9.9 กลายเป็นดีเดย์ของนักช็อปออนไลน์เพราะสารพัดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซปล่อยโปรจุกๆ ดึงดูดเงินออกจาก e-Wallet บัตรเดบิตและเครดิต เงินในแอปธนาคาร ฯลฯ แต่ก่อนจะมีเทศกาลช็อป 9.9 ดีเดย์ที่มาก่อนคือ 11.11 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากคนไม่มีแฟน แต่กลายเป็นวันที่สร้างยอดขายหนักมาก!
เชื่อว่าคนที่ติดตาม SPRiNG News คุ้นเคยกับการช็อปผ่าน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, JD และน่าจะจดจำเลข 11.11 ได้เป็นอย่างดี
11.11 กับจุดเริ่มต้นที่มาก่อนกาล
เหตุที่เรียก 11.11 ว่า วันคนโสด (Singles' Day) เพราะวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 1993 มีนักศึกษาหนุ่มโสด 4 คน รวมตัวกัน ณ มหาวิทยาลัยหนานจิง เพื่อหาวิธีคลายเหงาด้วยการนัดมาฉลองความโสดร่วมกันซะเลย
ต่อมา แดเนียล จาง ซีอีโอ อาลีบาบา ก็สร้างแคมเปญลดราคาสินค้าในวันคนโสดเป็นครั้งแรกในปี 2009 ปรากฏว่า กระแสมาแรงจนทำให้ยอดการทำธุรกรรมในวันคนโสด แซงหน้าเทศกาลช็อปสุดดังในอเมริกาอย่าง Cyber Monday (ที่จัดขึ้นหลังวันขอบคุณพระเจ้าของทุกปี) ไปอย่างขาดลอย หลังจากนั้น อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ก็ประกาศเปิดตัว วันคนโสด อย่างเป็นทางการ และหลังจากนั้นก็แพร่ไปทั่วอาเซียน
สรุปไทม์ไลน์สำคัญของ ‘วันคนโสด’
..................................................................................................
อ่านเพิ่มเติม
..................................................................................................
อย่างไรก็ตาม เทรนด์การช็อปปิงออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ จะยังเติบโตอีกมากและอีกหลายปี ดูได้จากการคาดการณ์โดยองค์กรชั้นนำ สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการด้าน Data สำนักข่าว ฯลฯ อาทิ
Globenewswire.com เผยว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกจะโตถึง 52.06 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2027 จากที่มีมูลค่าตลาด 14.30 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2021
Morgan Stanley วิเคราะห์คาดการณ์ว่า สัดส่วนการค้าปลีกผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2022 จะโตขึ้น 0.25% ซึ่งมากกว่าภูมิภาคอื่น
กลับมาดูการช็อปปิงในไทย เราช็อปกันกี่เทศกาล เข้าแพลตฟอร์มไหนกันบ้าง?
การที่ไทยติดอันดับ 1 ของประเทศที่มีการช็อปปิงออนไลน์ต่อสัปดาห์มากที่สุดในโลก ณ ไตรมาส 1 ของปี 2022 บ่งบอกว่า คนไทยสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว โดยมีสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้น ส่วนภาครัฐและเอกชนต่างก็ผลักดันและสนับสนุนให้ใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ และหากพิจารณาเทศกาลช็อปในเมืองไทยแบบเกาะอีเวนต์หรือเทศกาล เว็บไซต์ Janio.asia แบ่งช่วงช็อปปิงออนไลน์ในไทยออกเป็น
สำหรับเทศกาลช็อป 9.9 และ 10.10 เป็นการต่อยอดกิมมิกจาก 11.11 ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทยอย่างมาก ทั้งบนแพลตฟอร์ม Lazada ผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจีนซื้อกิจการไปแล้ว และ Shopee แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซภายใต้บริษัท SEA Group จากสิงคโปร์ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นเบอร์ 1 ในไทย ตามมาด้วย Lazada
แบรนด์ Shopee จัดเทศกาล Shopee 9.9 Super Shopping Day ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยในปีที่ผ่านมา เพียง 2 ชั่วโมงแรกของวัน มียอดซื้อสินค้าสูงสุดใน 1 นาที อยู่ที่ 1.8 แสนบาท และยอดจำหน่ายสูงสุดอยู่ที่ 1.8 ล้านชิ้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้ากว่า 45 ล้านชิ้นออกไปภายใน 99 นาทีแรกของวันที่ 9 เดือน 9 และสำหรับข้อมูลอัปเดตในปีนี้ 3 หมวดสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด ณ เดือนมกราคม - สิงหาคม ได้แก่
สุดท้ายนี้ ชวนดู Top 3 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไทย (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2022) ได้แก่
นอกจากนี้ Statista เผยตัวเลขคาดการณ์ของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยว่าจะโตต่อเนื่อง
ขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซโต แต่บริษัทสตาร์ทอัพหลายรายลดการจ้างงานลง ธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็ขยับตัวเช่นกัน เช่น Shopee ที่สำนักข่าวต่างประเทศเปิดเผยว่า ประกาศปิดสำนักงานใน 4 ประเทศ ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และอาร์เจนตินา โดยจะเน้นไปที่การค้าขายข้ามพรมแดนแทน
..................................................................................................
ที่มา
..................................................................................................