แค่มีไอเดียและแพชชั่นที่อยากทำ AP Thailand ผุดแนวคิดสำหรับพนักงานในองค์กร เพื่อช่วยกันผลักดันธุรกิจให้เติบโตได้ ด้วยโครงการปั้นสตาร์ทอัพเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ แต่ยังได้เงินเดือนและสวัสดิการแบบพนักงานประจำ
คุณมิ่ง - วิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงาน Corporate Strategy and Creation บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเล่าถึงวิธีการบ่มเพาะพนักงานให้มีไอเดียในการสร้างโปรดักส์ใหม่สู่ตลาด ในเซสชั่น From Zero to Hero ในงาน CREATIVE TALK Conference 2023 ว่า
เอพี เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ถึงหลักหมื่นล้านบาทก็จริง แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของไอเดียนอกกรอบ แม้ซีอีโอใหญ่ของเราก็เรียกว่าเริ่มต้นธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ แต่เมื่อเป็นธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวกับกับเทคโนโลยี ChatGPT AI สิ่งเหล่านี้ เราอาจไม่ได้เก่งมาแต่ต้น
คนที่จะมา Pitch งานกับเอพี ต้องเป็นคนที่รู้จักธุรกิจของเอพีได้ดี เนื่องจากเรามีข้อมูลของลูกค้าเยอะมาก เราก็ต้องการสตาร์ทอัพมาช่วยในการแก้ไขปัญหาของลูกบ้านในแง่มุมต่างๆ ขณะเดียวกันเราก็ช่วยเหลือสตาร์อัพในมุมของการเป็นพี่เลี้ยง ตั้งแต่ขั้นของการเซ็ตอัปไอเดีย ให้คำปรึกษา ให้เครื่องมือต่างๆ แถมให้เงินเดือนด้วย
ดังนั้น เอพี จึงได้สร้างระบบภายในองค์กรที่เรียกว่า ‘Zero to Hero’ ขึ้นมา เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ใน 4 ขั้นตอน
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
เป้าหมายในการสร้างนวัตกรรม
คำว่านวัตกรรมเป็นคำพูดที่ค่อนข้างทั่วไป ในเป้าหมายของเอพีซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความ conventional มองเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ซึ่งลูกค้าจะมองเรื่อง "นวัตกรรม" ประกอบกับ "รูปแบบธุรกิจ" ด้วย
ทั้งนี้ จุดแข็งของเอพีคือ หล่อหลอมหาความคิดสร้างสรรค์ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นตัวที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาได้
ความท้าทายของ เอพี คือแง่ของการทำ Internal Starup ภายในองค์กรใหญ่ที่มีหลายพันคน เรียกว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่เราก็ต้องมองหาคนที่เหมาะสมเช่นกัน ผ่านกระบวนการดังนี้
ขั้นตอนของการ SET UP
IDEATION
VALIDATION
SCALE
การปลดปล่อยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ออกมา กรอบที่ยากที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพในองค์กร คือ สวัสดิการ เพราะเอพีจะให้ทั้งเงินเดือน สวัสดิการต่างๆ แถมด้วยเงินก้อน แม้คุณจะไม่ต้องกังวลเรื่องยิบย่อยพวกนี้ แต่คุณก็ต้อง "อิน" และเต็มที่กับการสร้างสรรค์โปรดักส์ให้เกิดขึ้นและมีผู้ใช้งานด้วย