อีกครั้ง
นาซา หรือ องค์การการบินและอวกาศแห่งชาติ (The National Aeronautics and Space Administration: NASA) ประสบความสำเร็จในการส่ง จรวด Artemis I ขึ้นจากสถานีปล่อย ที่ แหลมคะแนเวอรัล ในฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา 13.47 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) ของวันที่ 16 พ.ย. 65
สื่อสหรัฐฯ ใช้คำว่า เป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ "อย่างกล้าหาญ" ของโครงการอวกาศสหรัฐฯ" นอกจากนี้ยังนับว่าเป็นการประสบความสำเร็จของโครงการอาร์ทิมิส ที่ นาซา ทำอีกด้วย
จรวดอาร์ทิมิส วัน (Artemis I) เดิมที่มันจะต้องเป็นที่รู้จักในปี 2017 แต่ด้วยปัญหาเรื่องงบประมาณที่ใช้มากเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ และปัญหาระหว่างการพัฒนา ทำให้โครงการล่าช้าออกไป โดยล่าสุดถูกเลื่อนมาเป็นวันที่ 16 พ.ย. เพราะพายุเอียน และ ปัญหาเกี่ยวกับการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ RS-25
ขณะที่ก่อนหน้าการปล่อยตัว ก็มีอุปสรรค์เป็นพัก ๆ ทั้งการรั่วไหลของไฮโดรเจนและ "สวิตช์อีเทอร์เน็ต(โครงข่ายอินเทอร์เน็ตภายใน)ที่เสีย" ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนปล่อยตัว
ตัวจรวดบรรทุกแคปซูล Orion ขึ้นไปที่ระดับความสูงเกือบ 4,000 กิโลเมตร แล้วจึงแยกตัวออกเพื่อส่ง Orion ไปยังอวกาศ โดยแกนกลางของจรวดจะตกลงสู่พื้นโลก สู่มหาสมุทรแปซิฟิก
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
Orion จะเดินทางต่อไปยังดวงจันทร์ ซึ่งมันจะโคจรเป็นเวลาหลายวันก่อนที่จะกลับสู่โลก แคปซูลมีกำหนดจะตกลงสู่มหาสมุทรในวันที่ 11 ธันวาคม
เป้าหมายในการส่ง จรวดอาร์ทิมิส วัน (Artemis I) ในครั้งนี้ เพื่อทดสอบเกราะป้องกันความร้อน ราว 2,800 องศาเซลเซียส เมื่อกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก นอกจากนี้ NASA จะทำการทดสอบการป้องกันรังสี เซ็นเซอร์ อุปกรณ์นำทาง และอุปกรณ์สื่อสาร ต่าง ๆ ด้วย
คลิปข่าวที่เกี่ยวข้อง
เที่ยวบินถัดไปของโครงการอาร์ทิมิส กำหนดไว้ในปี 2024 จะนำลูกเรือ นักบินอวกาศ ไปรอบดวงจันทร์และกลับโดยไม่ต้องลงจอด จากนั้นในปี 2568 NASA วางแผนที่จะส่งมนุษย์ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ภารกิจ Apollo 17 ในปี 1972 การลงจอดครั้งนี้จะรวมถึงผู้หญิงคนแรกและคนผิวสีคนแรกที่เดินบนดวงจันทร์